โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ภาวะหมดไฟในการทำงาน ( Burn Out ) แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร? - หมอเอิ้น พิยะดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 05 มิ.ย. 2562 เวลา 13.59 น.

ถ้ามีใครสักคนเดินมาบอกคุณว่าเขาอยู่ใน “ภาวะหมดไฟ” ( Burn out) คุณฟังแล้วรู้สึกยังไงกับสภาวะนี้บ้างคะ?

ไม่เคยรู้สึก กำลังรู้สึก เคยผ่านความรู้สึกนั้นมาแล้ว ส่วนหมอเองก็เคยผ่านมาทั้งสามช่วง

 ภาวะหมดไฟ เราได้ยินประโยคนี้มานานมาก แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการรักษา และคนที่เป็นควรต้องดูแลตัวเอง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.62 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ยอมรับเป็นครั้งแรกว่า “ความเหนื่อยล้า” หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นโรคในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Classification of Disease-ICD) ซึ่งเป็นมาตรฐานการวินิจฉัยโรคและการประกันสุขภาพ

ไม่น่าเชื่อเลยว่าภาวะหมดไฟในการทำงานกลายเป็นโรคของโลก  

คำถามที่หมอมักเจอหลังจากคำประกาศนี้คือ

ถ้าเป็นโรคนี้ต้องไปหาหมอแผนกไหน? 

แน่นอนว่า คำตอบก็คือจิตแพทย์

แต่จากการที่เคยมีการทำสถิติว่าอาชีพแพทย์เป็นอาชีพอันดับหนึ่งของผู้ที่มีสภาวะหมดไฟนี้ 

ฉะนั้นจิตแพทย์ก็เป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burn out คืออะไร?

 Burn out หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นกลุ่มอาการที่จะแสดงออกใน 3 ลักษณะใหญ่

• รู้สึกหมดพลังงานและเบื่อหน่าย ท้อแท้ต่อการทำงาน

• มีความคิดอยากถอยห่างจากงานมากขึ้น เริ่มคิดลบกับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับงาน รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้คนที่ร่วมงานและองค์กร

• สมรรถนะและความสามารถในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งแนวโน้มของความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกเหล่านี้ยังคงเป็นอยู่ยาวนานต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในด้านอื่นๆของชีวิต เช่น ครอบครัว ความรัก

ภาวะหมดไฟในการทำงาน แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร? 

ต่างกันตั้งแต่ 1. สาเหตุของปัญหา

Burn out จะเริ่มต้นจากปัญหาเรื่องงานชัดเจน ผู้ที่เป็นรับรู้ได้ว่าถ้าปัญหานี้ดีขึ้น ทุกอย่างจะดีขึ้น

ในขณะที่ซึมเศร้า ไม่ค่อยมีปัญหาที่ชัดเจน รู้สึกเศร้าโดยไม่มีสาเหตุ ผู้ที่เป็นจึงไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาที่จุดไหน

2. ความรุนแรง

 Burn out จะมีอาการเบื่อหน่ายมากหรือน้อย เป็นไปตามปัญหาและทัศนคติที่มีต่องาน

ในขณะที่ซึมเศร้า จะรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้แบบจมดิ่ง

3. ระยะเวลา

Burn out จะเป็นเฉพาะช่วงเวลางาน หรือคิดเรื่องงาน ถ้าพาตัวเองออกไปทำสิ่งที่ชอบและอยู่กับสิ่งที่ชอบได้

อาการก็จะดีขึ้น

ในขณะที่ซึมเศร้า จะเป็นเกือบตลอดเวลาไม่ว่าจะทำอะไร ที่ไหน กับใคร

4. ความคิด

Burn out จะมีความคิดลบต่องาน ความสัมพันธ์ในเพื่อนร่วมงานและองค์กรเป็นหลัก ในขณะที่ยังคงความคิดบวกในด้านอื่นของชีวิต

ในขณะที่ซึมเศร้า จะจมกับความคิดลบที่มีต่อตัวเอง และในทุกด้านของชีวิต

5. ความต้องการ

Burn out จะมีความต้องการอยากจะเปลี่ยนสายงาน ลักษณะงาน ทีมงาน หรือออกจากงาน

ในขณะที่ซึมเศร้า จะมีความต้องการจะออกจากหลุมของความเศร้าภายในใจตัวเอง

6. ความเร่งด่วน

Burn out ยังสามารถค่อยๆปรับเปลี่ยนมุมมองการทำงานและการใช้ชีวิตของตัวเองได้โดยไม่ต้องรีบเข้ารับการรักษาเร่งด่วน ในขณะที่ซึมเศร้าควรได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน

สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ พื้นที่ทับซ้อนของสองภาวะนี้ นั่นคือความเบื่อหน่ายท้อแท้ 

หากตอนนี้คุณกำลังรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนของความเบื่อหน่ายท้อแท้

นี่อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะทำให้เราได้กลับเข้ามาทำความเข้าใจในตัวเอง ก่อนที่จะก้าวเดินอย่างมีความสุขมากขึ้น

คนที่มีภาวะหมดไฟ จะได้ไม่ต้องกลายเป็นโรคซึมเศร้า

และคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะได้กลับมาเป็นคนที่มีความสุข

อ้างอิง https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/ 

https://youtu.be/rPoSuKWXxsM 

เตรียมตัว ก่อนเรียนรู้การมีความสุข

https://youtu.be/LV_J_AZkT0w

พบจิตแพทย์ต้องทำอย่างไร และต้องเจออะไรบ้าง

https://youtu.be/1W7r6ZCaGWg

เพลงนี้ดีต่อใจ มากกว่ารัก ( original version)

---------------------------------------------------------------------------- 

Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549

----------------------------------------------------------------------------

IG : https://www.instagram.com/earnpiyada/

----------------------------------------------------------------------------

Website :http://www.earnpiyada.com/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0