ถ้าพูดถึงการชุมนุมประท้วงแล้ว ในแต่ละประเทศก็อาจจะมีรูปแบบการประท้วงที่แตกต่างกันออกไปนะครับ ซึ่งหลัก ๆ แล้วการประท้วงก็เป็นการเรียกร้องอะไรบางสิ่งบางอย่างเช่นการอนุรักษ์ ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม ไปจนถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง ซึ่งแน่นอนว่าก็จะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและสนับสนุนผู้ประท้วง และฝั่งที่ไม่เห็นด้วยเป็นธรรมดา
ประเทศญี่ปุ่นแม้จะเป็นประเทศที่เราไม่ค่อยจะได้รับรู้ข่าวในแง่มุมเกี่ยวกับการประท้วงมากนัก แต่ในญี่ปุ่นเองก็มีการประท้วงค่อนข้างบ่อยนะครับ โดยมักจะเป็นการประท้วงในคนกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะกลุ่มมากกว่า ซึ่งมีทั้งประท้วงแบบสนุก ๆ แปลก ๆ เฉพาะกลุ่ม หรือที่เรียกกันว่า “ประท้วงเอาฮา”
เช่นออกมาประท้วง “วันวาเลนไทน์” โดยกลุ่มชายหนุ่มผู้ไร้คู่ ที่จะแม้จะดูเหมือนเป็นการประท้วงที่ไม่ได้จริงจังอะไร แต่เขาก็ออกมาเดินขบวนประท้วงก่อนวันวาเลนไทน์กันแทบทุกปีไม่มีขาด รวมถึงช่วงวันคริสมาสต์ด้วย เรียกว่ามีความจริงจังแม้จะเป็นเรื่องที่เล่น ๆ นี่แหละ ส่วนการประท้วงแบบจริงจังที่เป็นเชิงการเมือง การอนุรักษ์ธรรมชาติ ต่อต้าน หรือกดดันบริษัทนายทุนต่าง ๆ อันนี้ก็จะมีค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จะออกมายืนถือป้าย ปราศรัยจุดยืน แจกใบปลิวอะไรกันมากกว่า ผมเองก็เคยได้รับแจกเอกสารของผู้ร่วมชุมนุมประท้วงในญี่ปุ่นหลายครั้ง เพราะบางทีก็เขาใจผิดคิดว่าเป็นการแจกใบปลิวโฆษณาสินค้า แต่พอรับมาอ่าน อ้าววว นี่เขากำลังประท้วงนี่นา
สิ่งที่น่าสนใจก็คือในยุคก่อนนั้นการประท้วงมักจะถูกดำเนินการโดยคุณลุงคุณป้า คนแก่ ผู้สูงอายุ เรียกง่าย ๆ กันว่าเป็นคนที่ว่างงาน ไม่มีงานทำแล้วนั่นแหละ เพราะการประท้วงนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนคนในวัยทำงาน ถ้าไม่ได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเช่นทำงานในสายการเมือง ก็มักจะไม่ค่อยมายุ่งกับการชุมนุมประท้วงเท่าไร เพราะอย่างไรก็ตามสำหรับคนญี่ปุ่นแล้วการทำงานของตนก็ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด และยิ่งสำหรับเด็กและเยาวชนที่ยังเป็นนักเรียนแล้ว ก็แทบจะไม่มีใครสนใจกับเรื่องการประท้วงเลย เพราะมักจะคิดว่าเป็นเรื่องของคนแก่ ที่บางทีก็ดูน่ารำคาญด้วยซ้ำ
แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นได้เข้าสู่ยุคใหม่หรือยุค “เรวะ” เราก็พบว่าการประท้วงในกลุ่มเด็กนักเรียนนั้นกลับเพิ่มขึ้นมาก ในยุคก่อนนั้นโรงเรียนญี่ปุ่นนั้นถือกฎระเบียบเป็นสำคัญ นักเรียนไม่สามารถแหกกฎหรือไม่ทำตามได้ แต่มันก็ทำให้บางโรงเรียนมีกฎแปลก ๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอยู่ในโรงเรียนญี่ปุ่น เช่น
- นักเรียนห้ามใส่กางเกงในสีอื่นนอกจากสีขาว
- นักเรียนที่มีผมเป็นสีอื่น (แม้จะเป็นโดยธรรมชาติ) ต้องย้อมผมให้ดำสนิทเท่านั้น
- นักเรียนสามารถจามได้มากสุดแค่ 3 ครั้งเท่านั้นระหว่างเข้าเรียน
- นักเรียนชายและนักเรียนหญิงต้องเว้นระยะห่างกัน 2 เมตร
(อ้างอิงข่าวจาก Yahoo! News Japan)
ซึ่งแน่นอนว่ากฎระเบียบแบบนี้มันก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างว่ามันเหมาะสมหรือไม่ แน่นอนว่าปกติแล้วถ้าเป็นในยุคก่อน นักเรียนก็คงจะต้องทำตามกฎของโรงเรียนอย่างเลี่ยงไม่ได้แม้ว่ากฎของโรงเรียนนั้นจะมีความเข้มงวดหรือแปลกประหลาดแค่ไหน แต่ทว่าในยุคนี้มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้วครับ เพราะดูเหมือนว่าเด็กนักเรียนในญี่ปุ่นจะเริ่มลุกขึ้นมาต่อต้านต่อกฎระเบียบบางอย่างที่พวกเขาเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมด้วยตัวเขาเอง
