ทั่วไป

เช็กเงื่อนไข Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 ใครบ้างมีสิทธิเข้าร่วม

TNews
อัพเดต 29 ธ.ค. 2566 เวลา 21.50 น. • เผยแพร่ 30 ธ.ค. 2566 เวลา 04.45 น.

เงื่อนไขมาตรการลดหย่อนภาษี "Easy E-Receipt" อีซี่ อี-รีซีท จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยเป็นการให้สิทธิลดหย่อนภาษีผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการซื้อสินค้าและบริการตามการใช้จ่ายจริงสูงสุด 50,000 บาทต่อคน จากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

เช็กเงื่อนไข Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 ใครบ้างมีสิทธิเข้าร่วม
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มาตรการ Easy E-Receipt ใครมีสิทธิเข้าร่วมได้บ้าง

  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ที่มีสิทธิได้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท สามารถเข้าร่วม Easy E-Receipt ได้

สิทธิประโยชน์ Easy E-Receipt

  • นำค่าซื้อสินค้าหรือบริการ นำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2567
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท

เงื่อนไขสิทธิมาตรการ Easy E-Receipt

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
  • ต้องมีหลักฐานใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

มาตรการ Easy E-Receipt ยื่นภาษีใช้สิทธิเมื่อไหร่?

  • ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90/91 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568

คุณสมบัติร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt หรือเป็นผู้ขายสินค้า

  • ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ผู้ประกอบการทั่วไปขายหนังสือ e-Book และสินค้า OTOP
  • สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice and e-Receipt หรือ ระบบ e-Tax Invoice by Email

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ก็ตาม
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

กรณีซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้าค่าบริการดังต่อไปนี้

  • ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต
  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
ดูข่าวต้นฉบับ