ใครๆก็ว่ายุคนี้คนเราแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในโลกออนไลน์
แต่เราควรพูดทุกอย่างที่คิดจริงไหมในเรื่องที่มักเกิดดราม่าง่าย
อย่างการเมือง ศาสนา และประเด็นละเอียดอ่อนอื่นๆอีกมากมาย
ไม่นานมานี้เราจะเห็นดราม่าหลายประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา
ไม่ว่าจะเป็น #เกียมอุดม ที่นักเรียนออกมาวิจารณ์กฎระเบียบต่างๆในโรงเรียน
หรือ กรณีพระพุทธรูปอุลตร้าแมน ที่มีหลายฝ่ายออกมาถกเถียงว่าเป็นการลบหลู่ศาสนาหรือเปล่า
คอลัมน์ Think Today วันนี้คงไม่มีคำตอบให้ว่าใครถูกผิด หรือ การวิจารณ์อย่างไรที่ถูกที่สุด
แต่จะชวนมา Think Together แลกเปลี่ยนความเห็นและหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ
Speak Up or Stay Silent
มีความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจของนักเขียนชื่อ Nadine Brandes
ผู้ปฏิเสธการแสดงทัศนคติใดๆในเรื่องการเมืองทางโซเชียลมีเดีย
เธอบอกว่าตัวเธอเองไม่สามารถสื่อสารประเด็นอ่อนไหวเหล่านี้ได้ดี
ด้วยการเล่าออกมาโดยถูกจำกัดคำแค่ 140 Characters แบบที่ Twitter อยากให้ทำ
การพูดและทวิตเป็นการสื่อสารที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เธออยากแสดงทัศนคติในเรื่องเหล่านี้ แต่ยินดีที่จะจับเข่าพูดคุยอย่างยืดยาว หรือ
นั่งฟังความเห็นที่ลงลึกระหว่างเจอหน้ากัน มากกว่าแสดงความเห็นแค่ไม่กี่ประโยค
และกลายเป็นไม่เข้าใจกันในโลกออนไลน์
สำหรับเธอการสื่อสารเป็นเรื่องของการฟังมากกว่าพูด
แต่โซเชียลมีเดียเน้นให้คนพูดมากกว่าฟัง
เราไม่มีทางรู้ได้ว่าคนอีกฝั่งของหน้าจอตั้งใจฟังและให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราพูดมากแค่ไหน
ในขณะเดียวกัน หากมองจากอีกมุม
สำหรับคนกลุ่มที่กล้าออกมาวิจารณ์และส่งเสียงของตัวเองนั้น
หลายคนคนมักเชื่อว่า “Your Voice Matters” หากไม่แสดงจุดยืนออกไป
ความคิดเห็นที่รู้สึกหงุดหงิด หรือ ปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมก็ยังคงมีอยู่อย่างนั้น
การเงียบจึงเป็นเหมือนสภาวะจำยอม “Silence is Lethal”
ที่แม้ในใจจะเห็นต่างหรือไม่เห็นด้วย แต่ถ้ายอมเงียบๆไปในโลกออนไลน์
ก็ไม่ต่างอะไรกับการเห็นด้วยกับอีกฝั่ง
Anonymous or Identified
“There was shaming for speaking up. There was shaming for staying silent.”
