ทั่วไป

ต้นทุนของสังคมไทย จากมลพิษ-วิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5

ประชาชาติธุรกิจ
เผยแพร่ 16 ก.พ. 2562 เวลา 15.02 น.

คอลัมน์ ระดมสมอง

โดย รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

หลายคนคงทราบจากคุณหมอหลาย ๆ ท่านว่าฝุ่นพิษ PM 2.5 ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก แต่หากจะตีมูลค่าความเสียหายที่สังคมไทยเผชิญจากสุขภาพที่แย่ลง ทราบหรือไม่ครับว่าคิดเป็นมูลค่าความเสียหายเท่าไหร่ ?

จากงานวิจัยที่ผมเคยทำเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (Attavanich, 2017) ซึ่งคิดว่ายังคงใช้การได้ดีหากนำมาปรับค่าของเงิน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวคิด Subjective Well-Being ซึ่งมีข้อสมมุติว่าสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กำหนดคุณภาพชีวิตที่วัดจาก “ความพึงพอใจในชีวิต” ที่จะถูกประมาณให้เป็นฟังก์ชั่นของปัจจัยต่าง ๆ อาทิ รายได้ สิ่งแวดล้อม โดยมีการควบคุมปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ประชากรศาสตร์ และปัจจัยเชิงพื้นที่ จากนั้นใช้วิธีทางเศรษฐมิติเพื่อประมาณมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายหน่วยสุดท้าย ที่แอบแฝงอยู่กับความพึงพอใจ โดยใช้หลายรูปแบบของการประมาณค่า และข้อมูลมลพิษทางอากาศรายชั่วโมง นำมาจากกรมควบคุมมลพิษซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 11 สถานีทั่วกรุงเทพฯ (4 สถานีริมถนน และ 7 สถานีพื้นที่ทั่วไป)

ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายหน่วยสุดท้ายมีค่าเท่ากับ 6,379.67 บาทต่อครัวเรือนต่อปีต่อไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 10) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ถ้านำมูลค่าดังกล่าวมาคูณกับจำนวนครัวเรือนของกรุงเทพมหานคร (ปี พ.ศ. 2560) จำนวนทั้งสิ้น 2,887,274 ครัวเรือน จะพบว่า ทุก ๆ 1 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 10) ที่เกินกว่าระดับปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน จะสร้างความเสียหายให้กับคนกรุงเทพฯถึง 18,420 ล้านบาท

หากเป็นฝุ่นพิษขนาดเล็กมากอย่าง PM 2.5 ค่าสร้างความเสียหายมากกว่านี้เยอะ แต่เสียดายที่ยังไม่มีข้อมูลมากพอ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ให้คำนวณได้ หลายคนคงถามว่าทำไมเยอะจัง ต้องไม่ลืมว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ๆ อันตรายสุด ๆ มันสะสมในร่างกาย และเมื่อใดปรากฏอาการก็มักจะสายเกินแก้แล้ว ดังนั้นอย่าคิดว่าออกไปข้างนอกแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย จริง ๆ มันเป็นภัยมืดที่น่ากลัวมาก ๆ คนไทยยังไม่ได้ตระหนักถึงความน่าสะพรึงกลัวจากเจ้าฝุ่นพิษนี้ ในต่างประเทศเขากลัวกันมากถึงขึ้นมีการเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ สวมหน้ากากป้องกัน ซื้อเครื่องฟอกอากาศมาติดตั้งที่บ้าน เป็นต้น

เนื่องจากตอนนี้ปัญหาฝุ่นพิษทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายคนคงอยากทราบว่าเราควรจะรับมือกับวิกฤตนี้อย่างไร

ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ? เราจะลดฝุ่นพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอย่างไร ? แล้วจะลดฝุ่นพิษจากการเผาในที่โล่งแจ้งในภาคเกษตรอย่างไร ? ควรมีมาตรการอะไรเพิ่มเติม ? ขอเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแนะแนวทางรับมือกับวิกฤตฝุ่นพิษโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ดังนี้ครับ

ในทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จะต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบ 1.กลไกในการควบคุมพฤติกรรม (บังคับ หรือสร้างแรงจูงใจ) 2.ระดับของการควบคุมมลพิษเป็นแบบทางตรงหรือทางอ้อม 3.ตัวแปรที่ใช้ในการควบคุม ได้แก่ ราคา ปริมาณ และเทคโนโลยี โดยคำนึงแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างรถยนต์ หรือพื้นที่เพาะปลูกเกษตรกร โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

