โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถอดแนวคิดสุดเจ๋ง! ของ Stefan Sagmeister ที่ให้พนักงานพักจากงานได้ 1 ปี!

LINE TODAY

เผยแพร่ 08 พ.ค. 2562 เวลา 09.43 น. • Ruby The Journey

ถอดแนวคิดสุดเจ๋ง! ของ Stefan Sagmeister ที่ให้พนักงานพักจากงานได้ 1 ปี!

ก่อนจะเข้าเรื่อง เราขอเช็คอาการของทุกคนในตอนนี้ก่อน…

จุดเริ่มต้นคือ มนุษย์เงินเดือนส่วนมากคงรู้จักหรือเคยประสบพบเจอ

กับอาการ Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน

มันคือผลของการรวบตึงของสิ่งที่ต้องทำ (task) ในแต่ละวันทำงาน

และอาจลุกลามจนกลายเป็นโรคซึมเศร้า

.

มาลองสังเกตกันง่ายๆ เริ่มจาก

อาการอิดออด กับการตื่นเช้าเพื่อไปทำงาน

หรือเริ่มพูดกับเพื่อนร่วมงานน้อยลง

หนำซ้ำยังมีความตื้อตัน กับงานที่ทำ

และร้ายที่สุดเริ่มหาแรงจูงใจจากสิ่งอื่นแทน

(เดินไปซื้อชาไข่มุก ลุกไปนั่งเล่นมือถือในห้องน้ำ

ลามไปนอนงีบหลับใต้ตึก ฝึกพับการดาษเป็นรูปปลาตะเพียน

พอแล้วเดี๋ยวจะเพี้ยนกันไปใหญ่!555555)

.

ที่กล่าวมา ก็ยังไม่เคยทำอะไรบ้าบอถึงขนาดนั้น

แต่เราเองก็เป็นมนุษย์เงินเดือนคนนึง

ที่เคยประสบภาวะหมดไฟในการทำงานมาเหมือนกัน

แต่เราจะไม่ยอมพ่ายแพ้! และนอนนิ่งๆเฉยๆ

กระดิกเท้าไปมา ยอมรับโชคชะตาว่า

‘โอเค… มันจบแล้ว / งานแม่งน่าเบื่อมากๆ จนอยากนั่งหายใจทิ้งไปวันๆ

นั่งซังกะตาย ทำไปจนแก่แบบไร้วิญญาณ’

.

ไม่ได้การละ! ต้องหาอะไรมา ‘เติมไฟ’ ให้ตัวเองกันดีกว่า!

เข้าเรื่องเลยแล้วกัน.. (กว่ามันจะเข้า)

‘การทำงานหนักมันคุ้มกับเวลาที่เสียไปมั้ย?’

ประโยคคำถามที่เป็น ‘จุดพลิก’ และนำมาซึ่งการปิดสตูดิโอเป็นเวลา 1 ปี

เพื่อให้พนักงานและตัวเขาเองได้ออกไป

‘หยุดพัก’ เพื่อกลับมา ‘สร้างสิ่งใหม่’ ที่ดีกว่าเดิม

ของ Stefan Sagmeister ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสตูดิโอกราฟิกดีไซน์ในนิวยอร์ค

ได้พูดไว้ใน TED Talk : The Power of Time Off

‘ผมก็เหมือนทุกคนที่ทำงานเพื่อหาเงิน
และรอคอยวันหยุดอย่างใจจดใจจ่อ
จนกระทั่งผมเกิดคำถามขึ้นในใจว่า…
‘การทำงานหนักมันคุ้มกับเวลาที่เสียไปมั้ย?’ 

 

'สวัสดี. คุณได้รับจดหมายจาก บริษัท Sagmeister 
พวกเราได้ทดลองให้พักงาน 1 ปีเต็ม 
และกลับมาใหม่ในวันที่ 1 กันยายนปี 2009 

กรุณาติดต่อพวกเราใหม่หลังจากนั้น. 

พวกเราปิดทำการ'

.

สารจากบริษัทที่จะแจ้งให้ลูกค้าและบุคคลอื่นๆทราบว่า

สตูดิโอเราจะปิดตัวแบบจัดเต็มเป็นเวลา 1 ปี

เพื่อทำการทดลองบางสิ่งบางอย่างที่

ไม่อาจจะสำเร็จได้ในช่วงเวลาที่ทำงานปกติ

แม้ว่า Stefan ได้ก่อตั้งบริษัทจาก 2 สิ่งที่เค้ารัก

อย่างดนตรีและการออกแบบ

แต่ก็ต้องยอมแพ้พ่ายให้ ‘ความเบื่อหน่าย’ ไปเรียบร้อย!

ซึ่งมันเป็นสัญญาณที่ไม่ดีแน่ สำหรับงานที่ใช้ความครีเอทีฟ

หรือการคิดไอเดียใหม่ๆออกมาอยู่เสมอ

สิ่งที่เค้าค้นคว้ามาคือ…

  • 25 ปีแรกเรามักจะ ทุ่มให้กับการเรียนรู้
  • อีก 40 ปีต่อมา คือช่วงเวลาของการทำงาน
  • และมีบั้นปลายของชีวิต 15 ปีให้หลัง

แต่สิ่งที่ Stefan พลิกแพลงคือ

‘ตัดช่วงเวลาบั้นปลายของชีวิตให้เป็นส่วนย่อยๆ
และนำมาจับใส่ ช่วงปีระหว่างเวลาการทำงาน’ 

แนวคิดนี้ส่งผลให้งานที่ได้กลับมาได้ผลอย่างคาดไม่ถึง! 

ผลงานต่างๆพรั่งพรูออกมาแถมยังสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

ไม่ใช่กับแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

.