จะเห็นได้ว่าการเงียบกับการพูดออกมาต่างมีความอึดอัดคนละแบบ
น่าสังเกตว่า เมื่อสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อจริงในการแสดงความคิดเห็นก็ได้
อาจตั้งชื่อบัญชี Twitter เป็นชื่อที่ไม่มีใครรู้จัก หรือ เข้าไปเม้นใน Pantip แบบนิรนาม
เมื่อไม่มีใครรู้ตัวตน หลายคนก็กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสุดโต่ง
เป็นเรื่องน่าคิดว่า เมื่อไหร่ที่เรากล้าวิจารณ์ เราควรจะกล้ายืดอก คุยกันอย่างเปิดใจว่านี่คือจุดยืนของเราเอง
หรือ แค่ส่งเสียงกระซิบให้คนรู้ว่ามีคนคิดแบบนี้ แม้ไม่รู้ว่าเป็นเสียงของใคร แค่มีคนได้ยินก็โอเค
การแลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องละเอียดอ่อนให้เกิดดราม่าน้อยที่สุด
อาจต้องกลับมาดูที่วิธีสื่อสาร ว่าเราส่งเสียงออกไปในวิธีที่ทำให้คนอยากฟังหรือยัง
รวมทั้งตั้งใจฟังความเห็นต่างของคนอื่นมากพอหรือเปล่า
หรือที่มีดราม่าไม่ได้เกี่ยวกับการกล้าหรือไม่กล้าวิจารณ์
แต่เพราะเรายังไม่ตั้งใจฟังกันมากพอ ?
ที่มา
https://nadinebrandes.com/2017/08/23/dont-talk-politics-social-media/
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/
Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld
Twitter: @faunglada
Website: www.ldaworld.com
บางครั้งในการรับรู้และพิจรณาถึงในหลักของความเป็นจริงให้ดีแล้ว บางทีก็อาจสามารถจะนำมาเพื่อปรับใช้ให้ถูกทางเพื่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้เช่นกัน.
26 ก.ย 2562 เวลา 13.05 น.
Rainny L.(อิมกึมบี)🌦 ในขณะที่แสดงความคิดเห็นออกไป ก็เข้าใจว่าคนอื่นเขาก็มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นของเขาเช่นกัน และเขาอาจไม่เห็นด้วยกับความคิดเรา เราก็เข้าใจและวางใจได้อย่าง "รู้" ในขณะเดียวกันเราก็ไม่เอาตัวเองเป็นใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และพยายามไม่ไปคิดเห็นค้านกับคนที่เห็นไม่เหมือนกับเรา เราพยายาม "รู้คิด"ของเราเองมากกว่า
27 ก.ย 2562 เวลา 02.34 น.
Tickety-Boo!!!🐈 ถ้ากล้าที่จะวิจารณ์..ก็ต้อง"กล้า"รับผลจากการวิจารณ์นั้นด้วย.
ก่อนพูดเราจะเป็นนายคำพูด..แต่..หลังพูดคำพูดจะเป็นนายเรา.
ปลาหมอตายเพราะปาก..เห็นมาเยอะละ.
26 ก.ย 2562 เวลา 20.18 น.
คนโลกสวยเยอะไม่มองความเป็นจริง .. เราเบื่อมาก
เวลาคอมเม้นอะไรตรรกะโลกสวยมาเพียบ เซงเป็ดมากจะเม้นแสดงความคิดเห็นเจอควายอ่านไม่แตกมาด่าเฉย .. เกรียนคีย์บอร์ดเยอะมาก ทุกวันนี้อ่านและดูเอาไม่คอมเม้นเพราะทำงานก็เหนื่อยแล้วขี้เกียจทะเลาะกับควายคะ;)
26 ก.ย 2562 เวลา 19.05 น.
N_Tansuwannarat ดราม่า สาเหตุเกิดจากการที่ "คนสองคนมีความคิดไม่ลงรอยซึ่งกันและกัน"
แม้ว่าความคิดจะเดินคนละเส้นทาง แต่ก็มาบรรจบได้ในเส้นทางเดียวกัน นี่คือการ "ดราม่าแบบสร้างสรรค์" "ดราม่าแบบมีเหตุผล"
แต่เมื่อเส้นทางแยกออกจากกัน ไม่มีวันมาบรรจบ การที่คนไม่มีเหตุผล การที่คนไม่ยอมรับความคิดเห็นของอีกฝ่าย ต้องการเอาชนะด้วยอะไรบางอย่าง "นี่คือดราม่าของการทำลาย"
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมโลกของการสื่อสาร เขาให้เน้น "การฟัง" มากกว่า "การพูด" เสมอ
26 ก.ย 2562 เวลา 13.11 น.
ดูทั้งหมด