ทั่วไป

สถ.จับมือ กสศ.ลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในโรงเรียนท้องถิ่น

คมชัดลึกออนไลน์
อัพเดต 18 พ.ย. 2562 เวลา 08.24 น. • เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 08.18 น.

18 พ.ย.2562-รองอธิบดี สถ.ขอให้ รร.อปท. 10 จังหวัดนำร่อง เร่งคัดกรองนักเรียนยากจน ครบถ้วน ไม่ตกหล่น ชี้เป็นฐานข้อมูลขยายผลทุนเสมอภาค ช่วยนักเรียนยากจนที่สุด 76 จังหวัด และ กรุงเทพฯ ในปี 63 ด้าน กสศ.ชี้การคัดกรองความยากจนสำคัญ ช่วยให้นักเรียนยากจนมีโอกาสรับทุนการศึกษาระดับสูงในอนาคต
ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีการประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดทำข้อมูลระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษ(นักเรียนทุนเสมอภาค) กสศ. ประจำภาคเรียนที่ 2/2562 ให้แก่กองการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านระบบ Teleconference

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนำร่องใน 10 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต เชียงราย กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี สระแก้ว ขอนแก่น นนทบุรี ร้อยเอ็ด และยะลา

สำหรับโครงการดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผลลัพธ์มุ่งสู่นักเรียนยากจนที่สุดในชนบทโดยตรง ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา โดยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนที่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุนตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งสิ้น 11,118 คน และเข้าสู่ระบบการคัดกรองจำนวน 5,415 คน ผ่านเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ จำนวน 1,623 คน ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนจาก กสศ. จำนวนทั้งสิ้น 1,583 คน ซึ่งจากการติดตามพบว่าในภาคเรียนที่ 1 ยังมีสถานศึกษาไม่ได้ทำการคัดกรองนักเรียนจำนวน 5,703 คน และไม่ขอรับทุน/ไม่ยืนยันข้อมูล จำนวน 40 คน ส่งผลให้นักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์นักเรียนยากจนพิเศษเสียโอกาสได้รับเงินอุดหนุนสร้างโอกาสทางการศึกษา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า กระบวนการกรอกข้อมูลและคัดกรองนักเรียนยากจนให้สมบูรณ์ครบถ้วน ทั้ง 10 จังหวัดนำร่อง ถือมีความสำคัญมาก ไม่ใช่เพียงมีผลต่อการสนับสนุนทุนเสมอภาคในปีการศึกษา 2562 เท่านั้น แต่จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อวางแผนงบประมาณ ขยายฐานการทำงานโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษในสถานศึกษาสังกัดอปท. ให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในสภาผู้แทนราษฎร

"ในภาคเรียนที่ 2 นี้ จึงขอความร่วมมือให้กองการศึกษา ติดตาม สร้างความเข้าใจให้กับสถานศึกษาและคุณครู ร่วมกันกรอกข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อรักษาสิทธิให้กับนักเรียนยากจนได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยระหว่างวันที่ 1-20 ธันวาคม 2562 จะมีการเปิดระบบคัดกรองทุนเสมอภาคในภาคเรียนที่ 2/2562 สำหรับนักเรียนกลุ่มเข้าใหม่หรือนักเรียนที่ประสงค์ขอรับทุนเพิ่มเติม นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญที่สถานศึกษาและคุณครูจะช่วยเหลือนักเรียนยากจนที่สุดแต่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการคัดกรองในภาคเรียนที่ผ่านมา ให้ได้มีโอกาสในการคัดกรองรอบนี้" รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

​ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2562 นักเรียนทุนเสมอภาคจะได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขจาก กสศ. คนละ 3,000 บาทต่อคนต่อปีการศึกษา เพื่อเป็นค่าอาหาร ค่าครองชีพ ค่าเดินทางมาเรียนและค่ากิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และป้องกันหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2563 (มิถุนายน 2563)

ภายหลังจากร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ผ่านการพิจารณาของสภา กสศ. มีแผนจะขยายการดำเนินโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษหรือทุนเสมอภาค ให้ครอบคลุม 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานครฯ ตั้งแต่ระดับการศึกษาอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อต่อยอดสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศไทย โดยการคัดกรองข้อมูลนักเรียนยากจนถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นฐานการทำงานสำคัญร่วมกับระหว่าง กสศ.

และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เด็กๆที่ยากจนที่สุดในประเทศได้มีโอกาสรับทุนสร้างโอกาสทางการศึกษาของกสศ.ในระดับสูงต่อไปในอนาคต เช่น ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ทุนระดับปริญญาตรี โท เอก นอกจากนี้ในกรณีมีความเดือดร้อนเร่งด่วนฉุกเฉิน กสศ.ยังมีโครงการระดมทุนจากประชาชนและภาคเอกชนเข้ามาสมทบเพิ่มเติมให้แก่สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีนักเรียนยากจนพิเศษจำนวนมากในอนาคต ซึ่งสามารถให้สิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่าแก่ผู้บริจาคอีกด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 8
  • มัวแต่ประชุม กำหนดนโยบาย ดูงาน แดกงบ ไอ้พวกผู้นำประเทศเฮงซวยกับข้าราชการสองชาม
    18 พ.ย. 2562 เวลา 09.09 น.
  • x.09
    ไอ้หัวกรวยเอ้ย ไร้สาระว่ะนั่งประชุมหรือนั่งมโนกัน
    18 พ.ย. 2562 เวลา 09.16 น.
  • 🦖 นายจิ 🦖
    ต้องถามว่า คุยแล้วลงมือทำเมื่อไร วัดผลยังไงว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
    18 พ.ย. 2562 เวลา 09.12 น.
  • รองวิทยา
    มาดูที่ทม.ราชบุรีมีการโอนงบประมาณเช่นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินค่าอาหารกลางวันเด็ก เงินเดือนครูน่าจะถึง10ล้าน เงินค่านมเด็ก โอนไปตั้งจ่ายรายการใหม่ แสดงว่ารัฐส่งเงินมาเกิน หรือทม.ราชบุรีหลอกรัฐ ใครกันแน่ รัฐหรือทม.ราชบุรี ที่อื่นเข้าไม่มีเงินจ้างครู แต่ที่ทม.ราชบุรีมีใช้จนเหลือใช้ต้องโอนไปใช้อย่างอื่นนี้คือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เศร้าใจครับ
    18 พ.ย. 2562 เวลา 10.16 น.
  • joenitsuka
    ประเด็นคือไม่ใช่ให้ทุนเด็กยากจน การให้ทุนก็ให้ไปสำหรับเด็กเรียนดี มีความสามารถ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ มันไม่ใช่ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่การเหลื่อมล้ำคือ ทำไมโรงเรียนต้องมีแบ่งเกรดโรงเรียน โรงเรียนดัง โรงเรียนดี การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ นั่นคือทุกโรงเรียนต้องมีมาตราฐานเหมือนกัน บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถดีและเท่ากันหมด คือจะเรียนที่ไหน ในเมืองนอกเมืองก็ต้องฉลาดเก่งเหมือนกัน มีสวัสดิการเหมือนกัน เช่น อาหารกลางวัน รถรับส่ง เป็นต้น ถ้าตีโจทย์ปัญหาไม่ออกก็ลาออก รึอย่าคิดเถอะ
    18 พ.ย. 2562 เวลา 10.03 น.
ดูทั้งหมด