ทั่วไป

"ปณิธาน" เผยไฟใต้เข้าสู่ "New Normal" ชี้ "ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" - "The New Normal South" แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 09 พ.ย. 2562 เวลา 11.30 น. • เผยแพร่ 09 พ.ย. 2562 เวลา 11.30 น.

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักรัฐศาสตร์ อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โพสต์ Facebook “Panitan Wattanayagorn” ถึงปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “The New Normal South”

สื่อทั้งในและต่างประเทศต่างก็รายงานว่า สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคของความรุนแรงครั้งใหม่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพราะตั้งแต่ต้นปี มีสัญญาณบอกเหตุที่ไม่ดีหลายประการ เช่น ขีดความสามารถของกลุ่มต่อต้านรัฐที่เพิ่มขึ้น แกนนำรุ่นใหม่ของกลุ่มก่อความไม่สงบ เข้ามาแทนที่คนรุ่นเก่ามากขึ้น และ เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ในพื้นที่

แม้ว่าตัวเลขสถิติทางการยังคงชี้ให้เห็นว่า ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินใน จชต.ลดลงมากถึง 3-5 เท่า เทียบจากช่วงปีที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงสูงๆ และปัจจุบัน การทำงานของหน่วยงานของภาครัฐและภาคประชาสังคมในพื้นที่ก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

แต่ปัจจัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นข้างต้น ทำให้ไฟที่กำลังจะมอดไปนั้น เกิดปะทุขึ้นมาอีก เพราะมีความรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีเป้าหมายพลเรือนที่อ่อนแอกว่า (softer targets) เช่น จุดตรวจของอาสาสมัคร หรือการโจมตีเป้าหมายความมั่นคงที่มีจุดอ่อน เช่น โรงพัก หรือที่ตั้งของกองกำลังฝ่ายรัฐ รวมทั้งการออกปฏิบัติการนอกพื้นที่ของกลุ่มก่อความไม่สงบที่เพิ่มขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งหมดนี้ นักวิเคราะห์อาจจะเรียกว่าเป็น ความไม่ปกติที่เป็นปกติ (New Normal) ซึ่งทางภาครัฐได้มีการสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่แก้ไขและปรับเปลี่ยนแผนการรักษาความปลอดภัยในระยะเฉพาะหน้าให้ดีขึ้นแล้ว

หลายคน โดยเฉพาะครอบครัวผู้ที่สูญเสียหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาจจะผิดหวังหรือท้อแท้ต่อสภาพการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอีกหลายคนก็คงจะคิดว่า ปัญหาใน จชต.นั้น แก้ไม่ได้แล้ว หรือยิ่งแก้ยิ่งแย่ลง

แต่ Jonathan Powell อดีตหัวหน้าคณะเจรจาปัญหาความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือของอังกฤษ ซึ่งประสบความสําเร็จในการเจรจายุติความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 30 ปี ผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 3,500 คน และได้เล่าประสบการณ์ของเขาในการหยุดยั้งการสู้รบกับกองกำลังติดอาวุธของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในหนังสือชื่อ Talking to Terrorists : How to End Armed Conflicts ตลอดจนได้เดินทางไปช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการแบ่งแยกดินแดนที่รุนแรงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น เขาคิดต่างจากคนไทยหลายๆ คนในเรื่องการแก้ปัญหา จชต.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในช่วงรัฐบาลที่แล้ว คุณ Jonathan ได้เดินทางไปใน จชต.หลายครั้ง และได้กลับขึ้นมาสรุปให้ฟังว่า ในกรณีของ จชต.นั้น ยังมีความหวังที่จะยุติปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงอยู่ และไทยก็ได้แก้ปัญหาหลายประการไปในทิศทางที่ถูกต้อง เขาบอกอย่างมั่นใจว่าเขาได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว ถ้าเทียบกับหลายปีก่อนหน้านี้ เพียงแต่ว่าต่อไปนี้ไทยจะต้องมีแผนการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นและรอบด้านมากขึ้นเท่านั้น

แผนที่ว่านั้น ในปัจจุบันนี้มีแล้วและก็คือ “แผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ซึ่งเป็นแผนงานเร่งด่วนในระยะ 5 ปีแรกของการบังคับใช้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ซึ่งก็เป็น 1 ใน 6 กรอบการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ของยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่างปี 2561-2580

“แผนตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ดังกล่าว เป็นแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนในด้านสำคัญๆ ของกว่าเจ็ดพันตำบลเป้าหมายทั่วประเทศ รวมทั้งใน จชต.ด้วย โดยมีตัวชี้วัดและห้วงเวลาปฎิบัติที่ชัดเจน และที่สำคัญคือมีความผูกพันทางกฏหมายกับทุกหน่วยงาน โดยบังคับให้มีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันและไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของการบริหารจัดการของภาครัฐของไทยอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง

ซึ่งการนำยุทธศาสตร์ชาติแบบนี้มาใช้ ก็คล้ายคลึงกับหลายประเทศที่ได้ประสบความสำเร็จในการนำยุทธศาสตร์ชาติมาใช้การพัฒนาประเทศก่อนหน้านี้ เช่น อังกฤษ หรือมาเลเซีย

สำหรับ จชต. แผนตำบลในยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวจะผูกมัดหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน และกว่า 20 กระทรวงที่มีโครงการต่างๆ ในพื้นที่ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิผลจริงจังและวัดได้ด้วยตัวชี้วัดที่เป็นสากล ซึ่งหากไม่สำเร็จ ก็อาจจะมีการยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อให้มีการถอดถอนผู้ที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาในอนาคตได้

การที่ภาคประชาชนจะได้นำแผนพัฒนาต่างๆ ในยุทธศาสตร์ชาติไปเป็นแนวทางผลักดันให้สถานการณ์ใน จชต.ดีขึ้นนั้น จะเป็นแสงสว่างที่แท้จริงในอุโมงค์ ซึ่งจะนำพาทุกคนให้ออกจากอุโมงค์ไปสู่โลกภายนอก

เพราะในที่สุดแล้ว คนในพื้นที่จะรู้ดีว่าอะไรเหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง และเมื่อมีเครื่องมือใหม่ คือยุทธศาสตร์ชาติที่สามารถใช้กำหนดวิถีการพัฒนาของท้องถิ่นได้แล้ว การแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะเข้าสู่ยุคใหม่ (The New Normal South) ที่สงบสุขและปกติอย่างแท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 16
  • mu Macgyver
    โถ..ป้อมแบบนั้นกูท้าให้ซีลไปอยู่เลย รับรองได้ขี่โหลกลับบ้าน ถ้าคนเคยรบมองปั้งเดียวก็รู้ มันศาลาพักศพชัดๆ ใครมันคนออกแบบวะต้องเอาไอ้นี่ไปยิงทิ้งก่อนเลย
    09 พ.ย. 2562 เวลา 13.09 น.
  • gorn
    ปัญหาของรัฐบาลทหารคือ มีแผนแต่นำไปปฏิบัติไม่เป็น ชอบสร้างภาพ ดูอย่างการปิดโรงเรียนที่ราชบุรี เพราะนายกฯจะเดินทางไปประชุม เพราะกลัวรถติด กลัวเกิดภาพที่ไม่ดี กลายเป็นนายกฯไม่เคยเห็นความจริงในสังคม ประชาชนเป็นอยู่ยังไง เดือดร้อนอะไร เพราะภาพถูกเซตให้สวยงามก่อนที่นายกฯจะไปดู ไปถึงก็มีแต่คนเอาดอกไม้มาให้
    09 พ.ย. 2562 เวลา 12.24 น.
  • @mnatton
    "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ที่ในหลวง ร.9 ทรงพระราชทานไว้น่าจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำสันติสุขกลับสู่ชายแดนใต้อย่างแท้จริง ชาวบ้านในพื้นที่คือผู้ที่รู้ดีที่สุด แต่เขาไม่กล้าให้ข่าว ไม่กล้าให้ความช่วยเหลือ จนท.รัฐ ส่วนหนึ่งมาจากความปลอดภัย เพราะ จนท.รัฐ ไม่สามารถคุ้มครองและรับประกันความปลอดภัยให้เขาได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ไว้วางใจ จนท.รัฐ เพราะเรา "เข้าไม่ถึง" เขา จะทำอย่างไรถึงจะเข้าถึง เพื่อให้เขาร่วมมือและช่วยเหลือ จนท.รัฐ ทำได้เมื่อไร ก็แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้เมื่อนั้น
    09 พ.ย. 2562 เวลา 13.08 น.
  • ไอ้บ้า ดีแต่พูดน้ำเน่าเหม็นขี้ฟัน. .ตายห่ากี่พันศพแล้ว เจ้านายมึงเก่งแต่ปากหายหัวเข้ากระดองปล่อยให้ลูกน้องตายห่ากันหมดพวกมึงแดกเงินเดือนนั่งห้องแอร์สบาย ถุยยยยยท. .....ดีแต่ว่าคนกรุงเทพหนักแผ่นดิน. พวกหนักแผ่นดินตัวจริงอยู่ 3. จว.ภาคใต้ กล้าลงไปป่าว
    09 พ.ย. 2562 เวลา 13.14 น.
  • Prapant w.
    เก่งแต่ปาก เก่งหลังเหตุการณ์เกิด
    09 พ.ย. 2562 เวลา 13.00 น.
ดูทั้งหมด