ทั่วไป

จอดรถขวาง “หน้าบ้าน” เจ้าของบ้านโวยได้! แล้วถ้าขวาง “หน้าร้าน” เจ้าของร้านโวยได้ไหม?

Another View
เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 13.00 น.

จอดรถขวาง “หน้าบ้านเจ้าของบ้านโวยได้! แล้วถ้าขวางหน้าร้านเจ้าของร้านโวยได้ไหม?

เถียงกันไม่หยุด. ทะเลาะกันได้ทุกที. เมื่อจอดรถข้างทาง. แต่โดนร้านค้าด่าทอ. ฝ่ายเจ้าของตึกก็โอดโปรดเห็นใจบ้าง. บางรายจอดแช่เป็นวัน. จะซื้อห้องริมถนนไปทำไมถ้าโชว์หน้าร้านไม่ได้. เอาใจเขาใส่ใจเราคือทางออกของปัญหา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มักมีคำร้องทุกข์ออกมาในบอร์ดของชุมชนแต่ละจังหวัด เรื่องร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ริมถนน เอาเก้าอี้หรือรถจักรยานมาจอดริมทางเพื่อกั้นไม่ให้รถยนต์มาขวางหน้าร้าน บ้างก็ถึงกับออกปากไล่ ทำเอาประชาชนผู้ใช้รถเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าในการหาที่จอดรถยนต์โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน

ลุกลามใหญ่โต เมื่อมีปากเสียง โดยเจ้าของตึกแถวทั้งหลายอ้างสิทธิ์ในการถือครองพื้นที่ส่วนริมถนนหน้าร้านค้า และขอความเห็นใจ สืบเนื่องจากไม่สามารถค้าขายได้เพราะมักมีรถยนต์มาจอดบัง ในขณะที่คนใช้รถก็อ้างกฎหมายอันชอบธรรม ที่สามารถจอดตรงไหนก็ได้ตราบเท่าที่เป็นทางสาธารณะ

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 หมวด 4 การหยุดรถและจอดรถ มีมาตราระบุแค่ การจอดรถขวางปากทางเข้าออกอาคาร  ทางเดินรถ ดังนั้น การจอดรถริมถนนที่ไม่ทับเส้นห้ามจอด จึงเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายและสามารถทำได้ ตราบเท่าที่ เสาหมุดของอาคารพาณิชย์เหล่านั้น สุดที่ขอบถนนซึ่งรถยนต์พึงจอดได้อย่างถูกต้องตามมาตรา 55 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากลักษณะของบริเวณนั้น ไม่ได้เป็น “ปากทาง” เข้าออก แต่เป็นฟุตปาธทางเท้า หากไม่มีเส้นห้ามจอดทาสีไว้ที่ขอบฟุตปาธแล้ว (หรือมีป้ายห้ามจอด) ย่อมเป็นเขตสาธารณะซึ่งสามารถจอดรถยนต์ได้ตลอดแนว หากเจ้าของอาคารเหล่านี้ มาห้าม หรือ นำสิ่งของมากีดขวาง ย่อมเข้าข่ายผิดกฎหมาย ประชาชนสามารถเรียกร้องได้  หรือสามารถอ้างสิทธิ์ในการจอดรถริมถนนบริเวณนั้นได้

จะซื้อตึกแพงสุดไว้ทำไม เมื่ออาคารพาณิชย์โฆษณาขายตึกในทำเลทอง ริมถนนใหญ่ ใครผ่านไปมาก็มองเห็นป้ายโฆษณา หรือหน้าร้านที่จัดไว้อย่างสวยงาม แต่บัดนี้ ถูกบดบังด้วยสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้ถนน ซึ่งอ้างสิทธิ์ในการจอดรถแช่ขวางหน้าร้าน จนร้านค้าที่เคยงดงามถูกรถบังไม่เห็นสินค้า และผู้ที่จะมาติดต่อซื้อขายก็ไม่สามารถจอดรถยนต์ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในที่จอดรถด้านหน้าของร้านค้าเหล่านี้ ไม่ใช่ของเจ้าของตึก แต่เป็นทางสาธารณะ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จอดแช่เป็นวัน ผู้ใช้รถยนต์บางรายจอดรถของตัวเอง  ด้วยกฎหมายที่เอื้อไว้ แล้วกระโดดขึ้นรถประจำทางไปไหนต่อไหน ไปเดินห้างสรรพสินค้าซึ่งหาที่จอดรถได้ยากยิ่งกว่า  บ้างก็ทำธุระของตนยังร้านค้าอื่น หนักกว่านั้น ไปทำงานทั้งวัน เพราะที่ทำงานไม่มีที่จอดรถเพียงพอ จึงไปจอดยังหน้าร้านค้า หนักสุดคงเป็นร้านค้าที่อยู่ใกล้ตลาดนัด เพราะจะมีปริมาณผู้ใช้รถหนาแน่น และถูกจอดขวางร้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตึกแถวไม่กล้าโวย กลัวโดนถ่ายคลิปประจาน ในยุคสังคมออนไลน์ ประชาชนใช้สิทธิของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้ใช้รถ มีปริมาณมากกว่าเจ้าของตึก ความเห็นในเชิงลบจึงรุมกระหน่ำร้านค้าอย่างไม่เห็นใจ จนบางทีร้านค้าเหล่านี้ก็นึกสงสัยตัวเองว่า จะซื้อตึกราคาแพง ทำเลดีมาทำไม ในเมื่อขายของได้น้อยลงเพราะโดนรถขวางตลอด

