ทั่วไป

โควิด-19 ตัวเร่ง อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร หันใช้ระบบอัตโนมัติ แทนคน

The Bangkok Insight
อัพเดต 25 มิ.ย. 2563 เวลา 17.30 น. • เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2563 เวลา 00.30 น. • The Bangkok Insight

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ใช้ระบบ Automation ลดพึ่งพาแรงงาน พร้อมยกระดับมาตรฐาน อาหารปลอดภัย แนะพัฒนาคน ทำงานร่วมกับเครื่องจักร

การนำ ระบบอัตโนมัติ มาใช้ใน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร นอกจากจะลดความเสี่ยงด้านการผลิต อันเกิดจากการใช้แรงงานคนแล้ว ยังมีส่วนช่วย ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ด้านการผลิตอาหารให้สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค ในด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การนำระบบอัตโนมัจิ มาใช้งานใน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร จะทำให้ลดจำนวนแรงงานลงได้ เฉลี่ยราว 11.2 คนต่อทุกเงินลงทุน 1 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาด Automation สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในไทย เติบโตราว 4.6% ต่อปี และมีส่วนทำให้การจ้างงาน ลดลงกว่า 5.5% ต่อปีเช่นเดียวกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมักใช้ระบบเครื่องจักร ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) มาใช้งานมากกว่าระบบ หุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต (IRA) เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าถึง 4 เท่า และมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตอาหารแปรรูปมายาวนาน

ขณะที่ระบบ IRA แม้จะแพงกว่า แต่สามารถทำงานที่ยืดหยุ่น และละเอียดอ่อน ซึ่งต้องอาศัยทักษะของ แรงงานคน สามารถแก้ไขปัญหาคอขวด ในสายการผลิตตรงจุดที่ต้องใช้แรงงาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดังนั้น ระบบ IRA จึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ ที่จะยกระดับการผลิต โดยนำระบบ IRA มาทดแทน แรงงานคน ควบคู่ไปกับ การใช้ระบบ CNC เพื่อเสริมสายพานการผลิตแบบอัตโนมัติให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

แม้ว่าการใช้ระบบ อัตโนมัติ (Automation) ในกระบวนการผลิต จะเป็นการลดการใช้ แรงงานคน โดยรวม แต่ก็ยังคงมีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ แรงงานคน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมระบบ ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการผลิต รวมไปถึง การซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบ

การเปลี่ยนแปลงบทบาท ของแรงงานดังกล่าว ทำให้การพัฒนาฝีมือ แรงงานคน ให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ อัตโนมัติ (Automation) ได้ จึงเป็นกุญแจสำคัญ ที่ควรจะมีการบูรณาการ ตั้งแต่ภาคการศึกษา ไปจนถึงผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรม

สำหรับ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร นับเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญอย่างสูง ต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรม ที่ใช้จำนวนแรงงานมาก มีมูลค่าการลงทุน สูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่ม สูงที่สุด และมีการลงทุน ด้านวิจัยและพัฒนา สูงที่สุด เมื่อเทียบกับสาขาต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรม การผลิตไทย

ปัจจุบัน มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้แก่ 1. ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัย และความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้น จากผู้บริโภคอาหาร 2. การเพิ่มขึ้น ของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีน

ดังนั้น ประเทศไทย สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นโอกาสในการยกระดับ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐาน ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ

  • อุตสาหกรรมวิจัย และผลิตโภชนาการ เพื่อสุขภาพอาหาร ที่มีการเติมสารอาหาร (Fortified Foods)

  • การผลิตอาหารไทยไขมันต่ำ อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และน้ำตาลต่ำ เป็นต้น

จากการเปลี่ยนแปลง ของอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มแปรรูป หรือภาคอุตสาหกรรม จึงทำให้ผู้ประกอบการ ต้องเร่งปรับตัวรับมือ ทั้งการนำเครื่องจักร หรือ ระบบอัตโนมัติ ตลอดจน หุ่นยนต์ มาแทนแรงงานคน รวมทั้งต้องปรับตัว เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • Teerawat
    แปลกตรงไหน?
    26 มิ.ย. 2563 เวลา 02.05 น.
  • หื่นHมื่นHลี้🌈💲🐷💣💖💋☠
    เบาหวาน,ความดัน, มะเร็ง,โรคไต ตามมาอีกเพียบ
    26 มิ.ย. 2563 เวลา 02.01 น.
  • Khunkea999
    อืม ตกงานกันเข้าไปอีก ต้องออกกฎหมายคุมเรื่องนี้ละมั้ง
    26 มิ.ย. 2563 เวลา 01.34 น.
ดูทั้งหมด