ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผลสำรวจชี้ “คน Gen Z” ให้ความสำคัญกับการนำเงินไปใช้จ่ายด้านการ “ท่องเที่ยว” มากกว่าเอาไปซื้อของ

Positioningmag
อัพเดต 19 ก.ค. 2562 เวลา 17.55 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2562 เวลา 05.01 น.

Gen Z คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 16-24 ปี เป็นกลุ่มที่จะมากำหนดเทรนด์ในอนาคต กำลังอยู่ในวัยที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และออกไปสำรวจโลกกว้าง ทำให้มีการคาดเดาเกี่ยวกับคน Gen Z และพฤติกรรมของคนรุ่นนี้ ตลอดจนมุมมองต่อเรื่องต่างๆ ในโลกที่เชื่อมโยงถึงกันมากขึ้นและการเดินทางเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม

Booking.com จึงได้ทำการสำรวจข้อมูลทั่วโลกจากผู้เดินทาง Gen Z เกือบ22,000 คนใน29 ประเทศ/ภูมิภาค เกี่ยวกับความต้องการและสิ่งจำเป็นของผู้เดินทาง โดยผลที่พบไม่ได้มีเพียงแผนการเดินทางเท่านั้น แต่ยังโยงไปถึงมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับชีวิตของคนรุ่นนี้อีกด้วย โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักผจญภัยใจมุ่งมั่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้คน Gen Z จะเพิ่งก้าวผ่านจากวัยเด็ก แต่ส่วนใหญ่แล้วก็รู้แน่นอนว่าตัวเองต้องการอะไร และมีแผนเดินทางตามที่ตั้งเป้าไว้เรียบร้อยแล้ว: 

  • คน Gen Z มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเดินทาง โดย67% รู้สึกตื่นเต้นกับทุกที่ที่จะได้ไปเยือนในอนาคต
  • 4 ใน10 (39%) วางแผนที่จะไปเยือนอย่างน้อย3 ทวีปในช่วง10 ปีนับจากนี้ และ30% ตั้งใจว่าจะไปเรียนหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศ(ผู้หญิง34% และผู้ชาย26%)
  • คน Gen Z เป็นนักเดินทางขาลุย โดย56% ต้องการประสบการณ์ผจญภัยตอนไปเที่ยว เช่น เล่นพาราไกลดิ้ง บันจี้จัมพ์ และ52% วางแผนว่าจะไปเที่ยวหรือเดินป่าในพื้นที่สุดท้าทาย
  • คน Gen Z ยังเป็นวัยที่สนใจพัฒนาทักษะของตนเองมากที่สุด ผ่านการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ระหว่างที่เดินทางในช่วง10 ปีนับจากนี้(33%)
  • คน Gen Z ไม่เพียงต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เท่านั้น แต่55% ของคนรุ่นนี้เลือกท่องเที่ยวในประเทศของตนเองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

พร้อมลุยเดี่ยว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ชาว Gen Z จำนวนมากเริ่มเดินทางท่องเที่ยวโดยไปกับครอบครัว โดย2 ใน5 (42%) กล่าวว่าที่ต้องไปกับครอบครัวก็เพราะทำให้ได้ไปทริปที่ถ้าไปเองก็คงมีงบไม่พอ แต่เมื่อถึงเวลาที่พร้อมโบยบินออกจากรัง คน Gen Z ก็ต้องการที่จะลุยเดี่ยว

  • ความเป็นอิสระเป็นสิ่งหนึ่งที่คนรุ่นนี้ให้ความสำคัญ โดยกลุ่มคน Gen Z วางแผนว่าจะเดินทางคนเดียวอย่างน้อยสักครั้งภายในช่วง10 ปีข้างหน้า(ผู้หญิง36% และผู้ชาย32%)
  • กลุ่มคน Gen Z มีความต้องการที่จะ“ลุยเดี่ยว” โดย1 ใน3 (33%) ชอบอยู่คนเดียวเป็นส่วนใหญ่ตอนที่เดินทาง(มีสัดส่วนมากกว่าคนวัยอื่นๆ ทั้งหมด) 18% อยากไปแบ็คแพ็คคนเดียวหรือไปเที่ยวคนเดียวหลังเรียนจบ(gap year) 

ลิสต์จุดหมายห้ามพลาดเมื่อเดินทางไว้แล้ว

ผู้เดินทาง Gen Z กว่า2 ใน3 (69%) ลิสต์สิ่งที่อยากทำและสถานที่ที่อยากไปสักครั้งในชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว โดยตัวเลขพุ่งสูงถึง74% ในกลุ่มสาวๆ Gen Z ในขณะที่ของหนุ่มๆ นั้นอยู่ที่64%  ทั้งนี้เหตุผลที่คนรุ่นนี้มีลิสต์สิ่งที่ห้ามพลาดเมื่อเดินทางนั้นต่างกันออกไป:

