ไอที ธุรกิจ

ทำไมจึงไม่ควรซื้อบ้านแพง และเร็วเกินไป?

Finnomena
อัพเดต 19 ก.พ. 2563 เวลา 07.03 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2563 เวลา 07.02 น. • Daddy trader

ในบรรดาคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการออม และการบริหารเงินส่วนบุคคล ผมมีความเห็นว่าคำแนะนำที่บอกให้เรา “ก่อหนี้ให้น้อยและช้าที่สุด” เป็นคำแนะนำที่ผู้นำไปใช้งานจะได้ประโยชน์มากที่สุดคำแนะนำหนึ่ง ในบทความนี้ผมจะมุ่งประเด็นไปที่การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยจะขยายความเพิ่มเติมและแสดงตัวอย่างเพื่อให้เห็นว่าการก่อหนี้เพื่อซื้อบ้านนั้น เราก็ควรที่จะก่อหนี้ให้น้อยที่สุดและช้าที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน

ประเด็นของการสร้างหนี้นั้นส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการก่อหนี้เพื่อนำไปใช้จ่าย หรือซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น แต่สำหรับการก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นประเด็นยกเว้นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะถึงแม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพ แต่เป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูง ซึ่งหากต้องซื้อด้วยการก่อหนี้มักจะเป็นหนี้ก้อนใหญ่และระยะเวลาในการผ่อนชำระนาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มุมมองด้านการบริหารเงินส่วนบุคคล การสร้างหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นการเร่งนำเงินก้อนใหญ่ที่เราไม่มีมาใช้ในปัจจุบันและจะต้องมีภาระเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งตรงข้ามกับการออมเงินระยะยาวและนำเงินที่ออมไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ ถ้าเราพิจารณาเรื่องค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money) ด้วยมูลค่าเงินที่เท่ากัน ตัวเลขของเงินในปัจจุบัน (Present Value) จะน้อยกว่า ตัวเลขเงินในอนาคต (Futures Value) อย่างมาก และถ้ายิ่งเวลาผ่านไปเท่าไร ส่วนต่างนี้จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ไอเดียเบื้องต้นที่เป็นตัวเลขกลม ๆ เกี่ยวกับการกู้เงิน โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยที่ 6% ต่อปี คือ การกู้เงิน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนจ่าย 30 ปี จะมีภาระในการผ่อนเดือนละ 6,000 บาท แต่ถ้าเราปรับระยะเวลาในการผ่อนชำระลง เหลือ 25 ปี จะมีภาระในการผ่อนละประมาณ 6,500 บาท และถ้าระยะเวลาในการผ่อนชำระลดลงเหลือ 20 ปี จะมีภาระในการผ่อนเดือนละประมาณ 7,200 บาท

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าปัจจุบันเรากู้เงินซื้อบ้านเป็นจำนวนเงิน 3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี ระยะเวลาในการผ่อนบ้าน 30 ปี เราจะมีภาระต้องชำระค่าผ่อนบ้าน เดือนละ 17,986.52 บาท (ประมาณ 18,000 บาท) ตลอดระยะเวลา 30 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในทางกลับกัน ถ้าเราออมเงินได้เดือนละ 18,000 บาท และเงินออมของเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 6% ต่อปี เราจะมีเงินหลังจากครบ 30 ปี ประมาณ 18,000,0000 บาท (18 ล้านบาท !!!) จะเห็นได้ว่าพลังของดอกเบี้ยทบต้น (อัตราผลตอบแทนทบต้น) ถ้าเราอยู่ในฝั่งที่เป็นหนี้ คือ การนำเงินที่ไม่มีมาใช้ก่อนในปัจจุบัน จะสร้างภาระให้เราอย่างมาก แต่ถ้านำเงินส่วนนี้ไปสร้างผลตอบแทนจะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้เราอย่างมากในอนาคต

จากตัวอย่างที่ยกขึ้นมาข้างต้นจึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการซื้อที่อยู่อาศัย คือ พยายามก่อหนี้ให้น้อยที่สุด ซึ่งการจะก่อหนี้ให้น้อย สามารถทำได้โดยการใช้เงินกู้เพียงบางส่วน หรือเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าไม่สูงจนเกินไป สำหรับประเด็นด้านระยะเวลาหากไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ก็ไม่ควรรีบสร้างภาระหนี้ เพื่อให้เราสามารถนำเงินส่วนนี้ไปสร้างผลตอบแทนให้เงินเติบโต และเมื่อมีความจำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยจริง ๆ เงินส่วนนี้จะช่วยลดภาระในการผ่อนชำระให้กับเราได้อย่างมาก

DaddyTrader

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากสนใจลงทุนใน Long Term Defensive Plus พอร์ตกองทุนรวมเน้นลงทุนระยะยาวที่จัดโดย DaddyTrader สามารถคลิกที่ https://www.finnomena.com/port/daddytrader/

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 41
  • chainarong.
    ไร้สาระ ครบ30ปีค่อยซื้อบ้าน? ตอนนั้น บ้านราคาเท่าไหร่ ที่ดินราคาเท่าไหร่ ค่่าแรง ค่าครองชีพ ค่าอาหารคุณคิดว่า อา หารตามสั่งอีกสามสิบปีจานละกี่บาท เอา18ล้านในอนาคตมาเทียบปัจจุบันได้อย่างไร? แล้ว ระหว่างรอเก็บเงิน คุณอาศัยกลาวเวหาหรือ? ค่าเช่าบ้านจ่ายเท่าไหร่ ในเวลา30ปี ถ้าจ่ายเดือนละ8,000บาท ต่อปีแบะอาจโดนปรับค่าเช่าทุก 4-5ปี คุณว่า ค่าใช้จ่ายนี้เสียไปเท่าไหร่ ค่าเสียโอกาสเริ่องทำเล อีก มูลค่าบ้านที่ดินที่เพิ่ม และความรู้สึกๆไม่มั่นคงทางใจ สำหรับคนที่ไม่มีบ้านของตนเอง คุณเอามาคิดรวมด้วยหรือเปล่า
    19 ก.พ. 2563 เวลา 12.28 น.
  • AUN+
    หลอก แมงเม่า ไปวันๆ ครับ. ลงทุนอะไร กำไร 6% ต่อปี สมัยนี้ ยากมาก. อ่านเยอะๆคิดเยอะๆ
    19 ก.พ. 2563 เวลา 11.39 น.
  • Kris😊
    ไร้สาระ ไม่มีหรอกหุ้นอะไรจะมาให้ผลตอบแทนคงที่ 6% ตลอด 30 ปี เพ้อเจ้อ ลงไกลายเป็นแมงเม่าป่าววว !!!
    19 ก.พ. 2563 เวลา 11.15 น.
  • P~Ö~M
    เขียนแบบ จินตนาการ ไม่ได้ใส่ ของจริง ลงไปด้วย บทความแบบนี้ เหมือน ข้อปฏิบัติ เรื่อง การทำความสะอาดมือ สามเวลา ที่ติดแถวห้องน้ำ อ่านเอาเพลินพอได้ ใครสักคนจะทำตามบทความได้ แม้นแต่คนเขียนบทความเองก็เถอะ
    19 ก.พ. 2563 เวลา 11.04 น.
  • ให้ผมตอบจริงหรือเล่นๆดีละ เอาเป็นว่าบ้านที่เราอยู่คือหนี้สินมิใช่ทรัพย์
    19 ก.พ. 2563 เวลา 09.50 น.
ดูทั้งหมด