ไลฟ์สไตล์

โซเดียมไม่ได้มีแค่ในเกลือ... 5 โซเดียมแฝงในอาหารบริโภคให้พอดี ลดเสี่ยงทำร้ายไต

UndubZapp
เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 01.00 น. • อันดับแซ่บ

เมื่อพูดถึง ‘โซเดียม’ เพื่อนๆ นึกถึงอะไรบ้างคะ? UndubZapp เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ต้องตอบว่า… เกลือ น้ำปลา ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมซองๆ ตัวการทำให้บวมน้ำ และตัวการทำให้เกิดโรคไตเป็นแน่ แต่เพื่อนๆ ทราบไหมคะว่า โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่แฝงตัวอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด ไม่ได้จำเพาะเจาะจงอยู่แค่ในอาหารรสเค็มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาหารที่มีโซเดียมสูงบางชนิดอาจมีรสเค็มน้อยมาก หรือไม่มีรสเค็มเลยก็ได้ ดังนั้น เพื่อนๆ จึงควรทำความรู้จักโซเดียมแฝงเหล่านี้ไว้ เพื่อควบคุมและป้องกันการรับประทานโซเดียมในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย โซเดียมคืออะไร? โซเดียม (Sodium) คือ แร่ธาตุสำคัญชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำภายในร่างกายให้เกิดความสมดุล รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ แม้ว่าโซเดียมจะเป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย แต่ร่างกายกลับไม่สามารถสร้างโซเดียมขึ้นเองได้ จะได้รับโซเดียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น ปริมาณโซเดียมที่สามารถบริโภคได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ คือ 2,000 มิลลิกรัม/วัน (คิดเป็นเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา) การบริโภคโซเดียมมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมน้ำตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดภาวะบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง เร่งภาวะไตเสื่อม และยังนำไปสู่ภาวะต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย โซเดียมแฝงคืออะไร? โซเดียมที่อยู่ในส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่ไม่ใช่เกลือ อาจไม่มีรสเค็ม แต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกับโซเดียม ทำให้หลายๆ คนบริโภคเข้าไปในปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่า โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย จึงสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถรับประทานโซเดียมได้เลย การให้ความรู้เรื่องโซเดียมแฝงข้างต้น เหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไต รวมถึงผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดการบวมน้ำ ถ้าพอจะทราบความสำคัญและโทษของโซเดียมแล้ว ก็ควรจำกัดการรับประทานโซเดียม และดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โซเดียมแฝงในอาหารมีอะไรบ้าง?  

1.โซเดียมไนไตรท์ ใน ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แหนม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วัตถุเจือปนอาหารซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลก คุณสมบัติเด่น คือ ทำให้เนื้อสัตว์นุ่ม ตรึงสีของเนื้อสัตว์ให้มีสีแดงน่ารับประทาน ช่วยป้องกันและยับยั้งการเน่าเสีย ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมไนไตรท์ ได้แก่ ไส้กรอก แฮม เบคอน โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง แหนม ปลาแห้ง ปลาร้า ©pixels.com

2.โซเดียมอัลจิเนต ในเจลลี่ ไข่มุก ไอศกรีม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล คุณสมบัติเด่น คือ ทำให้เกิดการคงตัว ทำให้อาหารที่ถูกผสมมีลักษณะข้น หนืด หรือเป็นเจล จัดอยู่ในสารประเภทเดียวกับพวกผงวุ้น เจลาติน คาราจีแนน สามารถใช้เป็นสารคงตัวให้กับไอศกรีมได้ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมอัลจิเนต ได้แก่ ไอศกรีม เส้นแก้ว ไข่มุก เจลลี่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผง ©pixels.com

3.โซเดียมไบคาร์บอเนต ในคุกกี้ โดนัท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ ผงฟู คุณสมบัติเด่น คือ ใช้เป็นสารช่วยให้ขึ้นฟูในขนมปัง เค้ก และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แทบทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต ได้แก่ ขนมปัง เค้ก คุกกี้ โดนัท แป้งสำเร็จรูป ©pixels.com

4.โซเดียมเบนโซเอต ในซอสปรุงรส แยมผลไม้

สารเติมแต่งอาหารซึ่งแฝงอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด คุณสมบัติเด่น คือ ใช้เป็นสารกันเสีย ยืดอายุอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารให้เก็บไว้ทานได้นานยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมเบนโซเอต ได้แก่ ซอสปรุงรส น้ำสลัด ผลิตภัณฑ์ผลไม้บด ผลิตภัณฑ์ผลไม้กวน ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ทำไส้ขนม แยม มาร์มาเลด ©pixels.com

5.โซเดียมซอร์เบต ในเนยเทียม 

วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เป็นสารกันเสียหรือสารกันบูด คุณสมบัติเด่น คือ ยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมซอร์เบต ได้แก่ สารกันเสียในชีส เนยเทียม และเครื่องดื่ม ©pixels.com ©รูปต้นฉบับ  unsplash.com ไม่พลาดไอเดียการดูแลสุขภาพดีๆ ได้ทุกวัน  กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • Pattie
    ซอสปรุงรส แบบผง แบบน้ำ ที่ใช้ส่วนใหญ่ อย่างอื่นไม่ค่อยได้กิน
    01 มิ.ย. 2563 เวลา 07.36 น.
  • ชีวิตจะเลือกกินอะไรได้เนี้ย
    01 มิ.ย. 2563 เวลา 07.09 น.
  • So
    ถ้าจะเลี่ยงสารเหล่านี้ ต้องกินแต่ของสดเท่านั้น ไม่กินอาหารสำเร็จรูป
    01 มิ.ย. 2563 เวลา 07.42 น.
ดูทั้งหมด