  • ช่างฝัน: คนรุ่นนี้มากกว่า2 ใน5 (44%) กล่าวว่าทำลิสต์ขึ้นมาเพราะรู้สึกสนุกกับการจินตนาการถึงทุกที่ที่จะได้เดินทางไปต่อจากนี้
  • มีลิสต์ยาวไม่รู้จบ: เกือบ1 ใน4 (23%) กล่าวว่ารู้สึกพอใจหากได้ไปเยือนสถานที่ในลิสต์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะได้เพิ่มจุดหมายอื่นๆ ลงในลิสต์อีก นอกจากนี้32% ยังวางแผนว่าจะไปออกทริปตามลิสต์อย่างน้อย5 ครั้งภายใน10 ปีนับจากนี้ 
  • ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายยอดเยี่ยม: เกือบ1 ใน4 (23%) กล่าวว่าการมีลิสต์สิ่งที่ห้ามพลาดช่วยให้ได้รู้จักจุดหมายการเดินทางอันน่าทึ่งไปจนถึงจุดหมายที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
  • ได้แรงบันดาลใจจากไอจี: 44% ได้แรงบันดาลใจให้ออกไปผจญภัยจากการเห็นอินฟลูเอนเซอร์แชร์ภาพทริปผ่านสื่อออนไลน์ เช่น อินสตาแกรม(ไอจี)

การที่คนรุ่นนี้มีลิสต์สิ่งที่ห้ามพลาดนั้นไม่เพียงเผยให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังที่ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาพรวมพฤติกรรมการเดินทางของคนรุ่นนี้อีกด้วย อันที่จริงแล้วมีคน Gen Z 31% ที่ยังไม่มีลิสต์นี้ ซึ่งเหตุผลที่ไม่มีก็แตกต่างกันไป เช่น:

  • 22% รู้สึกว่าความชื่นชอบของตนเองเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ ซึ่งส่งผลต่อจุดหมายที่อยากไป
  • 1 ใน5 (20%) ให้เหตุผลว่าต้องการเดินทางตามความรู้สึกในขณะนั้นมากกว่าและไม่อยากวางแผนล่วงหน้า
  • แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ คน Gen Z ที่กล่าวว่าไม่มีลิสต์สิ่งที่ห้ามพลาดเพราะอยากไปเที่ยวตามความรู้สึกในขณะนั้น กลับมีเปอร์เซ็นต์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนรุ่นอื่นๆ
  • ในบรรดาคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์(55 ปีขึ้นไป) 49% ที่ไม่มีลิสต์จุดหมายห้ามพลาดนั้น มีถึง3 ใน10 (30%) ที่ให้เหตุผลว่าเพราะต้องการเดินทางตามความรู้สึกในขณะนั้นมากกว่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มช่วงอายุทั้งหมดที่เข้าร่วมการสำรวจ ส่วนคนรุ่นมิลเลนเนียลส์(25-39 ปี) ก็ต้องการเดินทางตามความรู้สึกในขณะนั้นมากกว่าคน Gen Z เช่นกัน(26%)

การเดินทาง vs. เป้าหมายชีวิต

คน Gen Z เติบโตมาในโลกที่ความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจของโลกแทบกลายเป็นเรื่องปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น หากทำความเข้าใจกับมุมมองด้านการเงินของคนรุ่นนี้(โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า คนรุ่นนี้มีแผนที่จะใช้เงินอย่างไรในช่วง 5 ปีนับจากนี้) ก็จะช่วยให้เข้าใจมุมมองโดยรวมเกี่ยวกับชีวิตของคนเจเนอเรชันนี้

คน Gen Z จำนวน 6 ใน 10 (60%) มองว่าการลงทุนกับการเดินทางท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่คุ้มค่าเสมอ และเมื่อจัดลำดับสิ่งที่คนรุ่นนี้จะนำเงินไปใช้จ่าย ผลปรากฏว่า“ออกเดินทางไปสำรวจโลกกว้าง” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 1 ของคนรุ่นนี้(65%) ส่วนการเก็บเงินเพื่อ“การลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต” (ซื้ออสังหาริมทรัพย์) มาเป็นอันดับ 2 แต่ที่น่าสนใจคือ การใช้เงินซื้อของต่างๆ กลับอยู่ในอันดับท้ายสุด

