นพ. มานพ พิทักษ์ภากร" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คาดสาเหตุหมอกฤตไท ป่วยมะเร็งปอดระยสุดท้าย ทั้งที่ดูแลสุขภาพอย่างดี อ่านแล้วมีแรงฮึดผลักดันโครงการมะเร็งปอดต่อ
จากกรณีที่ หมอกฤตไท ธนสมบัติกุล หมอหนุ่มวัย 28ปีได้เปิดเผยเรื่องราวที่ตนนั้นเป็นผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ผ่านเพจสู้ดิวะ ทั้งที่เป็นคนชอบออกกำลังกาย ร่างกายแข็งแรง กินอาหารคลีน นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ หลังจากเริ่มมีอาการไอและตรวจดูเจอโรคร้าย พบปอดขวาเหลือครึ่งเดียวทำให้ชีวิตเปลี่ยนป่วยเป็นมะเร็งปอดทั้งที่อายุยังน้อย ซึ่งเรื่องราวของคุณหมอได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก หลายๆคนส่งกำลังใจให้คุณหมอกันอย่างล้นหลาม และจากเรื่องราวดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมคนที่ดูแลตัวเองอย่างดี ไม่สูบบุหรี่ กลับป่วยเป็นโรคร้ายได้
ล่าสุด "นพ. มานพ พิทักษ์ภากร"หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทวีตข้อความแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นเป็นมะเร็งปอด ผ่านแอคเค้าท์ทวิตเตอร์ @manopsi บอกว่า
"อ่านเพจ #สู้ดิวะ แล้วมีแรงฮึดผลักดันโครงการมะเร็งปอดต่อครับ บอกก่อนว่างานช้างมาก แต่เราจะพยายามผลักดันให้การตรวจรักษามะเร็งปอดด้วย comprehensive genomic profile และให้ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้าตามผลตรวจ เกิดขึ้นในระบบสุขภาพเมืองไทย ขอเวลาอีกนิดในการหาทุนครับ"
"ทราบมาแต่เดิมว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของมะเร็งปอดคือ สูบบุหรี่ การติดตามข้อมูลมากขึ้นพบปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่นก๊าซเรดอน, สารเคมีบางชนิด (แร่ใยหิน, โลหะหนัก ฯลฯ) และ PM2.5 เดิมเชื่อว่าบุหรี่ไม่สัมพันธ์กับ adenocarcinoma ข้อมูลปัจจุบันพบว่าบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดทุกชนิด"
- จับสัญญาณเตือนมะเร็งปอด อายุน้อยก็เป็นได้ ระยะแรกมักไม่มีอาการ
- หมอแล็บแพนด้า พูดแล้ว หลัง "หมอหนุ่ม" ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แม้ไม่สูบบุหรี่
- "หมอหนุ่มป่วยมะเร็ง" เคลื่อนไหว ขอบคุณทุกกำลังใจ พร้อมเผยอาการล่าสุด
"เมื่อแพทย์วินิจฉัยมะเร็งปอด ข้อมูลหลักที่สำคัญคือการดูว่าเป็นชนิด small cell หรือ NSCLC ถ้าเป็นอย่างหลังจะตามด้วยการตรวจหา EGFR mutation การตรวจพบจะสามารถให้ยาต้าน EGFR ได้ ปัจจุบันบัญชียาหลักมี Erlotinib ซึ่งผู้ป่วยไม่ว่าสิทธิใดก็เข้าถึงยานี้ได้ ส่วนยามุ่งเป้าอื่นยังไม่ครอบคลุม"
สำหรับบทบาทของ PM2.5 และมะเร็งปอดในคนไม่สูบบุหรี่ "ทำไมถึงต้องซีเรียสเรื่อง PM2.5? เพราะ PM2.5 เป็นเหตุสำคัญของมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทยโดยเฉพาะคนที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่าเซลล์ปอดที่มี EGFR กลายพันธุ์ยังไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็งจนกระทั่งได้รับ PM2.5 "
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews
T'OR pm.2.5 มีมานานแล้ว แต่มาเป็นเรื่องสมัยนี้เพราะเพิ่งมีเครื่องตรวจวัดเมื่อไม่นานมานี้
ที่ควรเอามาคิดคือ วัคซีน เป็นตัวแปรใหม่ที่มากับโควิด side effect ของวัคซีน ไม่มีใครสืบค้นเลย
12 พ.ย. 2565 เวลา 17.11 น.
KONG คนทำดี ไม่จาบจ้วง
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
12 พ.ย. 2565 เวลา 09.01 น.
Narong ไม่แน่ใจว่ามีดีกรีเปนโปรเกรสหรือเปล่า
12 พ.ย. 2565 เวลา 08.33 น.
บิวครับ🐼 พวกคนที่มีอำนาจดูแลบ้านเมืองต่างหากที่ไม่สนใจ ชาวบ้านเดือดร้อนกับ PM 2.5 มาตั้งนานแล้ว
12 พ.ย. 2565 เวลา 08.30 น.
noppadol จาบจ้วงสถาบัน...กรรมติดจรวด
12 พ.ย. 2565 เวลา 12.52 น.
ดูทั้งหมด