สุขภาพ

ไดเอ็ท แล้วไง

Rabbit Today
อัพเดต 21 เม.ย. 2562 เวลา 10.03 น. • เผยแพร่ 21 เม.ย. 2562 เวลา 10.03 น. • มิกกี้-นนท์ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชร

เชื่อว่าหลายคนเคยพยายามลดน้ำหนัก/ ไขมัน มาแล้วอย่างน้อยครั้งหนึ่งหรือมากกว่าในชีวิต แต่ปัญหาของหลายคนอาจจะไม่ได้อยู่ที่การลดน้ำหนัก/ ไขมัน แต่คือการที่รักษาส่วนที่ลดลงไป และไม่ให้กลับมาอีก หรือมากกว่าเดิม จึงทำให้เวลาเราพยายามไดเอ็ตเพื่อลดน้ำหนัก/ ไขมัน แทนที่จะลดน้อยลง แต่ไม่ลง หรือกลับขึ้นมามากกว่าเดิมได้

จริงๆ แล้วทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างตัวเองได้ แต่หลายคนอาจจะใช้วิธีที่ไม่ได้ดีที่สุด หรือไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ยืนยาว และที่สำคัญ ใช้วิธีที่เร็วเกินไป ใจร้อนเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถยึดติดได้ หลายๆ วิธีการไดเอ็ต อาจจะได้ผลในระยะแรกๆ แต่พอผ่านไปไม่นาน เราจะเริ่มรู้สึกว่า น้ำหนักตัวเราไม่ลดลง หรือรู้สึกว่าไดเอ็ตนี้ไม่ได้ผลแล้ว ทั้งที่จริงแล้วยังได้ผลอยู่ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปกติแล้วเวลาเราลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่น้อยลงจะทำให้ระบบเผาผลาญพื้นฐาน หรือ Resting Metabolic Rate (RMR) ลดลง แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราใจเย็น และตั้งใจที่จะลด ประมาณเดือนละ 1-2 กิโลฯ ของน้ำหนักตัว จะทำให้เราสามารถลดได้ยั่งยืนมาก แต่ในทางกลับกัน พอน้ำหนักตัวเราลงช้า หรือไม่ลงเลย ส่วนมากเราจะท้อและล้มเลิกความตั้งใจไปเสียก่อน

วงโคจรการลดน้ำหนักที่เราเจอบ่อยๆ คือ

  • เริ่มลด และน้ำหนักเริ่มลดลง
  • พอสักพักหนึ่ง น้ำหนักหยุดนิ่ง และไม่ลงแล้ว
  • เราก็เลยล้มเลิกไป และน้ำหนักกลับมาขึ้นเหมือนเดิม

นี่คือสาเหตุที่ทำให้เรามีน้ำหนักเท่าเดิม หรือมากขึ้นจากการไดเอ็ต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า วงโคจรนี้จะเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพราะอะไร…เพราะร่างกายเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอะไรก็ตามที่ทำให้น้ำหนักลดลง ร่างกายจะต่อต้าน เพราะร่างกายเราทุกคนจะมีจุดที่หยุดนิ่ง และพยายามรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ หรือ ‘Set Point Theory’ คือการที่ร่างกายจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลไว้ 

ทำความเข้าใจง่ายๆ ก็คือ Plateau ซึ่งเป็นอะไรที่เราควรคาดคิดไว้อยู่แล้วว่าจะต้องเกิดขึ้นในช่วงที่เราพยายามลดน้ำหนัก เพราะถึงแม้จะออกกำลังกาย และคุมอาหารมากแค่ไหน น้ำหนักตัวของเราไม่สามารถลดลงไปเรื่อยๆ ได้ ยิ่งเราพยายามลดน้ำหนักเยอะเท่าไร ร่างกายจะยิ่งฝืนมากเท่านั้น เพื่อรักษาความสมดุล โดยวิธีการลดอัตราการเผาผลาญ Resting Metabolic Rate และเพิ่มความหิวให้เรา 

แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถปรับให้ร่างกายมีการปรับตัวให้ดีขึ้นได้ เพราะยิ่งเรามีน้ำหนักตัวลดมากขึ้น เราจะยิ่งเจอ Set Point เร็วขึ้น แต่เมื่อไรที่เราถึงจุดนั้น จะต้องให้เวลาร่างกายประมาณ 1-2 เดือน ในการปรับตัวกับน้ำหนักตัวใหม่ที่ลดลงมา เพื่อที่ร่างกายจะได้รู้สึกว่า น้ำหนักใหม่นี้ คือน้ำหนักปกติ แล้วเราจึงจะสามารถลดน้ำหนักต่อได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ไม่ว่าจะวิธีไดเอ็ต หรือออกกำลังกายแบบไหนก็ตามที่ทำให้ร่างกายเราเอาแคลอรีเข้ามาน้อยกว่าที่เราเผาผลาญ จะทำให้เรามีน้ำหนักตัว/ ไขมัน ที่ลดลง แต่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตเห็นได้ว่า การที่จะลดน้ำหนักให้ได้ผล และยั่งยืนจริงๆ นอกจากการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารแล้ว การให้เวลากับร่างกายโดยไม่รีบจนเกินไปก็สำคัญไม่แพ้กัน 

และให้ลองตั้งเป้าไปที่การวางแผน 6-12 เดือน เพื่อที่เราจะได้สามารถลดน้ำหนัก/ ไขมัน ได้แบบยั่งยืน และไม่ต้องเครียด หรือวนอยู่ในวงโคจรเดิมๆ แต่สุดท้ายแล้วร่างกายก็จะมีลิมิตว่า ลดลงได้มากสุดแค่ไหน แต่อาจจะอยากรู้ว่า Set Point ของร่างกายเรา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไหม ถ้าได้ มาก-น้อยแค่ไหน และขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง สามารถติดตามได้ในบทความต่อๆ ไป ของเดือนนี้ครับ

Reference:

Does Your Body Weight Have a "Set Point"?, InBody USA.

Cabanac, M. Role of Set-Point Theory in Body Weight. The FASEB Journal. 1991.

Muller, M.J., Body-Westphal, A., & Heymsfield, S.B. Is there evidence for a set point that regulates human body weight? Medicine Report. 2010.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Suntorn1982
    😁
    24 เม.ย. 2562 เวลา 13.09 น.
  • 🍹AorAer🍻
    เป็นบทความที่ดีมากค่ะ
    24 เม.ย. 2562 เวลา 06.08 น.
ดูทั้งหมด