โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เสน่ห์กล้องฟิล์ม,การเก็บความทรงจำในรูปแบบอนาล็อก

LINE TODAY

เผยแพร่ 10 มิ.ย. 2562 เวลา 10.12 น. • Ruby The Journey

'บางอย่าง พอไม่มีรูปแล้ว ก็เหมือนว่ามันไม่เคยมีอยู่จริงเลย' – 36

เมื่อไม่นานนี้ ได้มีโอกาสกลับมาดูภาพยนตร์ของ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ อีกครั้ง เรื่อง 36 มีคอนเซ็ปการเล่าเรื่องผ่านรูปฟิล์ม 36 ภาพ ซึ่งพูดถึง 2 คนที่แตกต่างกัน ทราย ชอบเก็บความทรงจำไว้ในกล้องดิจิตอล เธอมักจะรัวชัตเตอร์ได้โดยไม่ต้องคิด ผิดกับ อุ้ม เขาชอบถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์ม ที่สามารถดำเนินเรื่องราวได้เพียง 36 รูปใน 1 ม้วน และเมื่อวันนึง ฮาร์ดดิสก์ที่เก็บรูปของทราย พัง น่าเสียดายที่ความทรงจำก็เหมือนจะเลือนลางไปพร้อมกับรูปภาพที่หายไปเหล่านั้นด้วย

ชีวิตที่ว่าสั้น ความทรงจำนั้นสั้นกว่า…

ทุกวันนี้เราปล่อยให้ตัวเราเคยชินกับการมีอุปกรณ์ช่วยเตือนความจำหรือพื้นที่บนโลกดิจิทัลเพื่อโพสต์สิ่งที่อยากระบาย ,พิมพ์สเตตัสเก็บไว้เพื่อเตือนความทรงจำ ‘วันนี้ของปีที่แล้ว’ หรือลงรูปเก็บไว้ในอัลบั้มรูปออนไลน์อย่างอินสตาแกรม ต่างจากยุคก่อนที่เรารอคอยเวลาที่จะเล่าเรื่องนี้กับคนๆนั้น จดบันทึกประจำวันก่อนนอนทุกคืนเพื่อทบทวนตัวเองในวันนี้ เพื่อมีไว้อ่านเพื่อเตือนสติตัวเองในอนาคต หรือแม้แต่ภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มที่ต้องคิดให้ดีถี่ถ้วนก่อน ว่าเราอยากจะเก็บความประทับใจตอนไหน สถานที่ใดที่เราประทับใจ คนไหนที่อยากให้รูปของเค้าอยู่ร่วมการเดินทาง1 ม้วนฟิล์มผ่าน 36 รูปที่บางทีอาจจะลืมไปแล้วว่า รูปแรกที่ถ่ายคือรูปไหน ทำให้ความรู้สึกเวลาจะไปล้างฟิล์ม มันคือความตื่นเต้น อยากเห็นภาพ ให้ความสำคัญกับแต่ละภาพและช่วงเวลานั้นๆ จึงทำให้แต่ละภาพมี ‘ความพิเศษ’

ทำความรู้จักกล้องฟิล์ม  

1. Small Format กล้องที่เห็นกันทั่วไป ใช้ฟิล์มแบบ 35mm

2. Mediem Format กล้องที่ใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยคือ Format 120 (6*9)

3. Large Format กล้องที่มีขนาดใหญ่ ไม่มีให้เห็นทั่วไปแล้ว

การใช้ฟิล์มที่ขนาดใหญ่ ย่อมให้ภาพที่ดีกว่า เพราะฟิล์มเปรียบเสมือนพื้นที่รับภาพ

*ใหญ่ = เก็บรายละเอียดภาพได้มาก *

ขอบคุณภาพจาก artyt.me

เสน่ห์ของภาพจากกล้องฟิล์มที่แตกต่างจากดิจิทัล

แม้ว่าเดี๋ยวนี้โปรแกรมแต่งภาพที่เลียนแบบภาพฟิล์ม จะมีให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่สิ่งที่ทดแทนกล้องฟิล์มไม่ได้คือ ความรู้สึกพิเศษต่อภาพๆนั้น กว่าจะได้ 1 ภาพ ที่ตั้งใจทั้งปรับ ทั้งวัดแสง ไหนจะค่า ISO ของฟิล์มแต่ละม้วนที่เหมาะกับสภาพแสงคนละแบบ บางคนอาจมองว่ายุ่งยาก แต่ความจริงแล้ว มันก็ไม่ต้องถึงกับขนาดวัดอะไรจริงจังขนาดนั้น ใช้ความรู้สึกมากกว่า ความทรงจำจากช่วงเวลานั้น ทำให้เราแอบอมยิ้มออกมาเลยในบางที ที่หยิบรูปออกมาจากกล่องรวมความทรงจำที่เก็บรวบรวมเอารูปที่ถ่ายจากฟิล์มบ้าง โพลาลอยด์บ้าง ใส่ไว้ในนั้น :)

กล้องฟิล์มสอนให้รู้เรื่องคุณค่าของวันเวลา

*‘รัวชัตเตอร์ไปเลยเว่ย แล้วเอามาดูว่ารูปไหนสวย ค่อยเลือกทีหลังก็ได้’ *

มีคนเคยพูดกับเราแบบนี้ตอนถ่ายงานสมัยมหาวิทยาลัย มันก็ใช่… ถ้าตรงนั้นคืองานที่จำกัดด้วยเวลา เมมโมรี่การ์ดมีความจำเท่าไหร่ใส่มาไม่ยั้ง! แต่พอถึงงานไหนที่ไม่รีบร้อนมากนัก เรามักจะใช้เวลากับการรอ… รอให้จังหวะการถ่ายภาพมันได้ ใช้หลักการถ่ายภาพแนวสตรีทที่อาศัย ‘ความบังเอิญ’ ทำให้เกิดรูปที่เจ๋งๆ มุมแปลกๆ ความรู้สึกมันต่างกันเยอะ การใจจดใจจ่อรอภาพที่ออกมาก็เช่นกัน ทำให้บางครั้งใช้เวลากับที่ๆนึงเป็นเวลานาน จนบางทีก็มีที่แค่หยุดมอง-ซึมซับบรรยากาศนั้นๆ แทนการเก็บภาพ  อย่างฉากหนึ่งในหนัง The Secret Life of Walter Mitty ฌอน-นักถ่ายภาพอาชีพ เขาเลือกที่จะไม่กดชัตเตอร์ในบางที เพราะกล้องถ่ายรูปจะมาขัดขวางความสวยงามของสิ่งสวยงามตรงหน้า 

เลือกซื้อกล้องฟิล์มที่ใช่สำหรับเรา

การจะเริ่มต้นซื้อกล้องฟิล์ม นอกจากจะต้องรู้การใช้งานของกล้องแต่ละรุ่นและหลักการถ่ายภาพเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ กล้องที่เหมาะกับตัวเรา กล้องทุกตัวมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แล้วแต่การใช้งานก็จริง แต่การที่จะเลือกกล้องคู่ใจซักตัวนึง เราก็อยากจะได้ที่มันใช่กับเราที่สุด เราจะได้ ไปไหนไปกัน พร้อมกดชัตเตอร์เก็บความทรงจำดีๆ ไว้ในนั้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0