ไอที ธุรกิจ

คลังเยียวยาอีก 1.46 แสนราย จ่าย 5 พัน "กลุ่มตกหล่น" ประกันสังคม

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 17 ก.ค. 2563 เวลา 02.52 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563 เวลา 03.44 น.
ภาพ : มติชนออนไลน์

คลังไฟเขียวจ่ายเยียวยา “ผู้ประกันตน” กลุ่มตกหล่นอีกกว่า 1.46 แสนราย แบ่งเป็นจ่ายเยียวยา 5 พันบาท3 เดือน กลุ่มอยู่ในระบบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือนกว่า 6 หมื่นราย ใช้งบฯ 900 ล้านบาท กับกลุ่มได้รับเงินชดเชยประกันสังคมต่ำกว่า 5 พันบาท อีก 8.6 หมื่นราย เติมเงินเพิ่มให้ได้รับเป็น 5 พันบาทต่อเดือน ชงคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้พิจารณา คาดได้ข้อสรุปสัปดาห์หน้าก่อนชง ครม.

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้คลังได้อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นกลุ่มตกหล่นตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1) ผู้ประกันตนที่เพิ่งอยู่ในระบบประกันสังคมไม่เกิน 6 เดือน และเพิ่งตกงานในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย.ที่ผ่านมา หรือตกงานในช่วงที่โครงการเราไม่ทิ้งกันปิดให้ลงทะเบียนไปแล้ว จึงมีผู้ตกหล่นอยู่ประมาณ 6 หมื่นราย โดยจะจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ ส่วนนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 900 ล้านบาท

2) ผู้ประกันตนที่ได้รับเงินชดเชยไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากได้รับค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 8,100 บาท ซึ่งเมื่อประกันสังคมคำนวณเงินชดเชยออกมา ทำให้ได้รับเงินไม่ถึง 5,000 บาท โดยส่วนนี้มีอยู่ราว 8.6 หมื่นราย ซึ่งกระทรวงการคลังจะเติมวงเงินให้แต่ละรายได้รับเงินช่วยเหลือรวมเป็น 5,000 บาทต่อเดือนเช่นเดียวกับผู้ได้รับเงินเยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน

ทั้งนี้ จะต้องเข้าไปดูในรายละเอียด เพราะผู้ประกันตนแต่ละรายจะได้เงินชดเชยจากประกันสังคมแตกต่างกัน เช่น รายที่ได้เงินชดเชย 3,800 บาท คลังก็จะสมทบเงินให้ 1,200 บาท หรือรายที่ได้เงินชดเชย 4,500 บาท คลังก็จะสมทบเงินเพิ่มให้ 500 บาท เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“คลังได้อนุมัติข้อเสนอของกระทรวงแรงงานแล้ว และได้เสนอไปให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ พิจารณารายละเอียดต่อไป เนื่องจากจะต้องใช้งบประมาณจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า และจากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป” นายลวรณกล่าว

ทั้งนี้ สำหรับที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทระยะเวลา 3 เดือนให้กับลูกจ้าง แรงงาน อาชีพอิสระไปแล้วกว่า 15.3 ล้านรายแล้ว จากกรอบที่ ครม.ได้อนุมัติหลักการไว้ 16 ล้านราย ซึ่งจ่ายเงินเยียวยาครบ 3 เดือนไปเมื่อสิ้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา แบ่งเป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์ 15.1 ล้านราย และอีก 2 แสนราย ลงทะเบียนไม่สำเร็จแต่คัดกรองแล้วเข้าข่ายได้รับสิทธิ คิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 48
  • บอย เสนานิเวศน์
    มาตรา 33 มีงานทำอดครับไม่ได้เยียวยาครับ สู้ต่อไปเราลูกเมียน้อย
    16 ก.ค. 2563 เวลา 07.06 น.
  • แล้วม.33ที่โดนหักส่งทุกเดือน​ จะช่วยอะไรยังครับ ถามว่าเต็มใจให้หักเงินเดือนผมมั้ย​ ตอบเลยว่าไม่ หักทุกเดือนก็ควรช่วยดูแลกันหน่อยนะครับ​ ระวังแรงงานลุกฮือเมื่อไหร่​ ประกันสังคมมีพังนะครับ
    16 ก.ค. 2563 เวลา 08.25 น.
  • พี่รัตน์
    คือ.. มาตรา​ 33​ ก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ​อะไร​เลย​ใช่ไหม​คะ​
    16 ก.ค. 2563 เวลา 07.04 น.
  • ประเทศอื่นเขาก็ไม่ได้บ้าเยียวยาอย่างบ้าๆบ้อๆแบบนี้นะ ควายจริงๆไม่มีอะไรปนเปื้อนเลย
    16 ก.ค. 2563 เวลา 07.16 น.
  • 🌻🌾jesada&N'ploypink🌈
    แล้วคนในระบบรัฐบาลไม่ช่วยเลยรึไง...ถ้าทำงานโดนลดเงินเดือนไม่เข้าข่าย..อย่างน้อยรัฐควรจะช่วยคนในระบบทั้งหมดให้เท่าเทียมกันบ้าง
    16 ก.ค. 2563 เวลา 08.20 น.
ดูทั้งหมด