สุขภาพ

“มะเร็งปอด” ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ ! ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

Campus Star
อัพเดต 25 พ.ค. 2565 เวลา 06.05 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2565 เวลา 06.05 น.
มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ ! ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มะเร็งปอด เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายสุขภาพและปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก และจัดเป็นโรคอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของคนไทยมาตลอดอย่างยาวนาน การดูแลสุขภาพรวมถึงการตรวจสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่มีอาการทางปอดจึงสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้รู้ถึงความเสี่ยง และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม กล่าวว่า ความเสี่ยงหลักของการเกิดมะเร็งปอดคือบุหรี่ ยิ่งสูบมากยิ่งมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นมะเร็งปอดและอีกหลาย ๆ โรคมากขึ้นด้วย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง เป็นต้น และยังเจอได้ว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยก็สามารถพบมะเร็งปอดได้

แบ่งเป็น 4 ระยะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยมะเร็งจะแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1-2 ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็ก อาจจะมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองขั้วปอด โอกาสที่คนไข้จะมีอาการจากก้อนมะเร็งนี้ยังมีน้อย ถ้าสามารถเจอได้ในระยะที่ 1 โอกาสหายขาดสูงถึง 80% ขึ้นไป ถ้าเจอในระยะที่ 2 ก็จะค่อย ๆ ลดลงมา 60% ระยะที่ 3 เหลือ 30%
แต่ถ้าเจอในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะอันตรายของมะเร็งปอดแล้ว เนื่องจากในช่วงระยะแรกจะไม่มีอาการบ่งบอก ส่วนใหญ่คนไข้กว่าครึ่งจะเจอในระยะที่ 4 ทำให้โอกาสหายขาดน้อยมาก โดยโอกาสในการหายจากมะเร็งจะขึ้นอยู่ว่าเจอมะเร็งในระยะที่เท่าไหร่ ถ้าเจอเร็วจะสามารถรักษาได้เร็วขึ้น ถ้าเจอในระยะที่ 1 จะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเกิดเจอในระยะที่ 2-3 อาจต้องเพิ่มการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือฉายแสง
คนที่มีความเสี่ย งควรได้รับการตรวจเช็คสภาพปอดเป็นประจำทุกปี เพื่อการเตรียมความพร้อมในการรักษา รวมถึงการที่แพทย์จะสามารถช่วยวินิจฉัยโรค ประเมินสภาพได้ทัน โดยคนที่มีความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคือ ผู้ที่ อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะเป็นพิษสูง เช่น ใกล้โรงงานที่ปล่อยควันพิษ ควันรถยนต์ ควันบุหรี่ ผู้ที่ทำงานในที่มีมลภาวะเป็นพิษสูง เช่น ทำงานในโรงงานมีฝุ่น ทำเหมือง โม่หิน มีไอสารเคมี ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย รวมถึงผู้ที่เพิ่งหายจาก COVID -19 ด้วย

การตรวจแบบมาตรฐาน ที่ใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป คือ Spirometry เป็นการตรวจปริมาตรที่หายใจเข้าออกและความเร็วที่หายใจออกแต่ละครั้ง ผลที่ได้จะเป็นกราฟบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอากาศกับเวลาหรือเป็นอัตราความเร็วของการไหลของอากาศกับปริมาตร การแปลผลที่ออกมาจะเป็นผลปกติ (Normal) ผลมีการอุดตันของหลอดลมขณะหายใจออก (Obstructive Pattern) ผลมีปริมาตรอากาศหายใจเข้าออกแต่ละครั้งได้น้อยกว่าปกติ (Restrictive Pattern) และผลมีค่าต่ำกว่าปกติทั้งสองอย่างร่วมกัน (Mixed Pattern)
รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ที่ปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยการ Low-dose CT (Low-dose Computed Tomography) หรือ การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดแบบรังสีต่ำ การทำหนึ่งครั้งจะเทียบได้กับการเอกซเรย์ปอดประมาณสัก 10-20 ครั้ง โดยจะสร้างภาพสามมิติ ทำให้สามารถเห็นจุดในปอดที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตรได้ ซึ่งวิธีการเอกซเรย์ปอดแบบทั่วไปจะเป็นการคัดกรองแบบไม่ละเอียดมากนัก ทำให้ไม่สามารถเห็นก้อนมะเร็งขนาดเล็กกว่า 1-2 เซนติเมตรได้
การตรวจพบในระยะที่ดีที่สุด คือเจอตอนก้อนมะเร็งต่ำกว่า 1 เซนติเมตร และไม่มีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่นๆ ทำให้มีโอกาสหายได้มากถึง 92% ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ถ้าคัดกรองเจอในขณะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ในระยะที่ 1 หรือ 2 จะรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งปอด แต่ในบางกรณีที่เจอจุดเล็กมาก การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นนั้นจะยาก การใช้ระบบนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic navigation bronchoscopy เป็นตัวนำทาง ลักษณะจะคล้าย Google Map เป็นตัวนำทาง ถ้ามาร์คตำแหน่งได้ จะสามารถทำการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียวได้ และสามารถส่งตรวจวินิจฉัยได้ทันที

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ศัลแพทย์ทรวงอกด้านผ่าตัดส่องกล้องปอด โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
การคัดกรองมะเร็งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้ารู้เร็ว รักษาเร็ว ช่วยยับยั้งก่อนลุกลามได้ รวมถึงปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ควรที่จะได้รับการดูแลและรักษาเป็นอย่างดี และเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ เรามาร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพปอดและหัวใจที่ดี หากมีความสนใจเรื่องการตรวจคัดกรอง มะเร็งปอดและหัวใจหลอดเลือด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โทร. 02-755-1188 add line : @cancercare

ดูข่าวต้นฉบับ