ไลฟ์สไตล์

นึกถึง ‘ฟุตบาทไทย’ สถาปนึกพาสำรวจวาระแห่งชาติ กับอนาคตทางเดินเท้าที่เราจะไม่สะดุด! - สถาปนึก

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 11 ก.ย 2563 เวลา 17.00 น. • Ruby The Journey
ขอบคุณภาพจาก Urban Creature

‘ทางเท้ามันควรจะเป็นทางที่ คน จะต้องเดิน’

‘ฟุตบาท’ หรือในภาษาอังกฤษคือ Footpath ที่แปลตรงตัวว่า ทางเท้า(ที่มีไว้สำหรับคนเดิน) แต่ทำไมในเมืองไทยของเรา มันถึงประสบปัญหาแผ่นปูนแตก เผลอเหยียบลงไปบางทีต้องวัดดวง น้ำขังปริ๊ดออกมาบ้างละ โคลนบ้างละ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจฟุตบาทไทย ถ้าเดินเล่นโทรศัพท์จนเพลิน มีต้องชนกับตอเหล็กอะไรซักอย่าง หรือไม่ก็เกือบวัดพื้นเพราะเสาไฟฟ้าเป็นแน่ แม้จะเห็นว่ามีการรื้อออ ซ่อมใหม่อยู่บ่อยครั้ง แต่ ‘ฟุตบาทไทย’ ก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้ได้เดินเท้าดี ๆ เสียที

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทางเท้าไทย ดังไกลถึงต่างแดน

ตอนเด็ก ๆ ใครทันเกม Minesweeper บทคอมพิวเตอร์กันมั้ยคะ? เกมคลิกสุ่ม ๆ วัดดวงอย่ากดไปโดนระเบิดไม่งั้นก็แพ้ ฟุตบาทไทยก็เช่นนั้น เพราะเสียงจากโซเชียลที่ยืนยันว่า‘เหมือนเล่นเกมทายกับดักทุ่นระเบิด’ ‘เจอประจำในวันที่ใส่ผ้าใบสีขาว ซักมาใหม่ๆ’ บางคนเจอจนมองออกเลย ‘สังเกตถ้ามันเอียงๆ หรือขอบรอยต่อชื้นๆ นี่ ใช่เลย ถ้ามีคนเหยียบมาก่อนสังเกตไม่ยาก แต่ถ้าฝนหยุดตกใหม่ๆ แล้วแต่ดวง’ ถึงกับมีคนนำภาพฟุตบาทไปทำเป็นเกม Minesweeper ให้ได้แชร์ต่อกันไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครที่เดินถนน ก็คงคิดเหมือนกัน!

MGR Online  " data-width="600" data-height="450">
ภาพฟุตบาทจากคุณ huamei จากข่าว MGR Online 
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เรื่องราวทางเท้าไทย ไม่ได้ถูกพูดถึงแค่ในประเทศ ชาวต่างชาติที่เคยมาเที่ยวไทยก็เจอเข้าให้กับ ‘ฟุตบาท Thailand only’ ถึงกับบัญญัติศัพท์ใหม่ไว้เลยว่า ‘BRICKFLICKED’ ที่หมายความประมาณว่า ทางเท้าของกรุงเทพมหานคร ที่พร้อมจะมีน้ำเน่าพุ่งขึ้นมาเสมอ

MGR Online " data-width="463" data-height="600">
ขอบคุณภาพจาก MGR Online

วัฒนธรรมการเดินเท้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

'ประเทศไทย มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝังกันมาว่า รถยนต์เป็นใหญ่เสมอ เรามีสะพานลอย มากกว่าทางม้าลาย ซึ่งชี้วัดได้ว่าเมืองนี้ เอื้อประโยชน์ให้กับคนขับรถยนต์ มากกว่าคนเดินเท้า' – จากคำให้สัมภาษณ์ของ Goodwalk Thailand

ถ้าย้อนกลับไป วัฒนธรรมการเดิน ที่เราได้เคยอ่านจาก the 101.World เขาสรุปไว้พอเข้าใจว่า ‘สมัยก่อนโน้นลักษณะชุมชนเอื้อให้การเดินเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ละชุมชนจะมีทุกอย่างอยู่ใกล้ๆ อาศัยกันอยู่เป็นแคลน (clan) หรือกลุ่มเครือญาติ ศูนย์กลางของชุมชนอาจเป็นสถานที่ทางจิตวิญญาณ ไม่ก็พื้นที่ส่วนกลางที่คนสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งของกันได้ เช่น ท่าน้ำ เป็นต้น’ นั่นก็คือการจัดโซน วางแผนผังเมืองให้เอื้อกับการเดินถึงกันได้ง่าย ซึ่งมันก็ต้องหวังว่าคนที่สร้างทางเท้า จะเข้าใจกิจวัตร เรียนรู้สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของแต่ละย่านให้เข้าใจจริง ๆ เสียก่อน ถึงจะสร้าง และ ใช้วัสดุที่ทนทานต่อการใช้งานจริง ๆ

