"หมอธีระ" เตือนติดโควิดล่าสุด ต้องกักตัวนานแค่ไหนถึงพอ ป้องกันการแพร่เชื้อ หากตรวจ ATK ได้ผลลบ อย่าเพิ่งวางใจ ให้ตรวจซ้ำ
ภายลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มกลับมาเป็นประเด็นที่ถูกจับมองและให้ความสนใจอีกครั้ง เนื่องจากแพทย์หลายคนออกมาเตือนว่าตอนนี้โควิดอยู่ในช่วงขาขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2565 หมอธีระ หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยระบุว่า
7 ธันวาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 427,387 คน ตายเพิ่ม 840 คน รวมแล้วติดไป 650,744,140 คน เสียชีวิตรวม 6,649,012 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.72 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.09
สิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
1. วาทกรรมตามสื่อ"ระลอกเล็กๆ" จะนำไปสู่ความเข้าใจผิด ประมาท และปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
ดูรอบตัวอย่างมีสติ จะทราบกันดีว่าไม่ใช่ระลอกเล็ก ตัวเลขรายสัปดาห์ที่รายงานทางการเป็นจำนวนผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่จำนวนติดเชื้อจริงสูงกว่านั้นมาก หากประเมินจากข้อมูลต่างประเทศ เช่น รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ที่มีการระบาดก่อนหน้านี้ทั้ง BA.5 ร่วมกับ BA.2.75.x คล้ายกับที่เรากำลังเผชิญขณะนี้ จะพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลคิดเป็น 1.8-2% ของจำนวนคนติดเชื้อที่อยู่ในระบบรายงาน
ดังนั้นหากนำข้อมูลข้างต้นมาลองประเมินสถานการณ์บ้านเรา ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจมีติดเชื้อใหม่อย่างน้อยวันละ 30,600 คน
นี่หรือ…ระลอกเล็กๆ อยู่กับความเป็นจริง บอกเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้คนทราบ จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นี่คือพื้นฐานของเรื่อง Health literacy และจะลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากโรคระบาด ควรเรียนรู้จากบทเรียนในรอบสองปีที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และเพราะเหตุใด
ตำรวจรับแจ้งเหตุ "ขับรถโดยประมาท" ชนรถคนอื่นพัง พอเห็นคนขับจับไม่ลงเลย
แบงก์ใหญ่ 3 แห่ง แจ้งปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว ไม่สามารถทำธุรกรรมได้
"พัชรินทร์" โดนสอบเครียด ปมนอมินี "ตู้ห่าว" พร้อมเผยความสัมพันธ์
2. กักตัวแค่ไหนถึงพอ?
ย้ำอีกครั้ง ด้วยข้อมูลวิชาการแพทย์ที่เคยนำมาแสดงให้ดูกันหลายครั้งตลอดช่วงระบาดที่ผ่านมา หากติดเชื้อ ควรกักตัวอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ จึงกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยยังต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์
ในกรณีที่ป่วย มีอาการไม่สบาย เจ็บคอ ไอ ไข้ น้ำมูกไหล คัดจมูก ปวดหัว หรือปวดกล้ามเนื้อ ขอให้นึกถึงโควิดไว้เสมอ และตรวจ ATK ถ้าเป็นบวกแปลว่าติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น
แต่หากตรวจได้ผลลบ อย่าเพิ่งวางใจ ให้ตรวจซ้ำทุกวันอย่างน้อยสามวันติดกัน เพราะ ATK มีความไวต่ำ อาจให้ผลลบปลอมได้
ทั้งนี้ โรคโควิด-19 นั้น คนที่ติดเชื้อกว่าจะมีอาการจะใช้เวลาหลายวัน แต่สามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้ตั้งแต่ช่วงก่อนจะมีอาการป่วย จึงยากในการป้องกันการแพร่ระบาดในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรทำคือ การใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
หลักการเว้นระยะห่าง ล้างมือ ไม่กินดื่มร่วมกันใกล้ชิด ไม่แชร์ของกินของใช้ เลี่ยงสถานที่แออัดระบายอากาศไม่ดี รวมถึงที่สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ไม่ว่าจะเวลาทำงาน เดินทางท่องเที่ยว หรือศึกษาเล่าเรียนก็ตาม
สถานการณ์ระบาดปัจจุบัน มีการติดเชื้อกันจำนวนมาก จำเป็นต้องรู้เท่าทัน และปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ใช้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นแสงส่องทาง เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ทำในสื่งที่ควรทำ
ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ สะท้อนให้เห็นชัดเจนสำหรับแต่ละประเทศว่าบริหารจัดการนโยบายควบคุมป้องกันโรค และนโยบายจัดระบบดูแลรักษาการเจ็บป่วยได้ดี มีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งนี้ตัวเลขจำนวนการเสียชีวิตส่วนเกินจากทุกสาเหตุ เปรียบเทียบในช่วงก่อนโควิดกับช่วงหลังจากที่มีการระบาดโควิดนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะสะท้อนสถานการณ์จริงได้มากขึ้น
ณ จุดนี้ ควรไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครับ หากเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือนมาแล้ว เพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง…สำคัญมาก
ขอบคุณ Thira Woratanarat
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Tnews
เหม็นขี้ฟัน
08 ธ.ค. 2565 เวลา 03.36 น.
ดูทั้งหมด