เคสตัวอย่างของการ ‘หยุดพัก’ เพื่อ ‘บ่มเพาะไอเดียใหม่’

ที่ Stefan ยกขึ้นมา..

El Bulli เจ้าของร้านอาหารทางเหนือของบาเซโลนา

ร้านของเค้าเปิดแค่ 7 เดือนต่อปี

และ ‘ปิดทำการ’ เป็นเวลา 5 เดือน

เพื่อให้พนักงานและเชฟได้พักอย่างเต็มที่

ผลปรากฏว่า ลูกค้าที่เค้าสามารถให้บริการคือ 8,000 คนต่อปี

แต่การจองเข้ามามากถึง 2.2 ล้านคน!

และอีกหลายเคสที่น่าสนใจที่บริษัทที่โด่งดังในหลายๆที่

ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่หรือไอเดียเจ๋งๆที่นำกลับมาทำเงินได้อย่างมหาศาล

แค่ในระหว่างช่วงเวลา ‘Sabbatical Leave’ หรือ 'ช่วงปีที่เว้นว่างจากการทำงาน'

 
 

‘I found that finding out about 

what I’m going to like in the future, 

my very best way is to talk to people 

who have actually done it much better than myself envisioning it.’

สิ่งที่ผมค้นพบคือ การค้นหาสิ่งที่เราจะชอบในอนาคต 

วิธีที่ดีที่สุด คือ พูดคุยกับผู้คนที่เคยทำมาแล้ว 

ซึ่งมันดีกว่าการคิดวาดภาพไปเองมากๆ 

.

In the beginning, on the first sabbatical, 

It was rather disastrous.

ในปีแรกที่เค้าหยุดพัก มันค่อนข้างหายนะ! 

เพราะยังรับมือไม่ได้ เนื่องจากเค้าไม่ได้วางแผนใดๆ

และเหมือนเวลาที่เหลือมันช่างสูญเปล่า

แต่แล้วเมื่อเริ่มจับจุดได้ เค้าเริ่มปรับความคิดใหม่

โปรเจคใหญ่โตที่ต้องรับผิดชอบ และทำให้สำเร็จลุล่วงในทุกวัน

กลายเป็นสิ่งที่เล็กน้อยอื่นๆต้องทำในชีวิตประจำวันแทน

‘I became my own intern’

เขาหลุดออกจากสภาพการรับภาระอันหนักอึ้ง

กลายมาเป็น ‘เด็กฝึกงานของตัวเอง’

.

สิ่งที่เราได้ทำการค้นคว้าเพิ่มจากสิ่งที่ Stefan

พูดถึง Sabbatical Leave (ปีที่เว้นว่างจากการทำงาน) 

มาจากคัมภีร์ไบเบิล ที่กล่าวถึง

ปีที่ถือศีลตลอดปี ในทุกๆ 7 ปีของชาวยิว โดยไม่มีการใช้แรงงานใดๆ 

แต่เมื่อปรับเข้ากับยุคสมัยนี้ มันคือ ‘ปีที่เว้นว่างจากการทำงาน’ 

เพื่อหยุดพักผ่อน หรือเลือกไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบให้สำเร็จ

‘แรงขับเคลื่อนที่เปลี่ยนไปทำให้ ไอเดียใหม่เริ่มเข้ามา’

เขาเบนเข็มการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมที่นิวยอร์ค

เลือกไปปักหลักในแถบเอเชีย

เรียนรู้ที่จะจัดตารางง่ายๆรายวันแบบเด็กประถม

สิ่งที่เค้าได้คือ…

มีลูกค้าต้องการงานจากเค้า

ในขณะเดียวกันสนุกกับสิ่งที่ทำมากขึ้น

และคุณภาพก็มาพร้อมกับราคาของชิ้นงานที่เรียกได้สูงขึ้นและอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลงานต่างๆที่ออกมาอย่างน่าประทับใจ

ล้วนเป็นผลพวงหลังจากการ Sabbatical Leave (ปีที่เว้นว่างจากการทำงาน) ทั้งสิ้น 

หนึ่งในไอเดียการสร้างโลโก้ของเขา : Casa da Musica ในประเทศโปรตุเกส

โดยการนำโครงสร้างของตึกมาทำเป็นโลโก้ของตัวมันซะเอง!

แตกหน่อออกมาเป็นการสร้างโปสเตอร์ให้แต่ละการแสดงที่จัดขึ้น,

สื่อโฆษณานอกบ้าน (Out Of Home Advertising) อย่างรถที่พวกศิลปินใช้ทัวร์

ที่นำโลโก้ไปใส่อย่างชาญฉลาด และอื่นๆอีกมาก

สุดท้ายแล้ว ที่ยกมาพูดในวันนี้ทั้งหมด

ไอเดียที่ดีและฆ่าไม่ตายเกิดจากการไม่บังคับ(force)

และตั้งความหวังที่มากเกินไป,เครียด สุดท้ายแล้วก็หมดหวังและมอดลง

อยากให้เรื่องที่นำมาเล่าให้ฟังในวันนี้

มันเป็นหนึ่งใน ‘ฟืน’ ที่จะ ‘เติมไฟ’ ที่แผ่วลง

หรือกำลังจะมอดไหม้ให้ทุกคน แทน ♡

.

ขอบคุณที่มาและแหล่งความรู้ทั้งหมดด้วยค่ะ

ที่มาของ VDO เติมไฟในครั้งนี้ : Stefan Sagmeister : The power of time off

ที่มาข้อมูล ภาวะหมดไฟในการทำงาน : http://www.thaiticketmajor.com/variety/lifestyle/6933/ 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0