ลูกค้าเธอลูกค้าฉัน เจ้าของตึกมักจะทะเลาะกันเองและเกิดความรู้สึกไม่ชอบเมื่อมีรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้บริการร้านค้าของตนเองมาจอดยังหน้าร้าน แต่ดันไปเข้าใช้บริการยังที่แห่งอื่น จนเกิดข้อพิพาทบ่อย ล้วนเพราะอคติในใจ

คอมเพล็กซ์ ทางออกของคนกรุง เป็นโมเดล สู่ต่างจังหวัด  เมื่อที่ดินริมถนนไม่ได้ดีอย่างที่คิด จึงมีการกำเนิดคอมเพล็กซ์ หรือ ศูนย์การค้าขนาดย่อม ที่จัดสรรอาคารพาณิชย์บนพื้นที่ของโครงการ  ถนนที่อยู่หน้าตึกแถวเหล่านี้ จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโครงการ เป็นถนนส่วนบุคคล ซึ่งมักจะยินยอมให้เจ้าของตึก ได้ใช้พื้นที่หน้าอาคารได้อย่างเต็มที่ และผู้ที่เข้ามาจอดในบริเวณคอมเพล็กซ์ มักจะต้องเป็นผู้เข้ามาทำธุระ และใช้บริการร้านค้าในบริเวณนี้  ป้องกันคนนอกที่มาจอดรถโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือรายได้แก่เจ้าของตึกทั้งหลายให้ระคายใจ 

ถ้อยทีถ้อยอาศัยคำหวานที่หายไป  หากผู้คนเอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น เรื่องกระทบกระทั่งอาจจะน้อยลงอย่างมีทิศทาง  เมื่อผู้จอดรถ ไม่จอดนานจนเกินไป เห็นใจคนทำกิน ให้ได้ใช้พื้นที่บริเวณของเขาได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ขณะเดียวกันเจ้าของร้านค้า ก็ต้องใจกว้างให้มาก ถ้าอาจมีรถยนต์มาจอดยังหน้าอาคาร เพราะมันเป็นทางสาธารณะ และเป็นสิทธิอันพึงทำได้ของผู้ใช้รถ และถ้าเขาจอดอย่างเกรงใจ ก็ไม่น่าจะเป็นไร แถมร้านค้าที่เก่ง อาจได้ยอดลูกค้าเพิ่มจากปริมาณรถยนต์อันหนาแน่นเหล่านี้  จะทะเลาะกันไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจว่า กำลังลิดรอนเสรีภาพในกันและกัน ฝั่งหนึ่งในรูปธรรม อีกฝั่งในนามธรรม และนั่นไม่มีผู้ชนะที่แท้จริง..

Picture Credit

IMGCOP.COM

- Postjung.com

- ItalianExplained.com

ความเห็น 71
  • chat🌿
    รัฐบาลไทย เทศบาลไทย ควรจะมีการวางแผน และเคร่งครัดในเรื่องการจอดรถ 1. ตึกแถวควรจะเว้นระยะที่จอดรถหน้าบ้านเหมือนปัจจุบัน แต่เจ้าของบ้านเอามาค้าขาย ต่อเติมกันหมด เทศบาลไม่มีปัญญาจะควบคุมกฏ ต้องบังคับใช้กฏหมายโดยเตร่งครัด 2. ทาวเฮ้าส์ มีที่จอดรถแต่ถูกนำไปต่อเติมทำที่อาศัยหรือเชิงพานิชย์ ควรจะให้รื้อถอนออก และคงที่จอดรถในบ้าน 3. ย่านการค้า ตลาด โรงเรียน โรงแรม ต้องมีที่จอดรถให้เพียงพอตามกฏหมาย รัฐต้องเอาจริง ปฏิบัติจริง
    21 ม.ค. 2562 เวลา 13.22 น.
  • ไม่มีที่จอดรถก็ซื้อรถกันจัง
    21 ม.ค. 2562 เวลา 13.50 น.
  • S.
    ถ้าแบบมีสาระ ควรออกกฏหมายถ้าจะซื้อรถ ต้องมีเอกสาร/หลักฐานแสดงว่ามีที่จอดรถด้วย ถ้าแบบเอาสะใจ ควรมีข้ออนุญาตให้ ว่าใครจอดรถริมถนน สามารถเข้าไปทุบทำลายได้เลยรับรองสนุกแน่
    21 ม.ค. 2562 เวลา 13.45 น.
  • Duan pen
    แล้วซื้อถนนหน้าบ้านด้วยนะครับ
    21 ม.ค. 2562 เวลา 13.36 น.
  • ควรรู้จุดที่เหมาะสม
    21 ม.ค. 2562 เวลา 12.48 น.
ดูทั้งหมด