กรมอนามัย แนะ 7 วิธีทำความสะอาดผ้าให้ปลอดภัยจากโควิด หากใช้เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ให้ระวังจุดที่ต้องสัมผัสร่วมกัน หมั่นทำความสะอาดทุก 1-2 ชม.
เมื่อวันที่ 22 ต.ค.64 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การสวมเสื้อผ้าซ้ำ การอยู่ในบ้านที่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้มีโอกาสที่เชื้อโควิด-19 จะเกาะติดอยู่ตามพื้นผิวเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับได้ โดยเชื้อโควิด-19 สามารถอยู่บนผ้าได้นานถึง 24 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเภทของพื้นผิว อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น เมื่อกลับถึงบ้านจึงควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่โดยทันที ส่วนเสื้อผ้าที่ใช้แล้วให้ซักทำความสะอาด
“เนื่องจากเชื้อโควิด-19 จะมีกระเปาะหุ้มตัวเอง การซักผ้าด้วยผงซักฟอกจะไปทำลายกระเปาะหุ้มตัวนี้ได้ เมื่อไม่มีกระเปาะหุ้มตัว เชื้อโควิด-19 ก็จะตาย ดังนั้น เชื้อโควิด-19 ที่เกาะตามเสื้อผ้าสามารถทำความสะอาดได้ โดยใช้ผงซักฟอก เช่นเดียวกันกับการล้างมือที่ใช้เพียงสบู่ธรรมดา ก็กำจัดเชื้อไวรัสบนมือได้” นพ.สุวรรณชัย กล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า สำหรับการทำความสะอาดเสื้อผ้าที่สวมใส่ เพื่อลดความเสี่ยง โรคโควิด-19 อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
1.เสื้อผ้าหรือหน้ากากผ้าที่ใช้แล้ว หากยังไม่ได้ซักทันที ควรนำไปแขวนผึ่งก่อนใส่ตะกร้าผ้าเพื่อรอการซัก
2.หลีกเลี่ยงการสะบัดเสื้อผ้าในบ้าน เพื่อลดโอกาสฟุ้งกระจายของเชื้อโรค ที่อาจปนเปื้อน
3.หยิบเสื้อผ้าออกจากตะกร้า โดยทำให้ตัวเราสัมผัสเสื้อผ้าในตะกร้าให้น้อยที่สุด
4.ใส่น้ำยาซักผ้า และกดปุ่มเครื่องซักผ้าให้ทำงานตามปกติ
5.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หลังจากนำเสื้อผ้าเข้าเครื่องซักผ้า เพื่อป้องกันการนำมือสกปรกมาสัมผัสใบหน้า หรือไปสัมผัสสิ่งอื่น
6.นำไปตากแดดจัด หรือตากในที่ที่มีอากาศถ่ายเทจนแห้ง แล้วนำมารีดทั้งข้างในและข้างนอกตัวเสื้อ
7.เช็ดทำความสะอาดถัง หรือตะกร้าใส่เสื้อผ้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นประจำ
“ทั้งนี้ หากไม่มีเครื่องซักผ้าส่วนตัว และจำเป็นต้องใช้เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญที่ให้บริการตามหอพัก แหล่งชุมชนต่างๆ สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือบริเวณเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญที่เป็นจุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ช่องใส่ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ปุ่มกดเลือกโปรแกรมซักผ้า ฝาปิดเครื่องซักผ้า เป็นต้น
ผู้ดูแลจึงต้อง ทำความสะอาดให้บ่อยขึ้นกว่าเดิม หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง สำหรับผู้ใช้ควรเลือกใช้บริการในช่วงที่คนใช้น้อย รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร สวมหน้ากากตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสใบหน้า และ เมื่อกลับถึงบ้านให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ทันที” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทวีเดช มันก็เสี่ยงทุกจุกแหละ. รถเมล์/รถไฟฟ้า/โดยเฉพาะเงินที่ใช้จ่าย
22 ต.ค. 2564 เวลา 12.02 น.
😊😊 Good Day 😊😊 ร้านตู้หยอดเหรียญ คาดว่ามีลูกค้าไม่ถึง 500 คน/วัน ส่วนรถขนส่งมวลชนทั้ง รถเมล์ BTS MRT น่าจะมีผู้จับสัมผัสเป็นหมื่นๆๆ ผมว่ากรมอย่าเอามาเล่นข่าวเลย แค่นี้ก็วิตกจริตกันจะเป็นบ้ากันอยู่แล้ว
22 ต.ค. 2564 เวลา 12.11 น.
ทองผา ธรรมไหว อย่าเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เค้าเสียหาย
22 ต.ค. 2564 เวลา 12.13 น.
เอ๋ แค่เครื่องซักผ้ายัขนาดนี้ แล้วบนรถเมล์ไม่ติดกันทุกคนแล้วหรอ.....เขียนซะเวอร์
22 ต.ค. 2564 เวลา 12.39 น.
🐿หนวด🦜 พูดแบบนี่ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ เสียหาย เครื่องซักผ้า ร้านอาหาร ร้านค้าขาย จริงๆ ความเสี่ยงมันมีทุกธุรกิจ นั่นละ แต่ละร้าน เขาก็ทำความสะอาด ถ้าไม่รุ่การจัดการร้านเขาก็ควร ตรวจสอบก่อนพูดจิ
22 ต.ค. 2564 เวลา 12.40 น.
ดูทั้งหมด