ไลฟ์สไตล์

เรื่องเล่าจาก 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

MThai.com - Teen
อัพเดต 26 ต.ค. 2560 เวลา 06.14 น. • เผยแพร่ 25 ต.ค. 2560 เวลา 23.00 น.
ทีนเอ็มไทยได้มีโอกาสร่วมเสวนากับนักเรียนทุนของพ่อ ถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่๙ ที่ทรงพระราชทานทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาสาขาต่างๆ

ทีนเอ็มไทยได้มีโอกาสร่วมเสวนากับนักเรียนทุนของพ่อ ถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระราชทานทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาสาขาต่างๆ ไปศึกษาเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ เพื่อจะได้กลับมาทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตัวเองสนใจและได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยได้ตัวแทน 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดลมาเล่าเรื่องราวและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้อง นิสิต นักศึกษา โครงการ Learn & Earn ของ KTC ในการทำความดีต่อไป ดังนี้

ดร.เจน ชาญณรงค์ ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2532

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดร. กฤชชลัช ฐิติกมล ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2533

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผศ.ดร. วรภรรณ เรืองผกา ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541

ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2548

เรื่องเล่าจาก 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ความยากง่ายกว่าจะมาเป็นนักเรียนทุนได้ มีวิธีการอย่างไรบ้าง

-จะต้องมีผลการเรียนที่ดี ประพฤติตนดี มีคุณธรรม และได้รับการคัดเลือกหรือเสนอชื่อจากกรรมการแผนกต่างๆ หลังจากนั้นเข้ารับการสัมภาษณ์ และรอผลประกาศรายชื่อ

ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

มูลนิธินี้ไม่มีการสอบคัดเลือก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขารวม 8 สาขา สรรหาผู้สมควรได้รับพระราชทานทุน นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชี้ขาด ปัจจุบัน มูลนิธิอานันทมหิดล ได้พระราชทานทุนการศึกษาครอบคลุมทั้งสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแยกเป็นแผนกต่างๆ จำนวน 8 แผนก ได้แก่

  • แผนกแพทยศาสตร์
  • แผนกวิทยาศาสตร์
  • แผนกวิศวกรรมศาสตร์
  • แผนกเกษตรศาสตร์
  • แผนกธรรมศาสตร์
  • แผนกอักษรศาสตร์
  • แผนกทันตแพทยศาสตร์
  • แผนกสัตวแพทยศาสตร์

ทุนนี้แม้ไม่ได้มีการผูกมัดใดๆ แต่หลังจากศึกษาจบแล้ว จะนำความรู้กลับมาต่อยอดอย่างไรหรือไม่

– การที่ได้รับทุนนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ฉะนั้นในฐานะที่ผมเป็นคนไทยคนนึง เป็นลูกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เราต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณ เมื่อเราได้โอกาสศึกษาต่อแล้ว เราต้องไม่ลืมนำความรู้ความสามารถของเรานั้นกลับมาทำให้ประเทศเราเจริญก้าวหน้าต่อไป ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม กล่าว

แนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ข้อไหนที่นำมาปรับใช้ในชีวิประจำวัน

-ดร. กฤชชลัช : ยึดหลักการทรงงาน บริหารงาน ความเพียรของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะหลักการ 23 ข้อสรุปโดยอาจารย์เกษม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างดี

-ผศ.ดร. วรภรรณ : ยึดหลักความพอเพียง การประหยัด และการทำงานช่วยเหลือครอบครัว ยืดหยัดด้วยตัวเอง เหมือนดั่งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเคยตรัสกับพระองค์ท่านว่า ถ้าอยากได้ของเล่นจะต้องเก็บเงินซื้อเอง และอีกหนึ่งข้อ คือ คุณธรรมจะต้องนำความรู้

