ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

นักวิชาการเสนอค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่ควรเกิน 40 บาท

Thai PBS
อัพเดต 17 มิ.ย. 2562 เวลา 04.39 น. • เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 04.39 น. • Thai PBS

กรณีที่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นพบว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

วันนี้ (17 มิ.ย.2562) นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่อเที่ยวของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 67.4 บาท ขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประมาณ 25.73 บาท และฮ่องกงอยู่ที่ 46.50 บาท โดยเป็นราคาที่แพงกว่าสิงคโปร์มากกว่า 1 เท่าตัว ซึ่งค่าโดยสารที่เหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังการซื้อ คือ 30-40 บาท เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะเดียวกัน แนวทางควบคุมค่าโดยสารที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ การยกเลิกค่าแรกเข้าเมื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมให้เข้ากับทุกการเดินทางได้ แต่หากผู้ดูแลระดับนโยบายมองเห็นความสำคัญและความเดือดร้อนของประชาชน การอุดหนุนค่าโดยสารเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก

สำหรับความคืบหน้าผลศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นขณะนี้ได้ส่งให้กรมการขนส่งทางบกไปแล้ว โดยเป็นข้อมูลเรื่องเปรียบเทียบต้นทุนและค่าโดยสารปัจจุบัน ส่วนแผนการศึกษาเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาตต จะลงรายละเอียดเรื่องการกำหนดสัญญาสัมปทานที่ระบุเรื่องการควบคุมค่าโดยสาร ให้เอกชนคู่สัญญานำไปปฏิบัติต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้านแหล่งข่าวกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางการจัดการเรื่องระบบค่าโดยสารร่วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาตั๋วร่วมเพื่อลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง จะให้ทีดีอาร์ไอไปศึกษา เพื่อกำกับดูแลค่าโดยสารให้เหมาะสมกับความเป็นจริง ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขของการเข้าระบบตั๋วร่วม คือต้องมีการยกเว้นค่าแรกเข้า 14-15 บาท ต่อการเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น จากรถไฟฟ้าบีทีเอสไปรถไฟฟ้าใต้ดิน เหมือนกับปัจจุบันเริ่มใช้ในสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้ว

ทั้งนี้ จากการหารือเบื้องต้นกับบริษัทผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสมีข้อเสนอว่า จะไม่ยกเว้นค่าแรกเข้าให้ในระบบตั๋วร่วม แต่อาจจะขอเสนอเป็นลดค่าโดยสารประมาณร้อยละ 10-15 แทน เช่นหากค่าโดยสาร 60 บาท จะลดราคาให้ 6-9 บาท เป็นต้น ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการเจรจาลดค่าแรกเข้านั้นมีปัญหาจริง เนื่องจากข้อสรุปและข้อตกลงการเชื่อมตั๋วร่วมมักถูกที่ประชุมคณะกรรมการบริหารชุดใหญ่ (บอร์ด) ตีตกไม่ผ่านความเห็นชอบ

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • บีทีเอสตัวดี แพงสุดๆ คืนทุนหมดแล้ว ยังจะเอากำไรเยอะๆอีก
    18 มิ.ย. 2562 เวลา 02.13 น.
  • นั่งจากหมอชิต ลงบางหว้า 59บาทต่อรถเมล์ เป็นผมออกรถดีกว่า... ถ้าเอกชนลงทุนมีเหรอจะถูก!!!! เขาก็เก็บแพงไว้ก่อนเพราะเขากู้มาลงทุน รัฐชอบอ้างว่าไม่มีเงิน!!! ใต้โต๊ะไปเท่าไหร่.... ทีอาวุธซื้อได้แสนล้าน ซืีอได้!!! แค่ขสมก. ขาดทุนตลอดล้างหนี้มากี่ครั้ง สาย8 ในตำนานมีปัญหาไม่เห็นขาดทุน วิ่งมาตั้งผมอายุ10ปีจนผมจะ50แล้ว
    17 มิ.ย. 2562 เวลา 09.13 น.
  • นก_ศศินันท์
    แพงเกินไปจริงๆค่ะ..ทำไมอะไรที่ควรจะเป็นประโยชน์อำนวยความสะดวกทำเพื่อให้กับประชาชนส่วนใหญ่จึงกลายเป็นเพื่อนักธุกิจการค้ากำไร.ทั้งๆที่อาศัยทรัพยากรบนแผ่นดินไทยยืนอยู่โดยแท้แต่ประเทศไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดเวลาเพราะอะไรกันคะ
    17 มิ.ย. 2562 เวลา 08.18 น.
  • Little แต่ง
    มาทำเองเลย เที่ยวละ 20.-พอ
    17 มิ.ย. 2562 เวลา 11.03 น.
ดูทั้งหมด