โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

KBANK คาดเงินบาทสัปดาห์หน้าแกว่ง 34.20-35 บาท/ดอลลาร์ จับตาการเมือง

The Bangkok Insight

อัพเดต 06 ส.ค. 2566 เวลา 02.22 น. • เผยแพร่ 06 ส.ค. 2566 เวลา 02.22 น. • The Bangkok Insight
KBANK คาดเงินบาทสัปดาห์หน้าแกว่ง 34.20-35 บาท/ดอลลาร์ จับตาการเมือง

KBANK คาดเงินบาทสัปดาห์หน้าแกว่งกรอบ 34.20-35 บาท/ดอลลาร์ จับตาสถานการณ์ทางการเมือง เงินเฟ้อไทย-สหรัฐ

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า (7-11 ส.ค.) ที่ 34.20-35.00 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดในวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 ที่ 34.79 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทสัปดาห์หน้า
เงินบาทสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (31 ก.ค.-4 ส.ค.) เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 34.80 บาท/ดอลลาร์ในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวเป็นกรอบในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนบางส่วนจากความไม่แน่นอนของโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยรอบถัดไปของเฟด ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 2.25% ในช่วงกลางสัปดาห์ พร้อมกับระบุเพิ่มเติมว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามทิศทางค่าเงินหยวน และสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวขึ้นตามทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐ

เงินบาทสัปดาห์หน้า
เงินบาทสัปดาห์หน้า

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 7,790 ล้านบาท และมีสถานะ Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 23,910 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 16,687 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 7,223 ล้านบาท)

ในสัปดาห์หน้าปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม สถานการณ์การเมืองไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกรกฎาคม ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ในมุมมองของผู้บริโภคเดือนสิงหาคม และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม ของจีน อาทิ ข้อมูลการส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิตด้วยเช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น