ไลฟ์สไตล์

นิว นอร์มอล ผู้ป่วย 'โรคภูมิแพ้' มหิดล พัฒนาวัคซีนลดเสี่ยงโควิด

MATICHON ONLINE
อัพเดต 07 มิ.ย. 2563 เวลา 02.44 น. • เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2563 เวลา 23.00 น.
โรคภูมิแพ้

นิว นอร์มอล ผู้ป่วย ‘โรคภูมิแพ้’ มหิดล พัฒนาวัคซีนลดเสี่ยงโควิด

โรคภูมิแพ้ – เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แม้จะยังไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ไม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาได้เหมือนก่อนโควิดระบาด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กระนั้น จากความสำเร็จของการพัฒนาผลิตวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นครั้งแรกของอาเซียน โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้ว จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภูมิแพ้ไรฝุ่นในวันนี้ดีขึ้น โดยเป็นการรักษาที่สาเหตุโดยตรง และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน

รศ.ดร.นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือการผลิตวัคซีนสำหรับโรคภูมิแพ้ กล่าวว่า “โรคภูมิแพ้” พบได้ร้อยละ 30-40 ของประชากรไทย ซึ่งเหมือนกับอุบัติการณ์ในต่างประเทศทั่วโลก และ “ไรฝุ่น” เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย และประเทศเขตร้อน

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า “ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้” เสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 และอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นก็มีความแตกต่างจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะมีอาการคันจมูก คันตา คัดจมูก จาม และ น้ำมูกใสไหลเป็นอาการเด่น บางรายที่แพ้ไรฝุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งก็อาจจะมีอาการหืดจากหลอดลมหดตัวได้ แต่ผู้ป่วยโควิดในบางรายมักจะพบอาการปอดอักเสบ ไอ หอบ และ ทางเดินหายใจล้มเหลวร่วมด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นิว นอร์มอล (New Normal) ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นต่อไป จึงเป็นเรื่องของหารให้ความสำคัญต่อ “การป้องกันโรค” เทียบเท่ากับ “การรักษา”

โดยรศ.ดร.นายแพทย์พงศกร แนะนำ หลักสำคัญในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น ว่า ให้เริ่มต้นจากการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยให้ปลอดฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้ กรณีที่ยังมีอาการอยู่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าแพ้จริงหรือไม่ และแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด จากนั้นให้พิจารณาใช้ยา หรือวัคซีนภูมิแพ้ ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อที่จะทำให้ภาวะภูมิแพ้ลดน้อยลง หรือหายไปได้ในที่สุด

ซึ่งในอนาคตทีมวิจัยและพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะต่อยอดผลสำเร็จจากการพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้ สู่การพัฒนาวัคซีนชนิดอื่นๆ อาทิ วัคซีนสำหรับผู้ที่แพ้แมวและแพ้สุนัข วัคซีนสำหรับผู้ที่แพ้แมลงสาบ และวัคซีนสำหรับผู้ที่แพ้ละอองเรณูหญ้า และวัชพืช เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้จะพัฒนา“วัคซีนรุ่นใหม่” ที่เป็นชนิดหยอดใต้ลิ้น และชนิดพ่นจมูก เพื่อมีความปลอดภัยสูงและสะดวกสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ที่สามารถใช้วัคซีนด้วยตนเองที่บ้าน ลดความถี่ที่ต้องมารับวัคซีนแบบเดิมที่ต้องมารับการฉีดทุกเดือน และที่สำคัญจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 จากการที่ผู้ป่วยจะต้องเดินทางออกนอกบ้านเพื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • Off
    อมใต้ลิ้นมีคนไข้ลิ้นบวมมาเหมือนกัน ระวังด้วยนะจ้ะ
    07 มิ.ย. 2563 เวลา 04.28 น.
  • Mai Mai
    สุดยอด ขอถามเกี่ยวกับภาชนะ ปรุงอาหารร้อนที่ปลอดภัย.จะมีหน่วยงานไหนที่ช่วยตอบได้บ้าง อะไรที่เราควรใช้ เช่นหม้อกะทะชามอลูมิเนียม สแตนเลส แก้ว เซรามิค เทฟลอน สังกะสีเคลือบ
    07 มิ.ย. 2563 เวลา 01.06 น.
  • Chusak Chawviwat
    ทำดีทำจริงส่งเสิรม..อย่าเอาแต่โชวชื่อ..ผลงานต้องมีจริง..ช่วยกันสนับสนุน..แก้ปัญหาได้จริง..ฝากคณะสัตวแพทยด้วย
    07 มิ.ย. 2563 เวลา 00.55 น.
  • ศรีเงินครับ
    ที่บ้านเรามีนานละแต่ไม่เป็นข่าววัคซีนภูมิแพ้ผมฉีดที่บ้านเองหลายเดือนแล้ว ดีมากที่ไม่ต้องเดินทางไป รพ บ่อย อาการก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยเรื่อย
    06 มิ.ย. 2563 เวลา 23.51 น.
  • papon
    มหิดลเป็นเจ้าแห่งการวิจัย ปัจจุบันมีโครงการศึกษา มหิดลอินเตอร์แล้ว ความสามารถด้านภาษาอังกฤษจะเป็นพื้นฐานไปสู่วิทยาการอื่น ๆ ที่มั่นคงและกว้างไกล
    06 มิ.ย. 2563 เวลา 14.07 น.
ดูทั้งหมด