โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำไมเดือนตุลาคมจึงเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม และทำไมต้องเป็นริบบิ้นสีชมพู

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 03 ต.ค. 2563 เวลา 17.51 น. • pp.p
Photo by <a href=
Angiola Harry | unsplash.com" data-width="1920" data-height="1080">
Photo by Angiola Harry | unsplash.com

          ในเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี จะเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลก (รวมถึงประเทศไทย) ออกมารณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่องของภัยจาก “มะเร็งเต้านม” ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยได้มีแคมเปญที่ชื่อว่า "Breast Cancer Awareness Month" (BCAM) หรือ "National Breast Cancer Awareness Month" (NBCAM) จัดขึ้นโดยองค์กรการกุศลด้านมะเร็งเต้านม โดยได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม และในตลอดเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี จะมีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของมะเร็งเต้านม และมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อระดมทุนหารายได้ในการทำวิจัย และวินิจฉัยหาวิธีรับมือกับโรคนี้ โดยโครงการนี้ได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) โดยความร่วมมือระหว่าง American Cancer Society และแผนกเภสัชกรรมของ Imperial Chemical Industries (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ AstraZeneca ผู้ผลิตยาต้านมะเร็งเต้านมหลายชนิด) ด้วยจุดมุ่งหมายของที่ต้องการการส่งเสริมการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมซึ่งมีคร่าชีวิตมนุษย์ทั้งชายและหญิง

ใช่แล้ว… ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ถึงแม้จะเป็นจำนวณตัวเลขผู้ป่วยที่น้อยกว่าผู้หญิงแต่ก็ไม่อาจมองข้ามได้ จนในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ได้มีการตั้งสัปดาห์ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในผู้ชาย โดยให้เป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม ดังนั้นเรื่องของมะเร็งเต้านมจึงไม่ใช่เรื่องของผู้หญิงเท่านั้น 

เพราะเหตุใดจึงใช้ “ริบบิ้น” เป็นสัญลักษณ์

ริบบิ้น ถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ในการสร้างความตื่นรู้ และการสนับสนุน ถูกนำมาใช้ในช่วงกลางทศวรรษ 1900 ในเพลงเดินทัพของทหารสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า “ Tie a Yellow Ribbon” สร้างแรงบันดาลใจให้ภรรยาของตัวประกันที่ถูกจับในอิหร่านตั้งแต่ปีค.ศ.1979-1981 (พ.ศ.2522-2524) ให้ใช้ริบบิ้นสีเหลืองเพื่อแสดงการสนับสนุนตัวประกันและเพื่อเตือนผู้อื่นถึงการรับใช้ชาติของตน ต่อมาสัญลักษณ์นี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเตือนความจำของชายและหญิงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประเทศในต่างแดน ในเวลาต่อมานักเคลื่อนไหวด้านโรคเอดส์ได้นำสัญลักษณ์นี้ไปใช้โดยได้เปลี่ยนสีริบบิ้นจากสีเหลืองเป็นสีแดง จากนั้นสารพัดแคมเปญเพื่อสุขภาพที่เป็นกิจกรรมเพื่อการกุศลก็ใช้สัญลักษณ์นี้ และได้รับความนิยมอย่างมากในสหรรัฐอเมริกาจนนิตยสาร New York Times เรียกปี 1992 ว่า “ปีแห่งริบบิ้น” (The Year of the Ribbon) ซึ่งริบบิ้นแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกันไป

Photo by <a href=
Angiola Harry | unsplash.com " data-width="1052" data-height="699">
Photo by Angiola Harry | unsplash.com

ความเป็นมาของ "ริบบิ้นสีชมพู"

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจากสุภาพสตรีวัย 68 ที่ชื่อชาร์ล็อต ฮาร์ลีย์ (Charlotte Haley) ผู้ซึ่งมีพี่สาว, ลูกสาว, และหลานสาวป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้ออกมาแจกริบบิ้นสีพีชพร้อมการ์ดหนึ่งใบที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของมะเร็งเต้านมว่า "งบประมาณประจำปีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติอยู่ที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่นำไปใช้ในการป้องกันมะเร็ง มาช่วยกันปลุกสมาชิกสภานิติบัญญัติและอเมริกาของเราด้วยการสวมริบบิ้นนี้” เธอแจกจ่ายการ์ดและริบบิ้นไปมากกว่าพันชิ้น และได้รับความสนใจจากสื่อโดยเฉพาะบรรณาธิการบริหารนิตยสารสุขภาพหัวหนึ่งซึ่งกำลังมีโปรเจคเกี่ยวกับการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และได้เชิญชวนเธอมาร่วมงานกันแต่ชาร์ล็อตตอบปฏิเสธด้วยเหตุผลที่เธอรู้สึกว่ามันเป็นการเพื่อการค้าจนเกินไปไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เธอต้องการ และด้วยเหตุผลทางกฎหมายบางอย่างที่ไม่อาจทำให้นำริบบิ้นสีพีชไปใช้ต่อได้ ทางนิตยสารและองค์กรอื่นๆ ที่อยากออกมารณรงค์เรื่องนี้จึงตัดสินใจเลือกใช้สีชมพูแทน เพราะสีชมพูนั้นถูกนำมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ของผู้หญิงในฝั่งตะวันตกมาช้านานแล้ว และโรคมะเร็งเต้านมก็ได้คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก 

ในปี1991 มูลนิธิซูซานจี. โกเมนได้มอบริบบิ้นสีชมพูให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขันในนครนิวยอร์กเพื่อผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม 

และในปี 1993 เอเวอร์ลิน ลอเดอร์ (Evelyn Lauder) รองประธานอาวุโสของ บริษัท Estée Lauder ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมและสร้างริบบิ้นสีชมพูเป็นสัญลักษณ์ และในปัจจุบันก็ยังมีอีกมากมายที่ออกมาร่วมรณรงค์โดยมีริบบิ้นสีชมพูเป็นสัญลักษณ์

ข้อมูลจาก wikipedia, gboncology.com 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0