ทั่วไป

โซเชียลคึกคักหนุนแฮชแท็ก ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังสภาเปิดรับความเห็นแก้กม.

TODAY
อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 08.32 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 03.46 น. • workpointTODAY

โซเชียลไทยตื่นตัว หลังสภาเปิดรับฟังความเห็น แก้ไขร่างกฎหมาย เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม กลายเป็นเทรนด์นิยมในทวิตเตอร์ไทย ต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 ก.ค. หลังจากมีผู้เชิญชวนให้ชาวโซเชียลร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไข กฎหมายสมรส เพื่อให้บุคคลเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งมีการเสนอให้ปรับถ้อยคำจาก 'ชาย' 'หญิง' เป็น 'ผู้หมั้น' 'ผู้รับหมั้น' เปลี่ยนจากคำว่า 'สามี' 'ภรรยา' เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 'คู่สมรส' เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ

โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ เป็นผู้เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป บรรพ 5 ครอบครัวและบรรพ 6 มรดก

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- ขอแก้ไขให้บุคคลทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

- เมื่อบุคคลหมั้นหรือสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเดิมกำหนดว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส

- ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา เปลี่ยนเป็นใช้คำว่า ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- การแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว่า สามีและภรรยา เป็นคำว่า คู่สมรส

สำหรับประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย

- ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น 'เพศเดียวกัน' และ 'ต่างเพศ' สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่

- ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น 'เพศเดียวกัน' หรือ 'ต่างเพศ' สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่

- ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปหรือไม่

- ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศ มีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่

ผู้สนใจตอบแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่เว็บไซต์ : https://www.parliament.go.th/section77/

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 51
  • Pukboong
    จากที่อ่านเม้นยังมีคนแอบเหยียดเพศอยู่แหระ แต่ไม่กล้าพูดออกมาตรงๆ เห้ออ
    10 ก.ค. 2563 เวลา 05.09 น.
  • Ning S.V.
    เราเป็นคนรุ่นเก่าแต่เห็นด้วยจ้ะ
    09 ก.ค. 2563 เวลา 05.15 น.
  • เบญจพร
    พวกประเทศที่ว่าเจริญแล้วไม่เหยียดเพศ แต่เหยีบดผิว นี่มันดีกว่าตรงไหน แปลกพิลึก
    08 ก.ค. 2563 เวลา 17.29 น.
  • เบญจพร
    ขออนุญาต social distancing กับคนกลุ่ม LGBTQ
    08 ก.ค. 2563 เวลา 17.00 น.
  • สมนัส
    ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง กม.เดิมคู่สมรสชายจริงหญิงแท้ดี เข้าใจง่าย ไร้ปัญหา
    07 ก.ค. 2563 เวลา 12.04 น.
ดูทั้งหมด