โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ห้ามโพสต์เหล้า-เบียร์? ส่อง"พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์"ที่ทำให้ชาวเน็ตแสนเพลีย - จุดประเด็น

LINE TODAY

เผยแพร่ 10 มิ.ย. 2563 เวลา 17.45 น. • AJ.
ภาพโดย kazuend / unsplash.com
ภาพโดย kazuend / unsplash.com

ร้อนกว่าอากาศก็ข่าวบ้านเมืองประเทศเรานี่แหละ!

และท่ามกลางประเด็นเดือดทั้งหลาย หนึ่งในหัวข้อเกี่ยวกับปากท้องผู้บริโภคและร้านค้าต่าง ๆ คงหนีไม่พ้นเรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ฉบับใหม่มาตรา 32 ที่หลายคนยังคาใจว่าสรุปแบบไหนผิด? แล้วค่าปรับกรณีโพสต์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาสูงถึง 500,000 บาทนั้น หรือจำคุก 1 ปีนั้น กระทบสิทธิของประชาชนอย่างเราด้วยรึเปล่า?

มาดูกันหน่อยว่ากฎหมายเจ้าปัญหาดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง 

มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม

การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปราฏภาพของสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร

อ่านข้างบนแล้วงง มามุงตรงนี้

ข้อกฎหมายดังกล่าวสรุปง่าย ๆ ดังนี้ (อ้างอิงจากเพจผู้บริโภค)

  • ห้ามโพสต์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงขวด
  • ห้ามโพสต์สรรพคุณ ห้ามชม ห้ามชวนลอง
  • ห้ามโพสต์แก้วเบียร์มียี่ห้อ
  • ห้ามเขียนรีวิวแอลกอฮอล์ หรือเขียนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
  • โพสต์เก่าแค่ไหนก็มีความผิดได้

ซึ่งวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊กผู้บริโภค ได้ออกมาเล่าประสบการณ์เชิงตักเตือนแฟนเพจ ว่าตนเพิ่งได้รับผลกระทบจากมาตรา 32 นี้ด้วย โดยโดนปรับไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ด้วยข้อหาข้างต้น งานนี้เรียกคอมเมนต์จากชาวเน็ตได้ 2 กระแส แต่เสียงข้างมากเห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวออกจะ "เกินไป" สำหรับข้อหา หลายคนถกเถียงกันถึงเคสอื่น ๆ เช่น ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศก็โดนเหรอ? ถ้าลงไว้นานแล้วจะเป็นคดีได้เหรอ?

ถือว่าเป็นการเล่าให้ฟังละกันนะ 😊 . ไหนๆก็มีกระแสเรื่องการจับการโพสต์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กัน พี่งัวก็ขอพูดซะหน่อย…

โพสต์โดย ผู้บริโภค เมื่อ วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2020

ในกรณีนี้ นพ.นิพนธ์ ชนานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวกับMATICHON ONLINE ว่าส่วนใหญ่การรับแจ้งมาจากประชาชน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาส่วนมากเป็นเพจเฟซบุ๊ก อินฟลูเอนเซอร์ หรือเน็ตไอดอล โดยขั้นตอนการดำเนินคดีเมื่อได้รับแจ้งคือ เรียกเจ้าตัวเข้ามาสอบสวน หากผู้ถูกกล่าวหายืนยันได้ว่าไม่มีเจตนาโฆษณาเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็ไม่มีความผิด แต่หากมีความผิด ก็จะถูกตำรวจเรียกปรับ

ทั้งนี้หากผู้ถูกกล่าวหาคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนเข้ามาที่กรมควบคุมโรคได้

อย่างไรก็ตามหากประชาชนโพสต์รูปหรือข้อความลงกลุ่มเพื่อน ซึ่งมีสมาชิกไม่กี่คน และไม่มีเจตนาในการโฆษณาก็ไม่มีความผิด ส่วนโฆษณาที่มีความผิดส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญชวนไปซื้อตาม เช่น การรีวิว ที่โดนเต็ม ๆ แน่นอน

ภาพโดย Luke Southern / unsplash.com
ภาพโดย Luke Southern / unsplash.com

แล้วประเทศอื่นเขาใช้วิธีไหนกันบ้าง?

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศมีกฎหมายควบคุมแตกต่างกันไป ทั้งในการดื่มกิน และการโฆษณา บางประเทศแบนการโฆษณาแอลกอฮอล์ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะในทีวี วิทยุ จนถึงโซเชียลมีเดีย ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรมและศาสนา

สำหรับประเทศที่การพูดถึงแอลกอฮอล์ทุกช่องทาง ได้แก่ :

นอร์เวย์ ลิทัวเนีย รัสเซีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ อียิปต์ แกมเบีย คูเวต ลิเบีย ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน

นอกเหนือจากนี้ยังมีเรื่องข้อกำหนดของอายุขั้นต่ำในการดื่ม ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ใช้กฎนี้ โดยจะกำหนดอายุกลุ่มคนที่จะทำการตลาดด้วย อย่างประเทศไทยก็ใช้เกณฑ์อายุเกิน 20 ปี เป็นต้น

คำถามสำคัญที่ชาวเน็ตกำลังสงสัย คือกฎหมายดังกล่าวมีความ "เป็นกลาง" ต่อประชาชนอย่างพวกเรามากน้อยเพียงใด กฎเกณฑ์หรือดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าโพสต์ของเราเข้าข่ายไหม กรุ๊ปเพื่อนของเรามีขนาดใหญ่หรือเล็กนั้นมีมาตรฐานในการวัดอย่างไร ประเด็นเหล่านี้ดูเหมือนจะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ที่รู้ ๆ คือ ห้ามโพสต์รูปเบียร์ ไม่งั้นโดนปรับ!

แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไรกับมาตรา 32?

--

อ้างอิง

- เพจผู้บริโภค

- thaiger.com

- wearehydrogen.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0