ไลฟ์สไตล์

ระบบ RFID คือ อะไร? สุดยอดเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ มีบทบาทอย่างไรกับแวดวงธุรกิจ?

ZipEvent
อัพเดต 26 ม.ค. 2566 เวลา 09.29 น. • เผยแพร่ 18 ส.ค. 2565 เวลา 08.10 น. • Kanyawee Jin

ชวนรู้จักกับ ระบบ RFID คือ อะไร? อันที่จริงหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าเทคโนโลยี RFID (อาร์เอฟไอดี) วันนี้ซิปอีเว้นท์จะมาสรุปไว้ให้ครบจบในบทความเดียว ที่จะช่วยไขคำตอบว่าสิ่งนี้คืออะไร?และ RFID นี้ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมธุรกิจ ซึ่งคำถามที่ตามมาคือ แล้วมีบทบาทอย่างไรกับแวดวงธุรกิจ? ถ้าพร้อมแล้วมารู้จักสุดยอดเทคโนโลยีคลื่นวิทยุสิ่งนี้กันเลย

What’s RFID?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อาร์เอฟไอดี เทคโนโลยีคลื่นวิทยุอัจฉริยะ

หากสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ ระบบ RFID คือ การระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ โดยย่อมาจาก (Radio Frequency Identification) หรือเรียกได้ว่าเป็นระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มความสามารถในการคำนวณและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแทนการสัมผัส เป็นการนำคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ และเป็นระบบฉลาก

โดย RFID มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้ายนั่นเอง ซึ่งจะนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง สิ่งของ ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลของวัตถุว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ

เมื่อรู้ความหมายคร่าวๆ แล้วซิปอยากบอกต่ออีกว่าเจ้า RFID มีส่วนประกอบหลักๆ อยู่อีกนะ

RFID มีองค์ประกอบหลัก ทั้งหมด 3 ส่วน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
photo by kanyawee jintaphithak

1. ป้าย (RFID Tag, Transponder-Responder)
ภายในประกอบไปด้วย เสาอากาศ และตัวไมโครชิป เสาอากาศจะทำหน้าที่รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่าง ป้าย (RFID Tag) กับเครื่องอ่าน (Reader) ป้ายที่ทุกคนมักเห็นกันจนชินตาก็คงจะหนีไม่พ้น ป้ายที่ติดสินค้ากันขโมยในห้างสรรพสินค้า และตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญกลมสีดำ ที่ใช้แตะเพื่อเข้าสู่ชานชาลา

2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)
มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับป้าย (RFID Tag) เพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายโดยใช้สัญญาณวิทยุ ซึ่งภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศ เพื่อใช้รับ – ส่งสัญญาณ สัญญาณวิทยุ ภาครับ-ภาคส่ง วงจรควบคุม การอ่าน-เขียนข้อมูล และส่วนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านจะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่ที่หลายคนคุ้นตากันดีก็จะมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องอ่านป้ายทะเบียนรถ และเครื่องอ่านบัตรสแกนเวลาเข้าทำงาน

3. ระบบที่ใช้ประมวลผล (Hardware)
เป็นส่วนที่จะทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากป้าย (RFID Tag) หรือจะสร้างข้อมูลเพื่อส่งไปยังป้าย และยังเป็นที่เก็บระบบฐานข้อมูลได้อีกด้วย โดยระบบที่คนนิยมใช้ในปัจจุบันจะมี ระบบการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง และระบบการบริหารจัดการทรัพยากร

ขอบคุณข้อมูลจาก: aisdc.ais.co.th

RFID มีบทบาทอย่างไรกับแวดวงธุรกิจ?

ระบบ RFID คือ

RFID กับการเข้า-ออกอาคาร

ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ปัจจุบันมีหลากหลายมาก ทั้งบัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้า ใช้ RFID ช่วยประหยัดเวลาในการต่อคิวชำระเงินได้ดี เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่เร่งด่วน

ยกตัวอย่าง สำหรับใครที่นิยมใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน ตั๋วของรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่มีลักษณะกลมๆ สีดำ เวลาเราจะเดินผ่านด่านเข้าไป เราก็เพียงนำเหรียญนี้ แตะไปตรงบริเวณที่อ่านบัตร จากนั้นที่กั้นก็จะเปิด ซึ่งเหรียญกลมๆ สีดำนั้น จริงๆแล้วก็คือ RFID ประเภท Tag

RFID กับอุตสาหกรรมห้าง / ระบบรักษาความปลอดภัยในห้าง

ยกตัวอย่าง ขณะเดินซุปเปอร์มาร์เก็ตตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งตรงทางเข้าหรือทางออก เราจะต้องเดินผ่านเครื่องอ่านประเภทให้คนเดินผ่าน ซึ่งก็คือหนึ่งในเทคโนโลยี RFID ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการขโมยสินค้า

โดยหลักการคือจะติดป้าย (ศัพท์ทาง RFID เรียกว่า Tag) ไว้กับสินค้าที่ต้องการ Detect ซึ่งในเวลาซื้อปกติ ทางพนักงานจะดึงป้ายนี้ออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ป้าย เพื่อจะไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาที่ผ่านเครื่องอ่าน ในกรณีที่มีการขโมยสินค้า ตัวป้ายนี้จะยังอยู่ติดกับตัวสินค้า เมื่อผ่านเครื่องอ่าน เครื่องจะส่งเสียงดังให้ทราบนั่นเอง

RFID กับอุตสาหกรรมอีเว้นท์

photo by kanyawee jintaphithak

ยกตัวอย่าง ในงานอีเว้นท์ต่างๆ ที่จัดขึ้นใหญ่ๆ อย่าง Inclusive Growth Day by OR ที่พึ่งจบไปได้ไม่นาน ภายในงานก็อาจจะมีบูธพาร์ทเนอร์ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า ยกตัวอย่างเช่น Amazon ร้านกาแฟชื่อดัง ที่มีระบบเครื่อง RFID ชนิดบัตร ให้สำหรับผู้เข้างาน สามารถใช้เป็นบัตรซื้อเครื่องดื่มตามราคาต่างๆ เพียงแค่แตะบัตรไปที่เครื่อง คลื่นวิทยุก็จะทำการเก็บข้อมูล Data ต่างๆ นั่นเอง

RFID กับอุตสาหกรรมรถยนต์

ยกตัวอย่าง การอนุญาตการเข้า-ออกรถยนต์ ด้วยการใช้วิธีฝัง RFID ไว้กับกุญแจ หรือคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูรถ ซึ่งจะทำให้มีการดูแลเอาใจใส่ที่สะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับเจ้าของรถได้มากยิ่งขึ้น

ทุกคนคงจะเห็นแล้วว่า RFID นั้นถือเป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวมากๆ และมีบทบาทในชีวิตประจำวัน รวมถึงบทบาทของสิ่งนี้ก็กระจายอยู่ในแวดวงธุรกิจต่างๆ เช่นกัน และเชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีนี้ จะถูกนำมาพัฒนาให้ตอบสนองกับทุกการใช้ชีวิตให้เราได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ขอบคุณที่มา: RFID Asia / pp-ontime / thaieasyelec.com

หากผู้จัดท่านใดสนใจ ระบบลงทะเบียนออนไลน์ หรือระบบ RFID แบบครบวงจรของทาง Zipevent สามารถติดต่อทีมงานของเราได้เลยที่ E-mail: sales@zipeventapp.com

ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ

ดูข่าวต้นฉบับ