Unsplash " data-width="625" data-height="500">
ขอบคุณภาพจาก Unsplash

การเดินเท้า ก้าวแรกสู่การเปลี่ยนเมือง

ฟุตบาทที่เดินไม่ได้ ก็ทำให้เราไม่อยากใช้งาน นำมาซึ่งระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อคนเดินเท้า จึงทำให้เราไปเจอโครงการดี ๆ ที่ดูมีความหวังให้ฟุตบาทไทย ใช้งานได้จริง อย่าง‘GoodWalk’ โครงการที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มุ่งหมายให้เกิดการเดินของผู้คนในพื้นที่เมืองในชีวิตประจำวัน

ในทุกมุมโลกต่างมุ่งเปลี่ยนแปลงให้เมืองของตน ‘Walkable city’ ที่จะคนส่วนใหญ่หันมาเดิน ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ เพราะไม่ใช่แค่พลเมืองจะสุขภาพดี ภูมิทัศน์ของเมืองก็รื่นรมณ์อีกด้วย

Urban Creature " data-width="1535" data-height="1024">
ขอบคุณภาพจาก Urban Creature 

สถาปนิก นึกอะไร?

ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ หัวหน้าโครงการเมืองเดินได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า 'เพราะการเดินเท้าเป็นการสัญจรที่เป็นอิสระมากที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ที่แม้แต่จักรยานก็ยังมีเงื่อนไขในการหาที่จอด คือ การเดินเท้านั้นเป็นการประหยัด ออกกำลังกาย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ทางด้านสังคม เศรษฐศาสตร์ คือ เป็นมิตรกับธุรกิจเล็กๆ ข้างทาง เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระดับท้องถิ่น ทำให้คนสามารถพบปะกับผู้คน พบปะกับสิ่งรอบกาย ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ดังนั้นจึงมีคนพูดกันบ่อยว่าเมืองใดที่ขาดพื้นที่ทางเท้า หรือพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ เมืองนั้นยากที่จะสร้างประชาธิปไตยขึ้นได้ เพราะฉะนั้น "เมืองที่เดินได้และเดินดี" จึงเป็นเมืองที่ดีและเป็นที่มาของโครงการที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม'

workpointTODAY" data-width="816" data-height="428">
ขอบคุณภาพจาก workpointTODAY

ไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นการปรังปรุงภูมิทัศน์ของถนนข้าวสาร ให้มีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น พร้อมตั้งรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด19 ที่จะหายไป ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะมี ‘ฟุตบาที่เดินได้จริง’ จริง ๆ แต่มีหนึ่งสิ่ง นั่นก็คือ อย่าลืมความร่วมใจของชาวไทยเดินเท้าทุกท่าน รักษาฟุตบาทให้ยังคงสวยงาม น่าเดิน จะได้เดินได้เดินดีแฮบปี้กันทุกท่าน : )

- Ruby The Journey

.

อ้างอิง

-MGR Online

- The101.world

-เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ 

-Prachachat

ความเห็น 155
  • Pittaya833
    ถ้ามีองค์กรที่คอยกวาดข้าราชการเข้าเกียร์ว่าง คอร์รับชั่นและพวกที่ไร้ความสามารถออกไปได้จะดีมาก
    11 ก.ย 2563 เวลา 22.29 น.
  • วิรัช
    ทำให้ดีคงทนถาวรไม่ได้ครับ เดี๋ยวงบซ่อมแซมเหลือ คนมาทีหลังจะได้ซ่อมแซมไงครับ รับกันเป็นทอดๆ ไหนจะต้องมีค่่นำ้ร้อนนำ้ชา ค่าอำนวยความสะดวก แล้วแต่ข้าราชการจะเรียก
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.12 น.
  • เมื่อไรไม่มีคอร์ปชั่นเมื่อนั้นประเทศไทยเจริญ เริ่มจากผู้นำก่อน ข้าราชการรอบตัวผู้นำ
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.11 น.
  • M P. เปี๊ยก !
    เช้าชามเย็นชามยังใช้ได้ดีกับ ข้าราชการไทย รวม2ชาม ถุยๆ
    11 ก.ย 2563 เวลา 22.44 น.
  • s
    ชอบบทความนี้ครับ ความเจริญก้าวหน้าประเทศไปได้ไกลเเค่ไหน วัดได้จาก ทางเดิน จริงๆ
    11 ก.ย 2563 เวลา 23.27 น.
ดูทั้งหมด