ไอที ธุรกิจ

กสทช.ชี้ประมูลคลื่น 5G ต้องราคาถูก

Manager Online
อัพเดต 17 ต.ค. 2561 เวลา 08.32 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2561 เวลา 08.32 น. • MGR Online

กสทช. เผยการประมูล 5G ต้องราคาถูก เหตุโอเปอเรเตอร์ยังไม่สนเทคโนโลยีนี้ มั่นใจคลื่นที่มีอยู่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ดังนั้นรัฐบาลต้องสนับสนุนให้เกิดไม่เช่นนั้นจะตกขบวน 5G ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องเตรียมสนับสนุนเงินสำหรับแรงงานที่จะตกงานจากการมาของเทคโนโลยีด้วย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่น กำหนดการเกิด 5G ในปี 2563 ส่วนประเทศไทยก็ต้องเร่งให้เกิดพร้อม ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคนที่จะทำให้เกิดคือรัฐบาล ไม่ใช่โอเปอเรเตอร์ เพราะไม่มีใครต้องการ5G โอเปอเรเตอร์เห็นว่าคลื่นที่มียังสามารถให้บริการกับผู้บริโภคได้อยู่และเพียงพอ ไม่ได้ต้องการความเร็วระดับ 5G จึงคิดว่าไม่ได้ประโยชน์ในการให้บริการที่จำเป็นจะต้องลงทุนสูง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดังนั้นภาคองค์กรธุรกิจ มากกว่าที่ต้องการความเร็วสูงระดับ 5G ในการใช้บริการ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องสนับสนุน กระตุ้นให้โอเปอเรเตอร์มาสนใจลงทุน ราคาประมูลคลื่นต้องถูก และต้องหามาตรการในการช่วยลดภาระให้กับโอเปอเรเตอร์ เช่น มีมาตรการทางภาษี เป็นต้น

นายฐากร กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G มีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ก็จริง แต่สิ่งที่ทั่วโลกกังวลก็มี นั่นคือ การตกงานของแรงงานคน ที่จะถูกเทคโนโลยีมาแทนที่ ซึ่งหลังจากการประชุมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) พบว่า การเข้ามาของ 5G นั้น คนจะตกงาน 10-30% แม้จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคน แต่กับคนอายุมากจะสามารถทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นหรือไม่ รัฐบาลต้องหาแนวทางในการดูแลรายได้ให้กับคนกลุ่มนี้

เมื่อ 5G เข้ามาในไทยจะกระทบภาคการผลิตในไทย 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ภาคการผลิต ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหมวดใช้แรงงานถึง 30-40% ในการผลิต 2. ภาคการเงินการธนาคาร โดยธนาคารจะต้องปิดตัวลงเรื่อยๆ และ 3. ภาคการแพทย์ สาธารณสุข ที่จะต้องปิดตัวลงเช่นกัน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีในการรักษาทางไกลได้ นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวก็จะโดนกระทบเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

'หาก 5G ไม่มา ก็จะกระทบต่อการส่งออก แต่เมื่อมาแล้ว ก็กระทบแรงงาน เรื่องนี้เป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องรับมือกับเรื่องนี้ คนอายุมาก จะตามเทคโนโลยีไม่ทัน ที่ผ่านมา กสทช.ก็ใช้เงินUSO ในการพัฒนาทักษะให้บุคลากร เช่นกัน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้บรรจุเรื่องการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล ลงในแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี ด้วย เรื่องนี้ต้องคิดพร้อมกัน เพราะทั่วโลกก็กังวล เราก็ต้องรับมือให้ได้ ' นายฐากร กล่าว

ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช.จะช่วยสนับสนุนเรื่องการประมูลคลื่นความถี่โดยมีราคาเริ่มต้นที่ถูกลง และเปิดประมูลคลื่นความถี่หลายคลื่นพร้อมกัน ทั้งย่านความถี่ ต่ำ กลาง สูง โดยประเมินราคาจากทั่วโลก ซึ่งกสทช.ยังมีเวลาคิดอีก 2 ปี

ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ ประมูล 5G ในรูปแบบที่นำคลื่นความถี่ย่านสูง คือ คลื่นความถี่ 28 GHz มาประมูลพร้อมกับคลื่นความถี่ย่านกลาง คือ คลื่นความถี่ 3.5 GHz โดยราคาย่านสูง ราคาอยู่ที่ 6,100 ล้านบาทต่อ800 MHz และย่านกลาง ราคาอยู่ที่ 36,000 ล้านบาทต่อ100 MHz

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

'5G ไม่ควรมีโอเปอร์เรเตอร์เป็นเจ้าของ เพราะคลื่นที่ใช้ต้องผสมผสานกัน คนประมูลก็เป็นคนมีใบอนุญาตประเภทที่สาม การประมูล ต้องกำหนดราคาที่ถูก ซึ่งต้องศึกษาราคาอีกครั้งหนึ่ง ไม่เช่นนั้น จะไม่มีใครมีเงินลงทุน เท่ากับว่าเราจะไม่ทันประเทศอื่น เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องแทรกแซง เพราะอินเทอร์เน็ตจะเป็นเหมือนน้ำ ไฟ มันจะแพงไม่ได้'

ส่วนเรื่องผลกระทบด้านแรงงาน อาจจะหาแนวทางการเก็บภาษีกับหุ่นยนต์มาช่วยแรงงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน แล้วจะนำแรงงานกลับเข้าไปทำงานได้อย่างไร มันจะเกิดแรงงานใหม่ๆ ขึ้นมา ที่คาดไม่ถึง รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงเหมือนที่ประเทศจีนใช้ ซึ่งเขามีแนวคิดเรื่องนี้อยู่

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • yong
    กู ต้องการ เสถียร ไปที่ คนเยอะ แบบ ที่เป็นเยอะปรกติ มันก็อืด แบบ หลอกลวง จะไป 5G เด็ก น้อยเรียนจบ ตรี พูดได้ว่าต้องมี แบบ กสทช นั่นแหละ แต่ทำให้ ใช้งานได้จริง น่ะอีกเรื่อง
    18 ต.ค. 2561 เวลา 06.37 น.
  • ☆ (。→‿←。) ☆ (づ ̄ ³ ̄)づ
    มันก้เหมือนน้ำ ไฟ จะแพงไม่ได้ ส้นตีนเถอะ ทั้งแพง ทั้งเต่า แต่ก้ต้องก้มหัวยอมรับชะตากรรม
    17 ต.ค. 2561 เวลา 17.58 น.
  • สุวิทย์789
    4 g ยังสัญญาณยังเป็นบุ้งขนอยู่เลย จะมีคนประมูลมั้ยหละครับ
    17 ต.ค. 2561 เวลา 12.26 น.
ดูทั้งหมด