ไลฟ์สไตล์

ปัญหา ขยะ ปัญหาที่ถูกลืม จากการระบาดของ โควิด-19

ZipEvent
อัพเดต 09 เม.ย. 2563 เวลา 12.58 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 06.23 น. • Korakoch Jantree

จากบทความที่แล้ว ที่ชวนมาคิด คำนึงถึงข้อดีข้อเสียของการกักตัวอยู่บ้าน หรือการระบาดของ โควิด-19 (อ่านได้ที่นี่) ข้อดีด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เรียกได้ว่าจริงๆ แล้วเป็นผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นและจะส่งผลในระยะยาวนั่นคือ ปัญหา ขยะ ในบทความนี้จะพาไปดู สาเหตุของขยะที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอน แต่ก็สามารถนึกภาพตามได้ รวมทั้งต้องขอความร่วมมือจากเราทุกคน ในการช่วยให้การทำลายขยะนั้นง่ายขึ้น ด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการแยกขยะนั่นเอง

ขยะใกล้ตัว ขยะพลาสติก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แน่นอนว่าในช่วงกักตัวนี้ บริการอาหารส่งถึงที่ หรือ Delivery นั้นได้รับความนิยมทุกแอพพลิเคชัน ใครมีโปรโมชั่นดีกว่า ค่าส่งถูกกว่า ก็เอาใจลูกค้าไปเลย แต่ทุกๆ ร้านก็ต้องบรรจุอาหารใส่ภาชนะ โฟม กระดาษ และทุกๆ อย่างต้องแพ็คมาในพลาสติก ซึ่งพลาสติกนี่เอง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย

Photo by Chauldry Agho on Unsplash

ผลกระทบจากขยะพลาสติก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขยะพลาสติกเป็นอะไรที่ทำลายได้ยากมากๆ ถ้านำไปเผาก็จะเกิดแก๊สพิษ ทำลายทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และสภาพอากาศอีกด้วย นำไปสู่ปัญหาโลกร้อนอีก ในส่วนของตัวเมือง ก็สร้างปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะเจ้า ขยะ พลาสติกนี้ ไปอุดตันตามท่อระบายน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาอยู่เรื่อยไปของกรุงเทพฯ ในส่วนของทะเล ขยะที่ลงไปตามแม่น้ำส่วนมาก ก็จะไหลลงทะเล ส่งผลโดยตรงกับคุณภาพน้ำ และชีวิตของสัตว์ทะเล การที่เราจะช่วยกันแยกขยะพลาสติกออกจากขยะอื่นๆ ไว้ ทิ้งให้ลงถัง ไม่ทิ้งลงพื้น จะช่วยให้โรงงานขยะ สามารถจัดการขยะพลาสติกได้ถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ต้องทิ้งในถังขยะทั่วไป

ขยะที่อาจลืมนึกถึง ขยะ ที่ปนเปื้อนไวรัส

ในประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น มีขยะทางการแพทย์เกิดขึ้นมาอย่างมาก ถ้าเป็นที่ประเทศไทย ขยะทางการแพทย์ถือเป็นขยะอันตราย ถ้าให้ใกล้ตัวกับผู้อ่านมากยิ่งขึ้น ขยะเป็นพิษของคุณก็คือ หน้ากากอนามัยนั่นเอง ดังนั้นควรจัดการกับขยะที่เป็นหน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง เพื่อการจัดการขยะที่ดี ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อ่านบทความการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ได้ที่นี่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
Photo by Tran Phu on Unsplash

การกักตุนอาหาร นำไปสู่ขยะย่อยสลาย

เมื่อก่อนที่ยังไม่มีการระบาดของโควิด-19 ในขยะปริมาณหนึ่งๆ มีขยะย่อยสลายมากอยู่ถึง 64% จากกองขยะนั้นๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้อย่างเร็วที่สุดภายใน 3 เดือน แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากเช่นกัน ถ้าเราทิ้งแบบไม่ถูกวิธี เช่น ทิ้งลงแม่น้ำ ก็ทำให้น้ำเน่าเสีย ถ้าทิ้งลงดินก็สามารถย่อยสลายได้ แต่ถ้าปริมาณมากๆ ก็ทำลายระบบนิเวศแถวนั้นได้ ยิ่งหากมีฝนตกลงมา อาจทำให้ดินบริเวณนั้นเป็นกรด หรือแหล่งน้ำใกล้เคียงมีคุณภาพน้ำลดลง รวมถึงในตัวเมืองที่ไม่มีพื้นดินเท่าไหร่ การทิ้งลงบนพื้นปูน คอนกรีต หรือถนน ก็สร้างกลิ่นเหม็นเน่า