หลังจากที่นั่งทบทวนสาเหตุของปัญหา รวมถึงได้อ่านงานวิจัยของนักวิจัยหลายท่าน ขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษดังนี้ครับ

1.การสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของฝุ่นพิษ มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)

– สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของฝุ่นพิษอย่างทั่วถึง วิธีป้องกันตนเองและครอบครัว เป็นวิธีที่ต้นทุนต่ำสุดเกิดผลประโยชน์สูงมาก

– เพิ่มจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศให้มากขึ้นในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย และเชื่อมโยงแอปพลิเคชั่นเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัยคุณภาพอากาศแบบ real time มาตรการระยะกลางและยาว (1-3 ปี)

– ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบจากฝุ่นละอองต่อสุขภาพ

– สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของมลพิษประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก

– ปรับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในทุกมลพิษ รวมถึงฝุ่นพิษให้เข้มงวดมากขึ้นจากปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันไทยกำหนดมาตรฐานฝุ่นพิษเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 และ PM 10 ที่ 50 และ 120 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานฝุ่นพิษรายปี PM 2.5 และ PM 10 ที่ 25 และ 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม.

2.ลดการปล่อยฝุ่นพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)

– เคร่งครัดการตรวจจับควันดำ และการดัดแปลงเครื่องยนต์ในรถทุกชนิด การต่อทะเบียนรถยนต์ใหม่ทุกครั้งต้องเข้มงวดให้มากเรื่องการตรวจสภาพรถ ย้ำว่าต้องทำให้ต่อเนื่องและจับจริงหากพบการละเมิดมาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)

– จำกัดปริมาณรถยนต์ในบริเวณเขตเมืองที่มีการจราจรคับคั่ง โดยใช้ระบบโซนนิ่ง ใครต้องการขับรถยนต์เข้าไปต้องเสียค่าผ่านเข้าเขต

– เพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งมวลชนด้วยราคาที่สมเหตุสมผล

– ปรับปรุงแผนการขนส่งและจราจร ต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม

– เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสำหรับรถยนต์ใหม่ นำเงินภาษีส่วนนี้มาใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

– เก็บภาษีเพิ่มรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานนานหลายปีแบบขั้นบันได รถยิ่งเก่าอัตราภาษียิ่งสูง

– ยกระดับมาตรฐานน้ำมันและไอเสียจากระดับยูโร 4 เป็นยูโร 5 หรือยูโร 6 สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก

– เนื่องจากเครื่องยนต์ไอเสียดีเซลถูกพบจากงานวิจัยว่าเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษและมลพิษอื่น ๆ ดังนั้นควรยกระดับมาตรฐานไอเสียและน้ำมันของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่จากระดับยูโร 3 เป็นยูโร 5มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป)

– ส่งเสริมและเตรียมความพร้อมในการใช้รถไฟฟ้า EV โดยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีรถยนต์ EV ให้แข่งขันได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันขับเคลื่อน

3.ลดฝุ่นพิษจากการเผาในที่โล่งแจ้งในภาคเกษตร

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)

– ลดการเผาในที่โล่งแจ้ง

– สร้างความตระหนักรู้ให้กับเกษตรกร

– ออกมาตรการงดเผาช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปีทุกพื้นที่ ฯลฯ

มาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)

– ส่งเสริมให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมักในทุกพื้นที่ พร้อมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรต่อไร่ เพื่อชดเชยกับต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มกรณีไม่เผา

– เนื่องจากมลพิษเกิดขึ้นเพราะไม่มีตลาดรองรับเหมือนสินค้าทั่วไป ดังนั้นควรจะต้องส่งเสริมตลาดให้กับมลพิษ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการส่งเสริมตลาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป)

– ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟางข้าว และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

4.การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)

– เคร่งครัดการตรวจสอบการปล่อยมลพิษ โดยดำเนินการปรับหรือปิดโรงงาน หากพบว่ามีการละเมิดไม่ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด

มาตรการระยะกลาง (ภายใน 1-3 ปี)

– เร่งส่งเสริมและยกระดับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แพร่หลายมากขึ้น

มาตรการระยะยาว (ตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป)

– ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น เช่น ลดการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

5.มลพิษมาจากประเทศเพื่อนบ้าน

มาตรการระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)

– ขอความร่วมมือและสร้างข้อตกลงร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง มาตรการระยะกลางและยาว (ภายใน1-3 ปี)

– พิจารณาเตรียมศึกษาและนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป หากการขอความร่วมมือยังไม่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ

6.การประเมินผลความสัมฤทธิ์ของมาตรการ

ท้ายสุดที่ขาดไม่ได้ คือ การประเมินผลความสัมฤทธิ์ของมาตรการ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • ส้มตำ ปูม้า
    ไม่ไปดูตามโรงแรมโรงงานเผาถ่านหินกันเลยนะ เห็นแต่รถควันดำ เก็บภาษี คิดสู้แมาค้าส้มตำยังไม่ได้เลย อ.บ้านเรามันน่าเศร้า
    17 ก.พ. 2562 เวลา 01.38 น.
  • •Yak’s~
    !.คือว่านะครับ​ โครงการฝนหลวงของ​ ร.๙​ ช่วยได้ไหมครับ​ ประมาณว่าทำให้ฝนตก​ ฝนน่าจะเป็นตัวช่วยในการลดฝุ่นพิษได้นะครับ เราเอาแต่ชีดน้ำลดฝุ่น​ ผมว่าเปลือง​งบประมาณ​ไปโดยเปล่า​ประโยชน์​นะครับ​ หากนำโครงการฝนหลวงมาแก้ไขเรื่องฝุ่นพิษได้​ ผมว่าน่าจะคุ้มค่า​กว่าใ้ช้กำลังพลโดยเปล่าประโยชน์ #รบกวนช่วยพิจารณา​ด้วยครับ
    17 ก.พ. 2562 เวลา 00.46 น.
  • สมุทรปราการเต็มร้อย กวาดบ้านวันละสี่ห้าครั้ง มันมาจากโรงงาน ปลาป่น แม่ง อบกันทั้งวันทั้งคืนเป็น ฝุ่นละออกเค็ม อะไรที่อยู่ ใกล้เเคียงแถวนั้นจะถูกกัด กล่อน ไม่ว่าจะเป็น โลหะ ทุกชนิด ตึกรามบ้านช่อง รถยนต์ หรือแม้กระทั่งคน ทีสูดกลิ่นมันเข้าไปทุกวัน กลิ่นของมันเหม็นเหมือน ศากศพ มลพิษที่มันเกิด มันมาจากคนรวย ทำธุระ กิจมลพิษขึ้นมาทั้งสิ้น คน ที่ใช้ชีวีตประวันอย่างเราๆ ไปทำอะไรไม่ได้ร่อก รอวัน ตายผ่อนส่งเท่านั้นเอง
    17 ก.พ. 2562 เวลา 00.03 น.
  • RROON
    เครื่องลดมลภาวะ พลังพีระมิด เดินเครื่องมา2วัน อากาศในกทม.สะอาด รวดเร็ว ประหยัด เหลือเชื้อจริงๆ แต่พิสูจน์ได้แล้ว ติดตั้งถนนราชดำเนินนอก เยี่ยมชมเฟส พุทธอุทยาน บูรณรักษ์ธรรมแล้วจะเข้าใจ
    16 ก.พ. 2562 เวลา 23.15 น.
  • ต้องช่วยกันนะ ในครัวเรือนใช้การดูดฝุ่นแทนการกวาดหรือน้ำซับผ้าแล้วถูก ในสำนักงานก็เหมือนกัน ในถนนก็ล้างกันสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง มีรถปั่นฝุ่นพร้อมเครื่องดูดนะ การก่อสร้างต้องมีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งเครื่องดูดฝุ่นผ่านท่อแล้วลงไปถังดักฝุุ่นระบบเปียก ท่อไอเสียรถยนต์ทุกชนิดต้องติดตัวกรองสามช่วงของท่อไอเสีบ ป่องควันของโรงงานต้องไม่ปล่อยออกเลยต้องผ่านระบบการกำจัดเขม่าก่อ นปล่อย ภายนอกอาคารของตึกวูงต้องมีการล้างทำความสะอาด ภาคการเกษตรต้องมีการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในการตัด
    16 ก.พ. 2562 เวลา 22.42 น.
ดูทั้งหมด