ไลฟ์สไตล์

นอกจาก “ผู้นำ” แล้ว ยังมีปัจจัยอะไร? ที่ทำให้พม่าต้องเป็น “อาณานิคม” ของอังกฤษ

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 30 ก.ย 2566 เวลา 15.29 น. • เผยแพร่ 08 พ.ย. 2564 เวลา 06.25 น.
(จากซ้าย) พระนางศุภยาจี พระนางศุภยาลัต และพระเจ้าธีบอ ของพม่า

พม่า ถูกอังกฤษยึดทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2428 มักถูกมองว่าเป็นปัญหาจากตัวบุคคล บุคคลที่ว่าก็คือ พระเจ้าธีบอ ที่ประวัติศาสตร์ประณามว่า ทารุณโหดร้าย ขึ้นครองราชย์ด้วยการแย่งชิงราชสมบัติ, รับสั่งประหารเจ้านายและขุนนางจำนวนมาก เป็นผู้นำที่อ่อนแอยอมอยู่ใต้อำนาจของพระราชินี (พระนางศุภยลัต)

ซึ่ง “ผู้นำ” นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพราะยังมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย นั่นคือ ทำเลที่ตั้งของ พม่า ที่เป็น Land Link สู่ประเทศจีน แหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ที่ชาติตะวันตกขณะนั้นต้องการ ยิ่งเมื่อมีคลองสุเอซมาเป็น “ตัวเร่งปฏิกริยา” จึงทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น

ด้วยก่อนหน้านั้น วิทยาการการเดินเรือได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับแล้ว โดยปี 2312 มีการคิดค้น “เครื่องจักรไอน้ำ” ได้แล้ว, ต่อมาในปี 2350 ชาวตะวันตกคิดค้นเรือกลไฟขนาดเล็กใช้เดินในแม่น้ำและเลียบชายฝั่ง, ปี 2361 เรือกลไฟขนาดเล็กก็พัฒนาเป็นเรือกลไฟขนาดใหญ่ข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรก แม้จะเป็นการใช้เครื่องจักรไอน้ำผสมใบเรือก็ตาม,

ถึงปี 2370 การใช้เครื่องจักรทั้งหมดในการเดินทางจึงเกิดขึ้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางอย่างมาก นอกจากนี้ การเปลี่ยนวัสดุในการต่อเรือจาก “ไม้” มาเป็น “เหล็ก” เหล็กวัสดุที่มีแข็งแรงทนทานต่อพายุและคลื่นลม และทำให้เรือสามารถบรรทุกสิ่งของได้มากกว่าเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อคลองสุเอซ (เชื่อมระหว่างทะเลเมติเตอร์เรเนียน-ทะเลแดง) เปิดใช้ในปี 2412 เส้นทางเดินเรือใหม่ก็เกิดขึ้น จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซ ออกทะเลแดง สู่มหาสมุทรอินเดีย ย่อมประหยัด “ต้นทุน”, เวลา, ค่าใช้จ่าย กว่าการแล่นเรืออ้อมทวีปแอฟริกาทั้งแบบเดิม

ขณะที่อังกฤษได้ยึดพม่าตอนล่างไปแล้ว จึงเดินหน้ายึดพม่าตอนบนที่เหลือ นอกจากได้ทรัพยการและแรงงานในพม่าแล้ว ยังได้เส้นทางลัดเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ ผ่านทางรัฐฉานของพม่าที่มีเขตแดนติดกับมณฑลยูนานของจีน

ฝรั่งเศสเองก็พยายามเข้าสู่ประเทศจีนจากทางตอนใต้ โดยการยึดเวียดนามตอนใต้ และเขมร ก่อนจะขยายไปสู่ตอนบนของประเทศเวียดนาม โดยหวังจะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางหลัก ถึงกับมีการสำรวจแม่น้ำโขงเป็นการใหญ่เมื่อปี 2409 แต่แม่น้ำโขงในเวลานั้นก็ไม่เหมาะกับการเดินเรือขนาดใหญ่ได้ตลอดสาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อเวลาและสถานการณ์เหมาสมทุกอย่างก็ลงเอยด้วยประการละฉะนี้

คลิกอ่านเพิ่มเติม : สิ้นชาติสูญเอกราช “พม่าเสียเมือง” เมื่อทูตพม่าปรับทุกข์กับทูตไทย ณ ปารีส

คลิกอ่านเพิ่มเติม : เบื้องหลังอันน่าสลด พระศพพระเจ้าธีบอไม่ได้หวนคืนพม่า ทั้งที่สิ้นพระชนม์กว่าร้อยปี

ข้อมูลจาก

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พม่าขบวนการนักศึกษากับประวัติศาสตร์อันระทึกใจ, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศษสตร์และมนุษยศาสตร์, มิถุนายน 2533

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 สิงหาคม 2563

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • Petaya Denpruegsa
    เอามาอ้างเหตุจากผู้นำไม่ดี มันใช่ที่ป่าว? คนศึกษาประวัติศาสตร์มา ก็จะรู้ดีว่าสาเหตุมาจากชาติตะวันตก แย่งกันเข้ายึดจีนแผ่นดินใหญ่ให้ได้ก่อนกัน เส้นทางอาคเนย์เป็นแค่เส้นทางเล็กๆ ส่วนใหญ่เข้าทางฮ่องกง มาเก๊า เซี่ยงไฮ้ โน่น
    02 ก.พ. 2564 เวลา 07.58 น.
  • ken
    พอเห็นแหล่งอ้างอิงข้อมูล จาก ดร.ท่านนี้ ทำให้ไม่สามารถเชื่อถือข้อมูลได้ 100% ขออ่านประวัติศาสตร์จากแหล่งอ้างอิงท่านอื่นประกอบด้วย จะเป็นการดีกว่า
    02 ก.พ. 2564 เวลา 07.13 น.
  • ติ๊ก
    คนที่เค้าไม่ชอบต่อให้เราทำดีหรือถูกต้องเช่นไรถ้าไม่ถูกจริตเค้าอย่างไรเค้าก็ไม่ชอบอยู่ดีเน่อะ
    02 ก.พ. 2564 เวลา 07.17 น.
  • Note
    พวกฝรั่งน่ารังเกียจ ไม่เคยเห็นพวกเอเชียอย่างเราเป็นมนุษย์เหมือนอย่างเค้าเลย
    03 ก.พ. 2564 เวลา 10.54 น.
  • P'กานต์
    อาณานิคมของอังกฤษ ส่วนใหญ่จะเจริญ ...มาเล ฮ่องกง
    02 ก.พ. 2564 เวลา 07.38 น.
ดูทั้งหมด