อย่างเช่นกรณีของโรงเรียนหลาย ๆ โรงเรียนในญี่ปุ่นที่บังคับให้เด็กนักเรียนต้องมีผมสีดำเท่านั้น แม้แต่เด็กนักเรียนที่มีผมสีน้ำตาลหรือแดงโดยธรรมชาติก็จำเป็นที่จะต้องย้อมผมกลับมาเป็นสีดำสนิท เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ในหมู่นักเรียนที่รู้สึกได้รับความไม่เป็นธรรม เพราะผมของพวกเธอบางคนก็ไม่ได้ย้อม แต่ว่าก็มีผมที่ไม่ใช่สีดำสนิทมาตั้งแต่เกิดเป็นกรรมพันธุ์ ฯลฯ แต่กลับต้องมาย้อมผมดำและถูกครูต่อว่าและลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม นั่นถือเป็นการบูลลี่เด็ก เป็นการเหยียดรูปลักษณ์ภายนอก เรื่องนี้ก็เลยทำให้มีการรวมตัวกันประท้วง โดยเฉพาะนักเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในโอซาก้าที่มีการฟ้องร้องโรงเรียนและเรียกร้องค่าเสียหายถึง 2.2 ล้านเยน (656,000 บาท) ซึ่งเรื่องนี้ทำให้สะเทือนวงการการศึกษาของญี่ปุ่นพอสมควร จนโรงเรียนหลาย ๆ ที่ต้องออกมายอมแพ้ และยกเลิกกฎที่ไม่เป็นธรรมนี้ก่อนที่จะถูกนักเรียนฟ้องร้องอีก
นอกจากนั้นเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกเด็กนักเรียนประท้วงและเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ส่งผลให้หลาย ๆ โรงเรียนเริ่มคำนึงถึงจุดนี้และเปลี่ยนแปลงกฎบางอย่าง เช่นโรงเรียนในฟุกุโอกะที่ให้ยกเลิกการระบุเพศของนักเรียนในใบสมัคร หรือโรงเรียนในชิบะที่อนุญาตให้นักเรียนหญิงสามารถสวมเครื่องแบบที่เป็นกางเกงได้ (เช่นเดียวกัน นักเรียนชายก็สามารถเลือกจะสวมเครื่องแบบที่เป็นกระโปรงได้เช่นกันถ้าต้องการ …)
นอกจากนั้นอีกหนึ่งกรณีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือการประท้วงของนักเรียนม.ปลายในจังหวัดอิบารากิในช่วงก่อนที่ไวรัสกำลังระบาด และอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซอาเบะได้ประกาศปิดโรงเรียน ซึ่งในตอนนั้นก็มีโรงเรียนบางโรงเรียนที่ตัดสินใจกลับมาเปิดทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในช่วงที่ไวรัสระบาดอย่างหนัก ในตอนนั้นนักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ได้รวมตัวกันประท้วงไม่เข้าเรียน และยื่นข้อเสนอ 2 ข้อให้กับทางโรงเรียนคือ
- ให้ปิดโรงเรียนไปจนกว่าทางจังหวัดจะสามารถจัดหาหน้ากากอนามัยมาให้นักเรียนได้อย่างเพียงพอ
- ระหว่างที่โรงเรียนปิด โรงเรียนควรเริ่มระบบเรียนออนไลน์ เพื่อให้ยังสามารถเรียนได้ตามปกติ
ซึ่งหลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ทางโรงเรียนก็ได้ประกาศตอบรับข้อเรียกร้องของนั้นเรียน และตัดสินใจยืดเวลาการปิดโรงเรียนต่อไป และให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ โดยให้อาจารย์เข้ามาประจำที่โรงเรียน สำหรับนักเรียนที่อยากเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับอาจารย์ และหลังจากเหตุการณ์นี้ไม่นาน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นก็ได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขยายไปทั่วประเทศเพื่อออกกฎให้เลื่อนการเปิดการเรียนการสอนออกไปในทุก ๆ โรงเรียนเช่นกัน เรียกว่ารัฐบาลยังต้องยอมแพ้
จากเหตุการณ์นี้ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมากโดยแบ่งเป็นสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนก็ชมที่เด็ก ๆ กล้าออกมาประท้วงเพื่อสิทธิและสวัสดิภาพของตัวเอง นี่คือเด็กรุ่นใหม่แห่งยุคเรวะ แต่ก็มีบางส่วนที่รู้สึกไม่ค่อยพอใจในการกระทำของเหล่าเด็ก ๆ และมองว่าเจตนาของเด็ก ๆ นั้นน่าจะเป็นแค่ไม่อยากมาเรียน ไม่อยากทำการบ้าน โดยใช้เรื่องไวรัสมาเป็นข้ออ้างมากกว่า …
การประท้วงจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในสองมุมมองเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันในมุมไหน
อ้างอิงข่าวจาก Mainichi Shimbun,Yahoo! News Japan
ช่องทางการติดตามเพิ่มเติม
Facebook :Eak SummerSnow
Youtube : Eak SummerSnow
KunCooN ของเค้ามีเหตุมีผลต่อตัวผู้ประท้วงชัดเจน
ไม่มากเกินไป ตามหลักความเป็นจริงที่ควรแก้ไข
24 ต.ค. 2563 เวลา 15.55 น.
King คิงส์ เอามันสมองของเด็กประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับสมองเด็กต่างประเทศไม่ได้หรอกมันคนละชั้นกัน (ของเราโง่กว่าหลายเท่า)
24 ต.ค. 2563 เวลา 16.11 น.
P.ปิ้ว ต่างกับของไทย. จ้องแต่เนรคุณแผ่นดิน
24 ต.ค. 2563 เวลา 16.56 น.
pkp เสนอข่าวนี้
เพื่อมุ่งหวัง
วาระซ่อนเร้นอะไรหรือ
24 ต.ค. 2563 เวลา 16.41 น.
A 555555555555555555555555+ ตรูอยากฮาาาเป็นภาษาญี่ปุ่น
24 ต.ค. 2563 เวลา 16.03 น.
ดูทั้งหมด