โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ส่ง “รัก” ผ่านความ “ตาย” ความปรารถนาดีครั้งสุดท้ายที่ส่งต่อให้อีกหลาย “ชีวิต”

LINE TODAY

เผยแพร่ 30 ต.ค. 2562 เวลา 18.11 น. • nuchthawat_p

-1-

เป็นเวลาเกือบ 4 ปีแล้วที่เพื่อนของผู้เขียนจากไปด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ปกติมักจะเป็นผู้ชาย สูงอายุ สูบบุหรี่จัด ซึ่งเธอห่างไกลจากเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนั้นหลายปีแสง เพราะหนึ่ง-เธอเป็นผู้หญิง สอง-เธออายุเพียง 30 ต้น ๆ และสาม-เธอเกลียดบุหรี่ที่สุดในโลก!

จากงานวิจัย ถือว่าเธอเป็นผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่อายุน้อยมาก

ครั้งแรกที่ “กันย์” ทราบจากปากของหมอว่าเธอเป็น “มะเร็งระยะที่ 4” เธอร้องไห้ไม่หยุด หมดทิสชูไปกองโต ระหว่างขับรถกลับจากโรงพยาบาลคนเดียว พอเลี้ยวรถขึ้นสะพานพระราม 8 ต่อมน้ำตาของเธอก็แตกอีกครั้ง เธอขับโดยที่มองไม่เห็นอะไรเลยเพราะน้ำตามันเอ่อกลบลูกนัยน์ตาจนหมด นาทีนั้นมันเหมือนกับว่าถึงรถจะตกสะพานไปก็คงไม่เป็นไรหรอก…

“ก็ฉันเป็นมะเร็งแล้วนี่” เธอคิดอย่างนั้น   

เวลาผ่านไป ในส่วน “ร่างกาย” เธอให้หมอรักษา ส่วน “หัวใจ” เธอเข้าหาธรรมะ เมื่อตั้งศูนย์ถ่วงชีวิตได้ กันย์เข้าร่วมคอร์สปฏิบัติธรรมต่าง ๆ เพื่อสงบจิตใจที่ปวดร้าว เพื่อเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบ 

กันย์เตรียมการไว้อย่างรอบคอบแล้ว ก่อนเปลวเทียนชีวิตจะมอดแสงลง เธอประสงค์ให้จัดงานศพที่บ้านสวนริมน้ำของเธออย่างเรียบง่าย โอบล้อมด้วยญาติสนิทมิตรสหายที่มาร่วมงาน 

ไม่มีการนิมนต์พระมาสวด แต่จัดให้ผู้มาร่วมงานได้ปฏิบัติธรรมที่บ้าน สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ และที่สำคัญคือฟังธรรม กันย์อยากให้ทุกคนที่เธอรักได้เรียนรู้ในสิ่งที่เธอได้รู้ในช่วงที่เจ็บป่วย 

ไม่มีการจุดธูปในงาน เพราะ “ควันธูป” เป็นหนึ่งในตัวการก่อมะเร็ง หากเรารับสัมผัสเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด…

—————————————————

-2-

หรีด… พร้อม! “รัก(ษ์)โลก” สามมม สี่!

“พวงหรีด” เป็นตัวแทนของการแสดงความเคารพอาลัยแก่ผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย มากกว่าคุณค่าดั้งเดิมนั้น ยังมีคนกลุ่มหนึ่งมองเห็นพวงหรีดเป็นตัวแทนของความรัก เป็นความห่วงใยสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง 

ถือเป็นบริการจัดส่งพวงหรีดเพื่อสังคมรายแรกสำหรับ “กระจายบุญ” วัสดุที่ใช้ทำพวงหรีดมาจากกระดาษที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ โดยจะมีการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปเปลี่ยนเป็นของกินของใช้ที่จำเป็น แล้วนำไปบริจาคให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสหรือขาดแคลน ตามโรงเรียน โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์คนพิการ สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า สถานสงเคราะห์คนชรา และสถานสงเคราะห์สัตว์

หรือจะเป็นพวงหรีดกระดาษที่มีหน้าตาละม้ายพวงหรีดดอกไม้สดจาก ‘Carenation’ (แคร์เนชั่น) ที่ทำขึ้นจากกระดาษรีไซเคิลและกระดาษจากป่าปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตโดยคนในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างงานและรายได้เสริมให้กลุ่มแม่บ้านและผู้สูงอายุ ทั้งนี้ รายได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของการขายพวงหรีด จะถูกนำไปบริจาคให้มูลนิธิและองค์กรการกุศลที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความสนใจ

อีกแบรนด์ที่น่าสนับสนุน “ลฤก” กับคอนเซ็ปต์ “ทำเสื่อให้เป็นมากกว่าเสื่อ” มาในรูปแบบพวงหรีดเสื่อผืนหมอนใบ ด้านหน้าเป็นเสื่อ ส่วนด้านหลังเป็นอาสนะหรือเบาะรองนั่งที่สามารถถอดออกมาใช้งานได้จริง รายได้ต่อพวงหรีดแต่ละพวงจำนวน 100 บาท มอบให้มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อม

เหล่านี้ล้วนเป็น “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise) -- ธุรกิจใส่หัวใจ ไม่มุ่งเน้นแสวงผลกำไรให้ผู้ถือหุ้น แต่เน้นคืนกำไรให้สังคม

—————————————————

-3-

สองเรื่องบนเส้นทางแห่งความดับสูญ มาบรรจบกันบน “ความรัก” “ความห่วงใย” และ “ความปรารถนาดี” -- จากคนที่ล่วงลับ สู่คนเป็น จากคนเป็น สู่คนเป็นด้วยกัน

ทำให้นึกถึงประโยคหนึ่งจากภาพยนตร์ดังอย่าง Harry Potter and the Deathly Hallows Part II ตอนที่ศจ.ดัมเบิลดอร์ พูดกับแฮร์รี่ ในช่วงระหว่างความเป็นความตายของเขาหลังถูกลอร์ดโวลเดอมอร์เสกคำสาปพิฆาตใส่

“Do not pity the dead, Harry. Pity the living, and, above all those who live without love.”

“อย่าสงสารคนที่ตายไปแล้วเลยแฮร์รี่ สงสารคนที่มีชีวิตอยู่ดีกว่า โดยเฉพาะคนที่มีชีวิตอยู่เแต่ปราศจากความรัก”

“รัก” ตัวเองแล้ว รู้จัก “ให้” คนอื่นบ้าง คิดเผื่อที่จะ “คืน” อะไรให้สังคมบ้าง โลกใบนี้จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0