ทั่วไป

เขื่อนแม่โขงพ่นพิษ! นักวิชาการชี้พื้นที่ชุ่มน้ำ​ "ป่าน้ำท่วมแม่น้ำโขง" ​กัมพูชา​ กำลังตาย...

NATIONTV
อัพเดต 18 ต.ค. 2562 เวลา 05.14 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 22.20 น. • Nation TV
เขื่อนแม่โขงพ่นพิษ! นักวิชาการชี้พื้นที่ชุ่มน้ำ​ ป่าน้ำท่วมแม่น้ำโขง ​กัมพูชา​ กำลังตาย…

แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านกัมพูชาแห้งลงผิดปกติ กระทบกับพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่เรียกว่า "ป่าน้ำท่วม" นักวิชาการชี้ว่าเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากการสร้างเขื่อน ในลำน้ำโขง นับเป็นหายนะทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาค

17 ต.ค. 62 - ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ข่าวร้ายจากแม่น้ำโขงหลังจากไหลผ่านลาวใต้เข้ากัมพูชาก็คือ ป่าน้ำท่วม (seasonnally-flooded forest) กลางแม่น้ำโขงในพื้นที่ชุ่มน้ำสตึงเตร็งซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Stung Treng Ramsar Site) ในเขตประเทศกัมพูชา กำลังตายหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนตอนบน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ก่อนหน้านี้ป่าน้ำท่วมก็แย่อยู่แล้ว เพราะต้นไม้เริ่มตายจากการที่จีนควบคุมน้ำ แต่ในปีนี้ป่าน้ำท่วมกำลังแย่หนัก หลังจากน้ำในแม่น้ำโขงในฤดูฝนลดฮวบฮาบและแห้งราวกับฤดูแล้ง หลังจากเขื่อนไซยะบุรีทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปกติแล้ว ป่าน้ำท่วมในแม่น้ำโขงจะถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากนานได้หลายเดือน ป่าน้ำท่วมจะมีพืชหลากหลายชนิด รวมทั้งต้นไม้ใหญ่ อย่างเช่น โพธิ์น้ำ รากของต้นไม้จะมีรากฝอยรอบลำต้น ในฤดูแล้ง ป่าน้ำท่วมคือบ้านของนกนานาชนิด เมื่อถูกน้ำท่วม ป่าน้ำท่วมและรากของต้นไม้ในป่าจะเป็นบ้านและที่วางไข่ของสัตว์และปลาหลากหลายชนิด

ชาวบ้านแถบสตึงเตร็งจะหาปลารอบๆ ป่าน้ำท่วมได้เกือบตลอดปี ยกเว้นในช่วงที่น้ำหลากแรง จะไม่สามารถวางเครื่องมือหาปลาได้ช่วงที่ถูกน้ำท่วมนานหลายเดือน ต้นไม้ในป่าน้ำท่วมจะผลัดใบ และแตกใบใหม่ที่ยอดต้นไม้ที่อยู่เหนือน้ำ กระแสน้ำโขงที่เชี่ยวกรากจะพัดพาต้นไม้แกว่งไกวไปมาราวกับต้นไม้เต้นระบำ และเมื่อน้ำลด ป่าน้ำท่วมก็จะกลับมาเขียวขจีอีกครั้ง นี่คือวัฏจักรของระบบนิเวศน์แม่น้ำโขงที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงไม่เพียงแต่ทำให้ป่าไคร้ตลอดแนวพรมแดนไทย-ลาว ตายเกือบหมดเท่านั้น แต่ยังทำลายป่าน้ำท่วมในแม่น้ำโขงในกัมพูชา วึ่งเป็นระบบนิเวศน์เฉพาะที่ไม่สามารถทดแทนได้ ผลกระทบนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นกับป่าน้ำท่วมในทะเลสาบเขมร ทะเลสาบน้ำจืดที่มีการทำประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

"วันนี้ เขื่อนได้ทำลายของขวัญที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้เรา และเราไม่อาจสามารถปกป้องมันเพื่อส่งต่อไปยังลูกหลานได้ เขื่อนกั้นโขงคือหายนะของระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง และถือได้ว่าอยู่ในขั้นของภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดในภูมิภาคนี้" ดร.ไชยณรงค์ ระบุ

ภาพโดย ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ถ่ายไว้ระหว่างใช้ชีวิตที่เกาะแห่งหนึ่งในสตึงเตร็งระหว่างปี 2548-51

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 62
  • PTD
    จีนมันเห็นแก่ตัว ไม่ต้องไปเอาใจมันมาก
    17 ต.ค. 2562 เวลา 23.00 น.
  • J❤️JOE
    เราชอบว่าอเมริกาเห็นแก่ตัว จีนก็ไม่ต่างกันเอาเปรียบเพื่อนบ้านตลอด หลายประเทศที่มีพรมแดนติดกันโดนเอาเปรียบฮุบเอาทุกอย่างเป็นของมันหมด #มนุษย์อยู่ที่ไหนฉิบหายที่นั้น
    18 ต.ค. 2562 เวลา 01.08 น.
  • (เป็ด)Natcharee
    จะทำไงดี ไม่น่ามีเขื่อนในเส้นทางน้ำนี้เลย
    17 ต.ค. 2562 เวลา 23.57 น.
  • varavuth
    มนุษย์เป็นเเก่ประโยชน์ ทำอะไรไม่สนสิ่งแวดล้อม ปล่อยให้ธรรมชาติเสียหายเพราะมันคิดว่าไม่ใช้เจ้าของ
    17 ต.ค. 2562 เวลา 23.51 น.
  • New@LA
    ฟ้องUN ฟ้องศาลโลก ที่ไหนก็ได้ไหม ทำลายสิ่งที่ใช้ร่วมกันแบบนี้
    18 ต.ค. 2562 เวลา 00.18 น.
ดูทั้งหมด