Photo by Paul Schellekens on Unsplash

ทิ้งขยะให้ลงถัง แล้วแยก ขยะ ให้ถูกประเภท

เชื่อว่าทุกๆ คนก็คงทราบดีแล้ว สำหรับการแยกขยะ ถึงแม้จะมีดราม่าว่า แยกไปทำไม รถขยะก็เทรวมกันอยู่ดี แต่รู้หรือไม่ว่า สุดท้ายแล้ว ที่โรงงานขยะก็แยกขยะ เพื่อการกำจัดขยะแต่ละประเภทให้ถูกต้องอยู่ดี การแยกขยะสำหรับช่วงนี้ก็ง่ายๆ เลย มีคร่าวๆ ดังนี้

  • ขยะเศษอาหาร
  • ขยะพลาสติก โฟม บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ขยะทั่วไปที่เช่น กระดาษชำระ
  • ขยะพวกกล่องกระดาษ แก้วกระดาษ
  • ใครซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือนมาใหม่ ก็แยกพวกกระดาษลังไว้
  • ขยะอันตรายอย่างหน้ากากอนามัย
  • ขยะอันตรายที่อาจจะมีความแหลมคม เช่น จาน ชาม ที่แตก หลอดไฟเสีย ต่างๆ ก็ควรแยกเป็นอีกกลุ่มไว้
Photo by Paul Baden on Unsplash

นี่เป็นเพียงการช่วยกันเบื้องต้น เราหลายๆ คนอาจจะดีใจที่สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เต่าขึ้นมาวางไข่ โอโซนกลับมาอีกครั้ง แต่การที่เราสร้างขยะ ขยะเหล่านี้ถ้ากำจัดไม่ถูกวิธี อาจจะกลับไปฆ่ารุ่นลูกรุ่นหลานที่พึ่งเติบโตขึ้นมาก็ได้ หรือขยะมีพิษ อาจจะทำให้เกิดการอุบัติโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมาทำร้ายมนุษย์เราอีก รวมถึงการใช้ไฟฟ้า เมื่อกักตัว ถ้าช่วยกันประหยัดได้ก็จะดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวกว่านี้

ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • ก็เคยได้ยินว่า แยกขยะไป กทม. ก็เอาไปเทรวมกันอยู่ดีที่ปลายทาง 🤣🤣🤣🤣🤣🤣 (แต่ก็สนับสนุนให้แยกนะ) เป็นหน้าที่ผู้บริหารที่จะไปทำกันให้เป็นรูปธรรมว่าจะจัดการขยะแต่ละประเภทยังไง ทำลายทิ้ง (เผา ฝังกลบ) รีไซเคิล ทำพลังงานชีวภาพ ฯลฯ และถ้ามันมีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม คนก็จะตื่นตัวในการคัดแยกขยะเอง รณรงค์ไปก็เหมือนดีแต่พูด เพราะคนไม่เห็นประโยชน์ว่าจะแยกไปทำไม
    09 เม.ย. 2563 เวลา 07.13 น.
  • แยกประเภทมากเกิน คนทำไม่ได้หรอก
    09 เม.ย. 2563 เวลา 07.26 น.
  • 👧👧tan🌹🌸🍎🍏
    โรตโควิต19ตอนนี้ทำให้ขยะจากกล่องโฟม พลาสติกเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ให้นั่งทานในร้าน กล่องพลาสติกกล่องโฟมขายดีเป็นอัาดับหนึ่ง มันเลยไปเพิ่มขยะพลาสติกอีก คิดทบทวนนโยบายใหม่ละ
    09 เม.ย. 2563 เวลา 07.20 น.
  • จ..า..จา
    แถวบ้านพนักงานเก็บขยะ..น่ารักมาก..เข็นเก็บทุกวัน..แต่ที่ทำงาน(พระราม3)..2-3วันเก็บที
    09 เม.ย. 2563 เวลา 07.22 น.
ดูทั้งหมด