ไอที ธุรกิจ

'ยุทธศาสตร์หัวเข็มขัด' เพื่อไทยได้ประโยชน์สูงสุด ในการร่วมมือกับจีน

กรุงเทพธุรกิจ
เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 21.00 น.

เมื่อไม่นานมานี้ ผมพาคณะนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) และสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันการสร้างชาติ ไปดูงานที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เพื่อเรียนรู้บทเรียนด้านการสร้างชาติ เพื่อสร้างสัมพันธ์ดึงจีนมาช่วยสร้างชาติไทย ให้ไทยได้ประโยชน์สูงสุด 

การไปดูงานครั้งนี้ ผมได้พูดคุยกับตัวแทนภาครัฐจีนในหลายเรื่อง เช่น การปลูกกัญชง-กัญชา การพัฒนาระบบขนส่ง การลงทุนในยูนนาน และโครงการ One Belt One Road (OBOR) ซึ่งจีนเปลี่ยนชื่อเป็น Belt and Road Initiative (BRI) หรือโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นยุทธศาสตร์หลักของจีนในการขยายอิทธิพลบนเวทีโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในช่วงเวลาที่ผมอยู่ที่จีน ผมได้พูดคุยกับตัวแทนฝ่ายจีนเรื่องโครงการ BRI โดยขอให้จีนร่วมมือกับไทย สนับสนุนให้ไทยเป็นหัวเข็มขัด (Buckle) ของโครงการ BRI (เปรียบเหมือนเข็มขัดที่จะใช้การได้ ต้องมีหัวเข็มขัดถ้าไม่มีหัวเข็มขัด เข็มขัดก็จะรูดได้ง่าย) หรือหมายถึง การสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการลงทุนของจีนด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ

การสร้างเมืองใหม่ในไทย ที่มีมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของจีนเข้ามาตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยชิงหวา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง หรือมหาวิทยาลัยระดับ Top 20 ของจีน

การสนับสนุนให้ไทยเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษลำดับที่ ของจีน เพิ่มเติมจาก 6 แห่งที่มีอยู่แล้ว (เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา เซียะเหมิน คาสือ และ ไห่หนาน) เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • 1.เหตุใดไทยจึงเหมาะสมที่จะหัวเข็มขัดของ BRI?

1) ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนโดยธรรมชาติ

กรุงเทพเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ที่ใกล้ที่สุด

การเดินทางจากกรุงเทพไปจุดอื่นในอาเซียนเป็นเรื่องง่ายมากเช่น จากกรุงเทพไปเมียนมาร์ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ไปเวียดนาม 1-2 ชั่วโมง ไปกัวลาลัมเปอร์1- 2 ชั่วโมง ไปสิงคโปร์ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ไปฟิลิปปินส์ประมาณ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้กรุงเทพยังอยู่ใกล้จีนเช่น จากกรุงเทพไปกวางโจวใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งหรือ กรุงเทพไปคุณหมิง ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กัมพูชา เมียนมาร์ ลาว ต่างก็ใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) อยู่แล้ว

หากเราเดินทางไปเมียนมาร์ ลาว หรือกัมพูชา จะพบสินค้าไทยวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ผู้คนในประเทศเหล่านี้เต็มใจรับเงินบาทในการซื้อขาย และการเดินทางมาท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจในไทย แล้วเดินทางต่อไปยังประเทศเหล่านี้จึงง่ายและสะดวกมาก

ไทยสามารถเชื่อมต่อมหาสมุทร ฝั่งได้รวดเร็ว ประหยัด ปลอดภัย

ประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกันได้ ทำให้ไม่ต้องแล่นเรือผ่านช่องแคบมะละกาของมาเลเซีย หรือผ่านสิงคโปร์ต้องใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเดินทางผ่านประเทศไทย (ในกรณีที่มีการตัดคลองเชื่อมมหาสมุทร) ซึ่งเป็นเส้นทางตรงที่ทำให้การเดินทางรวดเร็วขึ้น

2) ไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

จากการจัดอันดับด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (TheLogistics Performance Index:LPI) ของธนาคารโลก ปี 2018 ไทยถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 32 ของโลกจาก 160 ประเทศเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนไทยอยู่อันดับที่ 2โดยอันดับ 1 ของอาเซียน คือ สิงคโปร์ (อันดับที่ 7 ของโลก)

นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ และเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนจีน ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในไทยและใช้ไทยเป็นฐานสำหรับการเชื่อมโยงไปประเทศอื่นในอาเซียน

3) ไทยมีความเป็นมิตรกับจีนมาก

คนไทยจำนวนมากมีเชื้อสายจีนคนไทยจึงมีความคุ้นเคยและรู้สึกเป็นมิตรกับคนจีนมากหากจีนจะไปร่วมมือกับประเทศอื่นอาจทำได้ยากกว่า เช่น การร่วมมือกับเมียนมาร์ จีนอาจต้องเผชิญกับคน 58 ชนเผ่าที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ทำให้การร่วมมือกับพม่าทำได้ยาก เป็นต้น

  • 2.เหตุใดจีนและไทยควรร่วมมือผลักดันให้ไทยเป็นหัวเข็มขัดของ BRI?

ที่ผ่านมา จีนอาศัยความเจริญจากเมืองอื่นมาช่วยพัฒนาประเทศ เช่น เมืองเซินเจิ้นที่เจริญขึ้นโดยอาศัยฮ่องกง เมืองเซี่ยเหมินที่เจริญขึ้นโดยอาศัยไต้หวัน เมืองจูไห่ที่เจริญขึ้นโดยอาศัยมาเก๊า ในเวลานี้หากจีนต้องการทำให้มณฑลทางใต้ของจีนเจริญขึ้นกว่าเดิมควรอาศัยอาเซียนโดยเฉพาะไทย ทั้งนี้ผมเชื่อว่าไทยมีโอกาสเจริญเหมือนเซินเจิ้น ทั้งไทยและจีนจะเจริญไปพร้อมกัน ถือว่าได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

1) ไทยได้ประโยชน์

ปัจจุบันไทยเผชิญปัญหาหลายประการ ในระยะสั้น เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากการส่งออกและการท่องเที่ยวหดตัว จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบริโภคและการลงทุนของเอกชนที่ชะลอตัวเนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง

ขณะที่ในระยะยาวไทยต้องเผชิญความท้าทายในการแข่งขันในเวทีโลก โดยเฉพาะการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ และการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจพัฒนานวัตกรรมนั้นเป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน

ด้วยเหตุนี้หากไทยไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ในด้านการค้าการลงทุนคงยากที่พัฒนาขึ้นมาได้

2) จีนได้ประโยชน์

จีนได้ประโยชน์หลายประการจากการร่วมมือกับไทย ให้ไทยเป็นหัวเข็มของ BRI เช่น

- จีนสามารถเชื่อมต่อไปยังทุกที่ในอาเซียนได้สะดวกรวดเร็ว ทั้งเพื่อการท่องเที่ยว การลงทุน การขนส่งสินค้าและการแสวงหาแหล่งสร้างงานและแหล่งลงทุนในต่างประเทศ

- จีนจะมีไทยเป็นพันธมิตรในอาเซียนและเวทีโลก แม้ไทยไม่ได้เป็นมหาอำนาจ แต่ก็เป็นพันธมิตรที่ดีให้จีนในอาเซียนและเวทีโลกได้

ผมได้อธิบายแนวคิดนี้กับเจ้าหน้าที่ของจีนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนเหล่านั้นเห็นด้วยกับผม และสัญญากับผมว่าจะแจ้งเรื่องนี้ให้หน่วยงานของรัฐและรัฐบาลในกรุงปักกิ่งทราบ ผมจึงหวังว่ารัฐบาลไทยจะเห็นด้วยและผลักดันแนวคิดนี้และนำไปคุยกับภาครัฐของจีนโดยเร็ว

เพราะหากไทยล่าช้าเราอาจเสียโอกาส เนื่องจากมีหลายประเทศพยายามจะร่วมมือกับจีนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไทยหมดความน่าสนใจ และทำให้จีนไม่มีเหตุผลที่จะต้องร่วมมือกับไทยเต็มที่นัก ทำให้คนไทยไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรจาก BRI

ดูข่าวต้นฉบับ