การปลูกข้าวโดยใช้ตอซังนั้นเป็นวิธีที่ดี จะส่งผลดีต่อดินคือ ฟางข้าวจะเน่าเปื่อยผุพังและเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น และช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งต่อครึ่ง ข้อดีอีกประการของการทำนาข้าวล้มตอ คือได้ต้นข้าวที่แข็งแรง และทนทานต่อการรบกวนของศัตรูพืช อย่างหอยเชอรี่และเพลี้ยไฟมากกว่าถ้าเป็นข้าวหว่านนาน้ำตม ไม่ควรทำการปลูกข้าวล้มตอซังเพราะจะทำให้มีน้ำขังและจะทำให้ตอซังเน่า การปลูกข้าวล้มตอซังจะช่วยประหยัดต้นทุน หลายๆ ด้านเช่น พันธุ์ข้าว เวลา ฯลฯ
ข้าวล้มตอซังที่กำลังเจริญเติบโต
ขั้นตอนการปลูกข้าวล้มตอซัง
1.ปรับพื้นที่นาให้เสมอ จะเริ่มตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยว ให้กระจายฟางคลุม ตอซังทั่วแปลงนา ใช้ลูกยางย่ำตอซัง ประมาณ 3-4 เที่ยว ย่ำให้ราบติดกับพื้นดิน ฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น จากนั้นประมาณ 3-4 วัน ข้าวจะเริ่มแทงหน่อเล็กจากข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซังออกมา
2.หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่าฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบางๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าวงอกขึ้นมามี 2-3 ใบ ซึ่งอายุข้าวจะประมาณ 10 วัน นับจากวันย่ำฟาง
3.สังเกตว่าการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันกับข้าวหว่านน้ำตม โดยต้นจะใหญ่กว่า รากจะหนาแน่นกว่า หาอาหารได้ดีกว่า ข้าวล้มตอซังที่สมบูรณ์จะแตกหน่อ 3-4 หน่อ ต่อ 1 ต้นซัง
4.สูบน้ำเข้าแปลงนาและใส่น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 15 ไร่ พอแฉะ แต่อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง จากนั้นรักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหายจากนั้นก็คอยดูแลการเจริญเติบโตของต้นข้าว และรอวันเก็บเกี่ยว
การปลูกข้าวล้มตอซัง ข้อควรคำนึงของ
การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง ต้องมีน้ำเพียงพอ เก็บเกี่ยวข้าวระยะต้องเป็นระยะข้าวพลับพลึง ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไป หน่อข้าวจะแตกเป็นต้นข้าวใหม่ที่แข็งแรงและเจริญเติบโตดี เกลี่ยฟางข้าวคลุมตอซังให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงและ ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน ถ้ามีโรคและแมลงรบกวนต้องไถทิ้ง เตรียมดินและปลูกแบบหว่านน้ำตมใหม่
ผลผลิตจากข้าวล้มตอซัง