ไลฟ์สไตล์

"เราจะใส่บาตรอย่างไรโดยไม่สร้างขยะแก่โลก" คุยกับ 'ภควรรณ ตาฬวัฒน์' เกี่ยวกับการใส่บาตรแบบรักษ์โลก

WWF-Thailand
เผยแพร่ 07 ธ.ค. 2562 เวลา 17.01 น.

การทำบุญตักบาตรเป็นวิถีของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเราที่คุ้นเคยกับประเพณีปฏิบัตินี้มาเป็นเวลานาน ท่ามกลางวิถีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น ภาชนะซึ่งเคยถูกนำมาใช้บรรจุข้าวปลาอาหาร อย่างปิ่นโต ใบตอง ก็เลือนหายไปพร้อมกับพลาสติกเข้ามาแทนที

ไม่ว่าจะเป็นถุงร้อนพลาสติกสำหรับใส่แกง ถุงพลาสติกใส่ข้าวสวย หรือถุงพลาสติกหูหิ้วที่ใส่ข้าวปลาอาหารทั้งหมดรวมกัน ยังไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในการตักบาตร จนเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คงเป็นเรื่องยากที่จะหาภาชนะใดๆ มาบรรจุอาหารทดแทนพลาสติกทั้งหลายในยุคนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันนี้แพนด้าจะชวนเพื่อน ๆ มาคุยกับคุณภควรรณ ตาฬวัฒน์ หรือ “คุณมด” ผู้ทำงานในแวดวงสิ่งแวดล้อมว่า “เราจะใส่บาตรอย่างไรโดยไม่สร้างขยะแก่โลก”

คุณมด เริ่มต้นทำงานมาในสายการประมงยั่งยืน ต่อมาได้มีโอกาสมาทำโครงการเกี่ยวกับปัญหาพลาสติก และขยะทะเล คุณมดจึงสนใจในการหาวิธีลดการใช้พลาสติก และกำจัดขยะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ปัญหาขยะทะเล จริง ๆ 80% มาจากบนบก อีก 20% มาจากทะเล หลักการในการแก้ไขปัญหาก็คือ ลดการใช้ให้ได้มากที่สุด เราเลยย้อนกลับไปมองตัวเองว่า เราจะทำอะไรได้อีกบ้างเพื่อลดขยะ เลยมานึกถึงการตักบาตร เพราะเป็นคนตักบาตรเป็นประจำอยู่แล้ว”

“การตักบาตรมันเป็นการให้ครั้งเดียว พูดง่าย ๆ เลยคือเป็น Single Use ครั้งเดียว เลยคิดว่าถ้าจะทำอะไรเรื่องพลาสติก ควรจะสนใจเรื่องการตักบาตร โดยเฉพาะในสังคมของเราที่ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ” คุณมดกล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังจากที่เริ่มมีไอเดียแก้ปัญหาขยะจากการตักบาตร คุณมดเริ่มหาวัสดุทดแทนที่จะนำมาใช้ โดยวัสดุที่ทำให้เกิดขยะน้อยที่สุดคือใบตอง นอกจากนั้น อาหารที่เป็นประเภทน้ำแกง ก็ใช้วิธีนำขวดแก้วมาใส่เพื่อไม่ให้เกิดการใช้แล้วทิ้ง แม้การใช้ขวดแก้วนั้นอาจจะเพิ่มต้นทุนในการตักบาตรอยู่บ้าง คุณมดจึงวางแผนซื้อขวดแก้วแบบเหมาซึ่งทำให้ราคาถูกลงเหลือประมาณ 10 บาท “ขวดแก้วดีอย่างหนึ่งคือรีไซเคิลได้ แล้วถ้าเราใช้แพ็กเกจที่มันดี ๆ คนก็จะเสียดาย ทำให้เกิดการใช้ซ้ำ นั่นคือจุดประสงค์ของเรา ก็คือการบรรลุเป้าหมายของการนำวัสดุมาใช้ซ้ำ”

“เรารู้สึกเลยว่าทั้งหลายทั้งปวงมันขึ้นอยู่กับการวางแผนชีวิต เวลาตักบาตร ปกติเราก็จะวางแผนประมาณว่า จะทำอาหารอะไรเราก็ไปซื้อวันเสาร์ แล้ววันอาทิตย์ก็นำมาตักบาตร แต่ตอนหลังพอเราเริ่มใช้ใบตอง มีคนบอกว่าถ้าใบตองสดไปจะห่อแล้วแตก เราก็คิดว่า เราต้องวางแผนมากกว่านี้ ต้องซื้อก่อนอีกสองวัน ย้อนกลับมาคิดดู ถ้าเกิดสมมติว่าเราไม่ได้วางแผนเลย มันก็จะกลายเป็นว่าอะไรก็ได้ตอนนั้น เห็นอะไรปุ๊ปก็ซื้อเลย กลายเป็นว่าทุกอย่างห่อพลาสติก ห่อถุงไปหมด กลับมาสู่จุดที่ว่า ชีวิตมันคือการวางแผน แค่นั้นเลย”

