โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดประวัติขนมไทยประจำวันสงกรานต์ ข้าวเหนียวแก้ว กาละแม

MThai.com - Food

เผยแพร่ 12 เม.ย. 2561 เวลา 09.11 น.
เปิดประวัติขนมไทยประจำวันสงกรานต์ ข้าวเหนียวแก้ว กาละแม
มาคู่กับวันสงกรานต์คือขนมประจำวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และ กาละแม เป็นขนมที่นิยมทำในวันปีใหม่ไทย

สงกรานต์กลับมาอีกครั้ง เป็นเทศกาลของคนไทยเพราะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วย เอกลักษณ์ของวันสงกรานต์ ก็มีหลายๆ กิจกรรมให้ทำที่นอกจากเล่นน้ำเพื่อคลายร้อน ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัว และที่เห็นกันอยู่ทุกปี จะมาคู่กับวันสงกรานต์คือขนมประจำวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และ กาละแม เป็นขนมที่นิยมทำในวันปีใหม่ไทย

เปิดประวัติขนมไทยประจำวันสงกรานต์ ข้าวเหนียวแดง กาละแม

การทำขนมกวน อย่าง ข้าวเหนียวแก้ว และข้าวเหนียวแดง เป็นขนมที่บ่งบอกถึงฐานะของคนทำด้วย เวลาทำ จะทำไว้เป็นจำนวนมากเพื่อนำไปทำบุญ และส่วนที่เหลือก็นำมาแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน การทำขนมชนิดนี้ ไม่ใช่แค่การทำขนมธรรมดา แต่มันคือกิจกรรมหลักของครอบครัวเลยทีเดียว

กาละแม ข้าวเหนียวแก้ว และ ข้าวเหนียวแดง เป็นขนมที่นิยมทำในช่วงวันสงกรานต์ หรือ วันปีใหม่ เพราะการที่จำทำขนมเหล่านนี้ต้องใช้แรงคนมากๆ จึงนิยมทำในวันสงกรานต์ เพราะเป็นวันที่ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา มาช่วยกันทำขนมได้ แถมมีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

กาละแมรามัญ เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งของชาวมอญ เหตุที่ชื่อว่ากาละแมรามัญหลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องรามัญ เพราะรามัญ แปลว่า มอญ นั่นเอง กาละแมรามัญไม่พบปีพ.ศ.ที่ทำขึ้น เพราะเป็นขนมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แต่เดิมนั้นกาละแมรามัญจะกวนขึ้นในงานแต่งของคู่บ่าวสาวชาวมอญ เป็นเหมือนสินสอดทองหมั้น

ต่อมานั้นการกวนกาละแมรามัญก็เริ่มมากวนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะจะมีการทำบุญอุทิศแก่บรรพชนในช่วงสงกรานต์ก็จะมีการกวนกาละแมขึ้นเพื่อเป็นขนมถวายพระสงฆ์และแจกญาติสนิทมิตรสหาย จะกวนในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์คือประมาณวันที่ 1-9 เมษายน ของทุกปี ญาติพี่น้องก็จะมารวมตัวช่วยกันกวนกาละแม การกวนกาละแมรามัญนั้นต้องใช้คนจำนวนมาก ประมาณ 9-10 คน และกวนกระทะนึงต้องใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง จึงต้องมีการร่วมใจสามัคคี ลงแขกช่วยกันกวนแต่ละบ้านๆ หมุนเวียนช่วยกันไป

ต่อมาประเพณีการกวนกาละแมในช่วงสงกรานต์เริ่มหายไป ท่านหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดศรัทธาธรรม (วัดมอญ) จึงได้คิดริเริ่มตั้งกลุ่มแม่บ้านรามัญพัฒนาเพื่อคงอนุรักษ์ขนมกาละแมรามัญและเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนวัดมอญ ขนมกาละแมรามัญจึงได้สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นขนมที่ขึ้นชื่อในจังหวัดสมทรสงครามและเป็นของขวัญของฝากของวัดศรัทธาธรรมอีกด้วย

ข้อมูลจาก thaikalamare.wordpress

https://seeme.me/ch/kinkaokan/9aoBjq

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0