ทั่วไป

เช็ค ‘อาการหลังฉีดวัคซีน’ ที่พบบ่อย พร้อมการดูแลเบื้องต้น

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 09 มิ.ย. 2564 เวลา 09.02 น. • เผยแพร่ 09 มิ.ย. 2564 เวลา 01.15 น.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (ศบค.) แถลงข่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดCOVID-19 ประจำวันที่8 มิถุนายนพ.ศ.2564 พร้อมเปิดเผยถึงความคืบหน้าการ "ฉีดวัคซีน" ในประเทศไทย โดยสรุปสถานการณ์ฉีดวัคซีนคนไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 7 มิถุนายน พ.ศ.2564 ดังนี้

  • มียอดฉีดวัคซีนสะสมที่4,634,941 โดสใน77 จังหวัด
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่1 จำนวน3,243,913 โดสหรือคิดเป็น4.90 เปอร์เซ็นต์
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่2 จำนวน1,391,028 โดสหรือคิดเป็น2.10 เปอร์เซ็นต์
162322931294
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • อาการหลัง "ฉีดวัคซีน" ที่พบบ่อยคืออะไรบ้าง? 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) รายงานอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2564 

สรุปจากผลสำรวจผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด มีผู้ไม่พบผลข้างเคียง 90.27% และ พบผลข้างเคียง 9.73% แบ่งเป็นอาการดังนี้ 

ปวดกล้ามเนื้อ 2.34% 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปวดศีรษะ 1.73%

ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด 1.24% 

เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 1.14% 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ไข้ 0.77% 

คลื่นไส้ 0.53%

ท้องเสีย 0.35%

ผื่น 0.28% 

ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.23%

อาเจียน 0.14%

อื่นๆ 0.98% 

ทั้งนี้ พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง ที่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้วทั้งหมด18 ราย(4.3 ในล้านราย) แบ่งเป็น 

  • อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) (4 ในล้าน)

  • อาการชา (polyneurophaty) (0.3 ในล้าน)

  • อาการไม่พึงประสงค์ หลังฉีดวัคซีนเป็นเรื่องปกติไหม? 

จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่เช่นอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาแต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม 

แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย30 นาที ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอ และเนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว 

หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง และไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

  • เช็คอาการไม่พึงประสงค์ และการดูแลเบื้องต้น

รศ.พญ.พรรณพิศ สุวรรณกูล อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ก่อนฉีดวัคซีน ให้ดื่มน้ำเยอะๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว การพบผลข้างเคียงรุนแรงจะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก โดยอาการแพ้วัคซีนที่อาจพบได้หลังจากฉีดวัคซีนในช่วง 30 นาทีแรก คือ มีผื่นขึ้น ลมพิษ มีอาการคันบวมที่ใบหน้า ปาก หรือลำคอ หายใจติดขัด ความดันเลือดต่ำคลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นต้น 

เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้หากมีผื่นลมพิษไข้สูงมากหน้ามืดเป็นลมแขนขาอ่อนแรงเจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที

ข้อปฏิบัติหลังการฉีดวัคซีน ยังแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยล้างมือให้บ่อยๆรักษาระยะห่างทางสังคมหากไปพื้นที่เสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด-19 ควรกักตัวอย่างน้อย14 วัน

นอกจากนี้ในผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 แม้ในร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออยู่แล้วแต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกันไวรัสได้จึงควรได้รับวัคซีนโดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้ออย่างน้อย3 เดือน

---------------------------

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

ดูข่าวต้นฉบับ