ไลฟ์สไตล์

“ภาวะโลกร้อน” ทำให้พายุรุนแรงขึ้น แต่จำนวนพายุไม่ได้มากขึ้น​ตาม​ไป​ด้วย​

TheHippoThai.com
อัพเดต 25 ก.ย 2561 เวลา 11.31 น. • เผยแพร่ 25 ก.ย 2561 เวลา 11.00 น.

“ภาวะโลกร้อน” ทำให้พายุรุนแรงขึ้น แต่จำนวนพายุไม่ได้มากขึ้น​ตาม​ไป​ด้วย​

ช่วงที่เขียนบทความอยู่นี้ โลกได้ผ่านช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในรอบปี นั่นคือซูเปอร์ไต้ฝุ่น “มังคุด” ซึ่งพัดเข้าถล่มฟิลิปปินส์และฮ่องกง ก่อความเสียหายตามที่เห็นตามข่าว ในเวลาเดียวกันในฝั่งอเมริกาก็มีพายุเฮอริเคนระดับ 4  “ฟลอเรนซ์”  ขึ้นฝั่งที่นอร์ธแคโรไลนา ก่อความเสียหายหนักหนาไม่แพ้กัน และหลังพายุมังคุดสลายตัวไม่นาน ก็มีการก่อตัวของพายุ “จ่ามี” ที่ทำท่าจะทวีความรุนแรงไปไม่ต่ำกว่าไต้ฝุ่นระดับ 4 อีกเช่นกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คำถามคือเหตุใดพายุปีนี้จึงมีความรุนแรงขั้น 4 ถึง 5 (ขั้น 5 คือซูเปอร์) เกิดติดๆกันแทบไม่ทิ้งช่วงว่างแบบนี้ 

ด้วยผลวิจัยล่าสุดของ Jim Kossin นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจาก NOAA ให้คำตอบต่อคำถามนี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลกโดยเฉพาะปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นต้นเหตุ ให้ภาวะฝนตกหนักเกิดบ่อยขึ้น  ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นทำให้มีการระเหยของน้ำไปสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น เเละอากาศที่อุ่นขึ้นสามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณมากขึ้น ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนระดับซูเปอร์ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จำนวนของพายุหมุนเขตร้อนต่อปี ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

ช่วงวันที่ 10 กันยายน 2561 โลกมีพายุหมุนเขตร้อน 8 ลูกที่เกิดก่อนหลังไม่พร้อมกันแต่ยังไม่สลายตัว ได้แก่ พายุโซนร้อนนอร์แมน  พายุเฮอริเคนโอลิเวีย  พายุโซนร้อนพอล  ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก  พายุเฮอริเคนเฮเลน  พายุโซนร้อนไอแซค  พายุเฮอริเคนฟลอนเรนซ์ ในมหาสมุทรแอคแลนติก  พายุไต้ฝุ่นมังคุด  พายุดีเปรสชัน 27W ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก  เรื่องนี้กลายเป็นข่าวลือชิ้นหนึ่งใน โซเชียลมีเดีย แต่มีการผสมโรงเอาข้อมูลเท็จต่อเติมเข้าไปตามภาพบนสุด ที่เอาหย่อมความกดอากาศต่ำอีก 2 หย่อมคือ 91W และ 95L ไปรวมแล้วแชร์กันผิดๆว่ามีพายุ 10 ลูกเกิดพร้อมกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะ หย่อมความกดอากาศต่ำยังไม่ถือว่าเป็นพายุ หย่อมความกดอากาศต่ำหลายหย่อมเกิดแล้วก็สลายตัวเฉยๆโดยไม่มีผลใดๆตามมา 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การมีพายุหมุนเขตร้อน 8 ลูกที่เกิดก่อนหลังไม่พร้อมกันแต่ยังไม่สลายตัว เป็นเรื่องปกติที่เคยเกิดมาก่อนแล้วในอดีต ไม่ได้เป็นกรณีพิเศษที่จะมีความหมายไปในทางที่ว่าจำนวนพายุมากขึ้นตามข่าวลือแต่อย่างใด

สรุปให้เข้าใจง่ายๆคือ ภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เป็นเหตุให้พายุแรงขึ้น แต่ไม่ใช่เหตุที่ไปเพิ่มจำนวนการเกิดของพายุ โดยหากไม่แน่ใจข่าวสารก็ยังไม่ควรเชื่อ ควรสอบถามและตรวจสอบให้ชัวร์ก่อนแชร์ 

และที่ควรทำยิ่งกว่าสิ่งใดจนถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคน คือความร่วมมือในการลดโลกร้อนให้ได้ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดขยะพลาสติก เพราะสุดท้ายผลที่เราทำร้ายธรรมชาติจะวนกลับมาส่งผลกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

เรียบเรียงโดย Mr.Vop

ความเห็น 31
  • la_on_doi
    มีสาระกว่าข่าวดารานักร้องเยอะเลย
    25 ก.ย 2561 เวลา 14.22 น.
  • 🍃🌼วาลินี ทองหล่อ 🌸🍃
    ได้สาระมากค่ะ🙏
    25 ก.ย 2561 เวลา 12.03 น.
  • 💰📉LLมงเม่ามโน.H.S.📈🎌
    มีความรู้มาก แต่มึนจัง ใครพอสรุป เป็นภาษาคน ให้รู้เรื่องทีได้ไหมครับ
    25 ก.ย 2561 เวลา 12.10 น.
  • Wisanupong TKL.>>>
    เรื่องนี้ต่องพี่ว็อปคนเดียวที่เชื่อถือได้😁
    25 ก.ย 2561 เวลา 11.48 น.
  • สุจินต์
    เพราะโลกถูกสภาวะเรือนกระจกครอบชั้นบรรยากาศไ้ว้ ทำให้แสงแดดผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกได้น้อย. ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงกระทบสิ่งมีชีวิตในโลก
    25 ก.ย 2561 เวลา 12.29 น.
ดูทั้งหมด