อาหาร

‘ประยุทธ์’ เสนอ 3 แนวทางฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ต่อที่ประชุม’ยูเอ็น’

The Bangkok Insight
อัพเดต 29 พ.ค. 2563 เวลา 02.29 น. • เผยแพร่ 29 พ.ค. 2563 เวลา 02.24 น. • The Bangkok Insight

นายกฯ เสนอ 3 แนวทาง เพื่อฟื้นตัวจากวิกฤติผลกระทบโควิด-19 ต่อที่ประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติ

วันนี้ (28 พ.ค.) เวลา 10.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในรูปแบบวีดิทัศน์ในกิจกรรม High-level Event on Financing for Development in the Era of COVID-19 and Beyond สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงถึงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพ วิถีชีวิต และเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหานายกรัฐมนตรีได้เสนอ 3 ประเด็น ที่สำคัญต่อการฟื้นตัวจากวิกฤติครั้งนี้

1. ความพร้อมของระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง งบประมาณด้านสาธารณสุข (health financing) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) ประเทศไทยมีระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพการควบคุมการแพร่ระบาดในไทย ทั้งนี้การพัฒนาวัคซีนและยารักษา COVID-19 ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ทุกประเทศควรจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. สภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เป็นมิตร และการยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ไทยต้องการเห็นการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป (restart) ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ (reboot) เพื่อฟันฝ่าวิกฤต และปรับการเชื่อมต่อระหว่างกันใหม่ (reconnect) เพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนกว่าเดิม ในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรีหวังให้องค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยด้วย

3. การวางแผนเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน รองรับความ “ปรกติใหม่” คือ เรื่องของการดูแลสภาพแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมความร่วมมือ จากประชาชนไทย ที่ส่งผลให้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของไทยประสบความสำเร็จ ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อวางมาตรการรับมือกับวิกฤติ และเตรียมมาตรการฟื้นฟู เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนในอนาคตที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งได้ย้ำความพร้อมที่จะร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการจัดการกับ วิกฤติเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อฟื้นฟูความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจโลก และสร้างสังคมที่ยั่งยืนขึ้นกว่าเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีแคนาดา นายกรัฐมนตรีจาเมกา และเลขาธิการสหประชาชาติสำหรับความริเริ่มในการจัดกิจกรรมนี้  เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือ และส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวจากวิกฤติของการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 36
  • PongPhol
    สาเหตุที่ต้องกู้ ก็เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้ มันโกงและทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้ปทช. และ ปชช.มากมายไง...เข้าใจกันรึยัง ..ไอ้พวก.....ย !!!
    29 พ.ค. 2563 เวลา 09.19 น.
  • PongPhol
    สุดยอดครับ...ลุงตู่ 😁😁😁😁😍😍😍😁😁😁😍😍
    29 พ.ค. 2563 เวลา 09.12 น.
  • ดุสิต สุทธิพิบูลย์
    #นักกู้ลุ่มน้ำเจ้าพระยา#
    29 พ.ค. 2563 เวลา 05.35 น.
  • Yongyot
    ถ้าแน่จริงอย่าเอาเด็กๆท่ียังมีความคิดความอ่านประสบการณ์น้อยมาลงถนนเลยช่วยเอาระดับท่ีว่าปัญญาชนท่ีคุณอ้างมาลงเถอะจะดูว่ามีมากขนาดไหนเป็นครูมา41ปีเด็กยังเป็นผ้าสะอาดอยู่อย่าเอามาสกปรกกับพวกมีสมองก้าวลงหลุม
    29 พ.ค. 2563 เวลา 04.42 น.
  • อำพล
    ไม่โง่จริง ไม่ด้านจริง ไม่กล้าไปเสนอหน้าท่องจำ โชว์โง่ให้เค้าฟังอย่างนี้แน่ และที่แน่ๆ ชาวบ้านเค้าอายแทนมึงนะไอ้ควาย
    29 พ.ค. 2563 เวลา 04.25 น.
ดูทั้งหมด