เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 16 เมษายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุขในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายแพทย์อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การดำเนินการทางระบาดวิทยาเพื่อค้นหาผู้ติดโควิด-19นั้นจะมีการดำเนินการ 3 มาตรการ ได้แก่ 1. การติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย (Close contact tracing)ซึ่งดำเนินการทันทีเมื่อพบผู้ป่วยยืนยันทุกราย 2.การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก(Active case finding) ทั้งในกลุ่มคนที่สัมผัสใกล้ชิดมากและใกล้ชิดน้อย และ3.การค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน
การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกมีการดำเนินการแล้วในจังหวักภูเก็ต ซึ่งผลปรากฏว่า การตรวจเชื้อในผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคพบอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ 4.5 % ส่วนการตรวจในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงพบอัตราการติดเชื้อ 6.24 % ซึ่ง 2 %ที่ห่างกันนี้มีความแตกต่างอย่างมาก แสดงให้เห็นว่า การกำหนดกลุ่มเสี่ยงสูงที่เป็นเป้าหมายชัดเจนและตรวจหาเชื้อในคนกลุ่มนี้มีความคุ้มค่ากว่าเพราะมีโอกาสเจอคนติดเชื้อมากกว่าการตรวจในกลุ่มคนที่ไม่ได้เสี่ยงสูง
นายแพทย์อนุพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการค้นหาในชุมชนนั้น เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีของคน โดยใช้ชุดตรวจที่เป็นการเจาะเลือดปลายนิ้ว หรือRapid Test เพื่อต้องการค้นหาคนที่มีภูมิต้านทานโรคนี้แล้ว ซึ่งแสดงว่าเป็นคนที่เคยติดเชื้อและไม่แสดงอาการ เบื้องต้นนำร่องในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศ โดยเลือกดำเนินการในพื้นที่ 2 เขต ได้แก่ เขตบางเขน ที่เป็นพื้นที่ตั้งของสถานที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วย เช่น สนามมวย สถานบันเทิง และเขตคลองเตย ที่เป็นที่ตั้งของชุมชนแออัดที่มีความหนาแน่นของประชากร และเป็นการเลือกตรวจในประชากรที่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาระบุว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโดยอาจจะไม่ใช่คนที่สัมผัสผู้ป่วยโควิด-19มาก่อน อาทิ กำหนดเป็นกลุ่มอายุ วัยหนุ่มสาว เด็ก และผู้สูงอายุ เป็นการกระจายกลุ่มตัวอย่าง
“ผลที่ได้จากการค้นหาในชุมชนโดยการตรวจหาภูมิต้านทานนั้น จะทำให้ทราบว่าในพื้นที่ที่กำหนดเป้าหมายลงไปนั้น มีคนติดเชื้อแล้วแสดงอาการซึ่งมีภูมิต้านทานแล้วมากน้อยแค่ไหน หากพบว่ามีน้อยมากๆ เช่น ไม่ถึง 1 % แสดงว่าคนไทยยังมีการติดเชื้อน้อย และส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทานเกี่ยวกับโรคนี้ ก็จะต้องมีการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังที่เหมาะสมต่อไปด้วย และหลังจากนำร่องใน 2 เขตนี้แล้ว หากพบว่าเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้และมีความคุ้มค่าก็จะขยายผลดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายที่ระบาดวิทยากำหนดต่อไป”นายแพทย์อนุพงศ์กล่าว
สุ่มตรวจเยอะๆเลยครับชุดตรวจมีเยอะแยะนายกบอก
16 เม.ย. 2563 เวลา 09.15 น.
Chay Chummano เคสที่น่าสนใจคือคนปริมณฑลมีประวัติเดินทางรถสาธารณะข้ามจังหวัดเข้าไปทำงานใน กทม. เช่นคนชานเมืองในนนทบุรี ผมว่าคนพวกนี้ถ้าติดแล้วไม่แสดงอาการ แสดงว่ามีแอนตี้บอดี้ดีมาก ฝากดูเคสเหล่านี้ด้วยครับ
16 เม.ย. 2563 เวลา 09.33 น.
การเงินและบัญชี สู้ๆนะคะ เป็นกำลังใจให้ผู้ที่คิดดีเริ่มปฏิบัติค่ะ
16 เม.ย. 2563 เวลา 09.50 น.
Mai Mai จะได้รู้ว่าเราเป็นไหม ปัจจุบันก็ได้แต่สงสัยอาการมันคล้ายจะใช่หรือไม่ใช่
16 เม.ย. 2563 เวลา 09.56 น.
ทำงานช้าแบบนี้ คาดว่าจะติดเชื้อเพิ่มอีกเยอะ
เพราะ สธ ทำงานไม่เป็น สร้างจุดคัดกรองแต่เจ้าหน้าที่หลบอยู่แต่ในเต้นท์ เชื่อมันวิ่งไปมาตลอด
16 เม.ย. 2563 เวลา 09.15 น.
ดูทั้งหมด