โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘ไทย-ไอซ์คิวบ์’ ส่ง 2 นักวิจัย ร่วมทำงานสำรวจ ‘ขั้วโลกใต้’

The Bangkok Insight

อัพเดต 25 พ.ย. 2566 เวลา 08.41 น. • เผยแพร่ 25 พ.ย. 2566 เวลา 08.40 น. • The Bangkok Insight
‘ไทย-ไอซ์คิวบ์’ ส่ง 2 นักวิจัย ร่วมทำงานสำรวจ ‘ขั้วโลกใต้’

โครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริฯ ส่ง 2 นักวิจัยไทย ร่วมทำงานสำรวจ "ขั้วโลกใต้" ส่วนหนึ่งของการพัฒนา และเตรียมความพร้อมกำลังคนของไทย ในการก้าวเข้าสู่วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแนวหน้า ยกระดับประเทศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจในอนาคต

โครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย กับสหรัฐ ในการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดอนุภาคนิวทริโน จากวัตถุนอกระบบสุริยะ เตรียมส่งนักวิจัยไทยร่วมเดินทาง 2 คนไปทำงานที่ทวีปแอนตาร์กติกในปีนี้ คือเรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิก และอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล

เรือโท ดร.ชนะ ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 23 นักวิจัยร่วมปฏิบัติงานกับกลุ่มวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ระดับโลกกว่า 350 คน จาก 14 ประเทศ 58 สถาบัน ภารกิจสำคัญคือการขุดเจาะน้ำแข็ง ณ สถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวบ์ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติก สูงประมาณ 2,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือสูงกว่ายอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ราว 300 เมตร โดยจะเป็นนักวิจัยคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เดินทางไปถึงบริเวณขั้วโลกใต้ ณ ละติจูด 90 องศาใต้ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติก

ส่วน นางสาวอัจฉราภรณ์ จะร่วมเดินทางกับคณะวิจัยของสถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี ในโครงการสำรวจตัดข้ามละติจูด ร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี นำเครื่องตรวจวัดอนุภาคนิวตรอนแบบเคลื่อนที่ มีชื่อเรียกว่า "ช้างแวน" (ChangVan) บรรทุกไปกับเรือตัดน้ำแข็ง "เอราออน" (RV Araon)

เดินทางเก็บข้อมูลวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของรังสีคอสมิกในระดับละติจูดต่าง ๆ ตามเส้นทางจากประเทศนิวซีแลนด์ เขตวิจัยทางทะเลอามันด์เซน (Amundsen Sea Research Area) สถานีวิจัยจางโบโก (Jang Bogo Station) และสิ้นสุดการเดินทาง ณ เมืองกวางยาง เกาหลีใต้

ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2564 ประกอบด้วยโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน และโครงการวิจัย โครงการนี้ดำเนินการสนองพระราชดำริโดย คณะกรรมการความร่วมมือการวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ประเทศไทย (Thai-IceCube) ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์เป็นประธาน และผช.ศ.ดร. วราภรณ์ นันทิยกุล ภาควิชาฟิสิกส์ และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเลขานุการ

การทำงานเป็นลักษณะบูรณาการหน่วยงานในประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

หน่วยงานในต่างประเทศ ได้แก่ สถานีตรวจวัดนิวทริโนนิวทริโนไอซ์คิวบ์ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเป็นผู้บริหาร ส่วนโครงการสำรวจตัดข้ามละติจูดของประเทศไทย เป็นการตรวจวัดรังสีคอสมิกจากท้องฟ้า ดำเนินการตั้งแต่ปี 2561

ต่อมาในปี 2566 ได้ร่วมมือกับกลุ่มวิจัยของเกาหลีใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยชอนนัม (Chonnam National University) สถาบันดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศเกาหลี (KASI : Korea Astronomy and Space Science Institute) และ สถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี (KOPRI : Korea Polar Research Institute) เพื่ออาศัยการเดินทางของเรือตัดน้ำแข็งของเกาหลีบรรทุกอุปกรณ์ตรวจวัดชื่อ “ช้างแวน” ในการตรวจวัดรังสีคอสมิกที่ละติจูดต่างๆ ขณะเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก

โครงการทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น เป็นการพัฒนา และเตรียมความพร้อมกำลังคนของประเทศ ในการก้าวเข้าสู่วิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยีแนวหน้า (frontier science and technology) ยกระดับประเทศไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0