“เมื่อก่อนนู้น วิถีการตักบาตรคือเรามักจะไปบาตรตามวัดใกล้บ้าน คนก็จะห่อปิ่นโตแล้วไปเอากลับมาได้ แต่สังคมทุกวันนี้ต่างออกไป วัดอยู่ไกลบ้านมากขึ้น เราไม่สามารถไปตามเอาปิ่นโตกลับมาได้ ทางแก้ของเราก็คือการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดขยะน้อยที่สุดนั่นแหละ จริง ๆ แล้วมันก็คือทางเลือกของเรา”

นอกจากวัสดุที่จะทำให้เกิดการใช้ซ้ำ และลดขยะได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นพลังสำคัญของการอนุรักษ์ก็คือ “การบอกต่อ” ทุกครั้งเวลาคุณมดต่อคิวตักบาตร เจ้าอาวาส หรือคนที่มาใส่บาตรด้วยก็จะทักเมื่อเห็นวัสดุที่คุณมดใช้ สิ่งนี้เองจึงการเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงการอนุรักษ์ออกไปในวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มจากคนรอบตัว

“มันออกจะปรัชญานิดนึงนะ เราอาจจะไม่ต้องคิดถึงโลกทั้งใบตั้งแต่แรกก็ได้ เราอาจจะไม่ต้องไปบังคับคนอื่นก็ได้ เพียงแต่เราคิดว่าเราได้ทำอะไรดี ๆ ไปทีละนิด ทีละนิด สุดท้ายสิ่งดี ๆ เหล่านั้นก็จะกลับมาหาเราเองนั่นแหละ คล้าย ๆ กับการออกกำลังกาย ความรู้สึกพวกนี้ จริง ๆ มันคนละประเด็นนะ แต่มันคือการ set goal เล็ก ๆ ให้เราบรรลุไปได้” คุณมดกล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นเหมือนการบรรลุเป้าหมายเล็ก ๆ ในชีวิตในแต่ละวัน

แน่นอนว่าแรกเริ่มเราอาจจะทำไม่ได้ทุกวัน แต่ประเด็นน่าสนใจที่คุณมดได้เอ่ยถึงคือ “การวางแผนชีวิต” เพราะหากเราวางแผนได้ดี เราก็จะเตรียมพร้อม เตรียมตัวใช้วัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ต้องเป็นไปตาม “วิถีที่เร่งรีบ” แพนด้าชวนเพื่อน ๆ มาลองเริ่มต้นทีละนิด วางแผนทีละน้อย เพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ไปด้วยกันนะคะ

ขอขอบคุณสถานที่ before thirtieth café สำหรับการสัมภาษณ์

และรูปภาพข้าวห่อใบตองสวย ๆ จากคุณมด

#WWFThailand #TogetherPossible

#OncePandaAlwaysBePanda

ความเห็น 8
  • Pichit Sareewong
    จะใส่บาตรยังมีปัญหา​ กูเซ็ง
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 23.39 น.
  • บางอย่างมันก็ต้องอนุโรมจ๊ะ
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 23.28 น.
  • โชคดีจังที่สุพรรณอำเภอสองพี่น้องวัดเราใกล้บ้านพระยังถือปิ่นโตมาคะ
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 23.07 น.
  • ถ้าเป็นไปได้คงต้องใช้ปิ่นโตเ้ามาช่วยในการใส่อาหารแทนการใช้ถุงพลาสติกในการใส่บาตรก็คงจะดีเหมือนกัน.
    10 ธ.ค. 2562 เวลา 22.41 น.
  • เห็นทีจะขอแนะนำให้ไปสอบถามอดีตหลวงปู่เณรคำกะเณรแอหรือไม่ก็ไอ้พุทธอิสระแต่คงไม่ต้องถึงขั้นไปถามไอ้อดีตพระฝรั่งจูเลี่ยนเพราะรายนี้นิยมฉันท์ภัตตาหารสดๆใต้สะดือที่สีกานำมาถวาย..การใส่บาตรไม่เคยได้ยินข่าวว่ามีขยะในวัดในกุฏิสร้างความลำบากให้มัคคะทายก..ขยะที่เป็นภัยภายในวัดคือขยะที่เดินได้มี4ขาเช่นหมาแมวที่ชาวบ้านพากันเอาไปปล่อยวัดมากกว่า(ตรงๆ)
    09 ธ.ค. 2562 เวลา 10.43 น.
ดูทั้งหมด