-ดร. ปัญญา : ยึดหลักธรรมแบบอย่างในเรื่องของความเพียรพยายาม พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำริว่า คนเราถ้าอยากจะทำอะไรให้สำเร็จ ต้องมีความอดทน มีความเพียร ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเรายอมแพ้ เราก็จะหยุดอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราอดทนทำต่อไป เราก็จะสามารถถึงจุดหมายที่เราตั้งใจไว้ รวมไปถึงความสามัคคี ต่อให้เรามีความรู้ความสามารถเพียงใดก็ตาม แต่ถ้ามีแค่คนคนเดียวก็ไม่สามารถทำได้ และเมื่อได้ศึกษาต่อในระดับสูงแล้ว เราจะต้องมีความยืดยุ่นไม่ยึดหลักตำรามากเกินไป แต่ต้องเข้าใจความเป็นจริงด้วย เพื่อจะได้นำความรู้มาใช้ให้เหมาะสม

ฝากข้อคิดถึงเด็กๆ รุ่นใหม่

-ดร.เจน ชาญณรงค์ : จะต้องรู้จักเริ่มวางแผนชีวิต ไม่ใช่วางยาวไปถึงอายุ 50-60 ปี แต่ควรวางแผนในระยะ 3 ปีใกล้ๆ นี้ก่อนว่าเราจะทำอะไร และรู้จักหน้าที่ของตัวเองและทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด

-ดร. กฤชชลัช : ผมคิดว่าเรื่องการจัดการชีวิต ยังไม่มีใครสอน โดยเฉพาะนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ คุณจะต้องเผชิญสิ่งแรกเลยคือการทำงาน การมีระเบียบวินัยกับตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ และอย่าท้อถอย

-ผศ.ดร. วรภรรณ : สำหรับหน้าที่การเป็นนักศึกษา อยากให้เรียนด้วย ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อตัวเอง เพื่อพ่อแม่พี่น้อง และเพื่อพ่อหลวงของเรา แม้ว่าในชีวิตบทบาทเราจะเปลี่ยนไปเรื่อย แต่มีบทบาทหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปเลยก็คือ บทบาทการเป็นลูกของพ่อแม่ ของพ่อหลวง สิ่งนี้จะทำให้เรามีความกตัญญู มีคุณธรรม รู้คุณพ่อแม่ รู้คุณแผ่นดิน รู้คุณพระเจ้าแผ่นดิน และต้องมีความซื่อสัตย์ให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

-ดร. ปัญญา : ผมอยากเสริมเรื่องการเปลี่ยนความรักที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ให้เป็นการกระทำในทุกๆ ที่ที่เราทำได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำหน้าที่อะไร ขอให้ทำให้เต็มที่ ทำด้วยความตั้งใจ ทำด้วยความรัก ทำเพื่อส่วนรวม

ทั้งนี้ สำหรับโครงการ Learn & Earn ของ KTC ปัจจุบันมีนิสิตนักศึกษา จำนวน 110 คนและได้รับการบรรจุเป็นพนักงานเคทีซีแล้วกว่า 300 คน ที่ผ่านมามีนิสิตนักศึกษาสนใจสมัครเข้าร่วมในโครงการฯ ทั้งหมดกว่า 25,000 คน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • nid
    ขอให้นักเรียนทุนทุกคนได้ตระหนักถึงบุญคุณของพระองค์และตอบแทนบุญคุณต่อแป่นดินด้วย
    22 ต.ค. 2560 เวลา 00.07 น.
  • Dæng
    ต้องเรียกคุณนพดล ปัทมะมาแสดงความคิดเห็นด้วย อยากรู้เขาจะพูดอย่างไร สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของทูลกระหม่อม และประเทศชาติบ้างไหม หรือสำนึกในบุญคุณของคนบางตระกูลเท่านั้น
    21 ต.ค. 2560 เวลา 13.54 น.
  • Charuvan
    นพดล ปัทมะ ก็เป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดลด้วยใช่ไหมคะ
    21 ต.ค. 2560 เวลา 13.34 น.
ดูทั้งหมด