เจาะลึกลำดับความสำคัญของ Gen Z

เมื่อถามถึงลำดับความสำคัญของสิ่งที่คน Gen Z จะนำเงินไปใช้จ่าย การเดินทางท่องเที่ยวมาเป็นอันดับแรกในตัวเลือก5 ใน7 ของ Gen Z โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการซื้อสิ่งของหรือใช้เงินไปกับประสบการณ์ที่เพลิดเพลินได้เพียงชั่วขณะ โดยการเดินทางอยู่ในอันดับสูงกว่าสิ่งต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น อุปกรณ์ไอทีและแกดเจ็ตต่างๆ การไปทานอาหารตามร้าน รวมถึงสปาทรีทเมนท์และทรีทเมนท์เสริมความงาม  

ไม่ขอประจำอยู่ที่ออฟฟิศ

คน Gen Z มองว่าการทำงานเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในชีวิต ไม่ว่าจะกำลังอยู่ในช่วงหางานหรือเริ่มทำงานแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่คนรุ่นนี้จะจัดอันดับให้การได้งานเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิต(80%) แต่เพราะการเดินทางท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่คนเจเนอเรชันนี้ให้ความสนใจอย่างมาก นายจ้างที่มีโอกาสรับคนกลุ่มนี้เข้าทำงานก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย

โดยคน Gen Z ถึง54% กล่าวว่าสิ่งสำคัญเวลาเลือกงานก็คือ จะต้องมีโอกาสได้เดินทางไปทำงานที่อื่น นอกจากนี้เกือบ6 ใน10 (57%) ยังกล่าวอีกว่างานที่เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสวัฒนธรรมอื่นๆ เป็นงานที่น่าดึงดูด

สำหรับการสำรวจข้อมูลนี้เป็นงานวิจัยอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจาก Booking.com ซึ่งสอบถามกลุ่มตัวอย่าง21,807 คนที่มีอายุตั้งแต่16 ขึ้นไป(25% อยู่ในช่วงอายุ16-24 ปี) ใน29 ประเทศ/ภูมิภาค(ประเทศ/ภูมิภาคที่มีผู้เข้าร่วม1,000 คน ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี จีน บราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย อินโดนีเซีย โคลอมเบีย และเกาหลีใต้ ส่วนประเทศ/ภูมิภาคที่มีผู้เข้าร่วม600 คน ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไทย อาร์เจนตินา เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฮ่องกง โครเอเชีย ไต้หวัน เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สิงคโปร์ และอิสราเอล) การสำรวจข้อมูลมีขึ้นในระหว่างวันที่1 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยเป็นแบบสอบถามทางออนไลน์ การสำรวจและคัดผู้เข้าร่วมทั้งหมดดำเนินการโดย Vitreous World และวิเคราะห์ข้อมูลโดยKetchum Analytics เว้นแต่จะระบุเป็นอื่น.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Kanitta (Tak) 🎆
    น่าเป็นห่วงมีแต่เทรนด์ใช้เงิน แต่ขาดเรื่องงกสรลงทุน ถ้าเศรษฐกิจทรุด แดกแกลบกันแน่ๆ
    20 ก.ค. 2562 เวลา 08.24 น.
  • €¥£
    เที่ยว ส่วนใหญ่คือไปเช็คอิน เซลฟี่กับแลนด์มาร์ค ถามว่าไปทำไม มีอะไรเด็ด ประวัติ ที่มาที่ไป คำตอบคือ...ไม่รู้ รู้แค่คู่มือบอก โปรชัวร์บอก ไปตามแฟชั่น เห็นเค้าไปก็ไป ถ้าฮิตต้องรีบไป เดี๋ยวตกเทรนด์ ไปแปบๆ ร้อน เหนื่อย กลับ ไปมาแล้ว ถ่ายรูปแล้ว โพสเฟส IG คนกดไลค์ ฟิน จบ
    20 ก.ค. 2562 เวลา 12.24 น.
  • eka
    งานไม่หนักไม่เอา งานเบาไม่สน ไม่ได้หน้าไม่ทำ โยนเก่ง เที่ยวบ่อย แต่ไม่พัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์ขึ้นเลย นี่คือความจริง
    20 ก.ค. 2562 เวลา 09.04 น.
  • Jida
    เรา Gen X ก็ชอบเที่ยวมากกว่าซื้อของเหมือนกัน
    20 ก.ค. 2562 เวลา 15.01 น.
  • Tickety-Boo!!!🐈
    ซื้อของดีกว่า..ขี้เกียจเที่ยว.​ รอหน้าเทศกาลก็พอ!!!😁
    20 ก.ค. 2562 เวลา 10.57 น.
ดูทั้งหมด