ไลฟ์สไตล์

ไอบ่อย มีเสมหะ กลืนจนเจ็บคอไปหมด เป็นเพราะอะไร แก้ไขยังไงดี?

GedGoodLife
เผยแพร่ 09 ส.ค. 2563 เวลา 08.30 น. • Ged Good Life ชีวิตดีดี

ช่วงนี้ใครที่มีอาการ ไอบ่อย มีเสมหะ อยู่ตลอดเวลา ถึงขั้นกลืนเสมหะจนเจ็บคอ คงต้องรีบตรวจเช็คสุขภาพตัวเองกันให้ไวหน่อย เพราะ เป็นช่วงที่มีโรค โควิด-19 กำลังระบาดอยู่ด้วย มีอาการไอบ่อย ๆ ขึ้นมา จะปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเลย เดี๋ยวคนรอบข้างจะรังเกียจเอาได้! ฉะนั้นใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่อง ไอบ่อย มีเสมหะ อยู่ ณ ตอนนี้ มารีบเช็คกันเลยว่า เป็นเพราะอะไร และอาจเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง…?

ไอบ่อย มีเสมหะ
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อาการไอ คืออะไร?

อาการไอ (Cough) เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น หรือสารระคายเคืองบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง ทำให้มีการส่งสัญญาณไปที่บริเวณสมองส่วนควบคุมการไอ และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เกิดการตีบแคบของหลอดลม จึงเกิดอาการไอขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ และสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ

โดยอาการไอ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอก สารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ อากาศแห้ง หรือการหดเกร็งของหลอดลม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เสมหะ คืออะไร?

เสมหะ หรือ เสลด (Phlegm) // เสมหะในคอ (Chronic secretion in the throat) คือ สารคัดหลั่ง ข้นเหนียวเหมือนเมือก ที่ร่างกายสร้างออกมาจากต่อมสร้างสารคัดหลั่ง ที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

โดยเสมหะ ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 95 และอีกร้อยละ 1 ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และสารอินทรีย์ (inorganic)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทำไมเวลาไอ ถึงมีเสมหะ?

ไอ มีเสมหะ สาเหตุทั่วไปคือ เกิดการอักเสบที่หลอดลม จนทำให้ทางเดินหายใจบวม และทำให้เกิดเสมหะ มักเกี่ยวข้องกับไวรัส และอาจมีอาการหนักขึ้น หากคุณ มีไข้

ไอบ่อย มีเสมหะ กลืนจนเจ็บคอ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ภูมิแพ้อากาศ นอกจากจะไอ และมีเสมหะแล้ว มักมีอาการ น้ำมูกใส จาม คันจมูก คันหัวตา ร่วมด้วย

2. โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณลำคอ ทำให้เกิดการระคายเคืองคอ และมีเสมหะได้ โดยเฉพาะตอนนอน (คนที่มีโรคกรดไหลย้อน จึงมักมีอาการไอ มีเสมหะ ในช่วงกลางคืนบ่อย ๆ) และเมื่อมีเสมหะ ก็จะกระตุ้นให้เกิดการไอได้

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากกรดไหลย้อนร่วมด้วย เช่น แสบร้อน-เจ็บกลางอก ถึงลิ้นปี่ มีน้ำรสเปรี้ยว หรือขมในคอ เจ็บคอ ระคายเคืองคอ และเรอบ่อย เป็นต้น

3. เป็นไข้หวัด  โรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่นจมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง ทำให้มีอาการไอมีเสมหะเล็กน้อย ลักษณะใส หรือขาว ๆ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมด้วย

4. โรคหอบหืด อาจทำให้มีเสมหะในลำคอ และไอได้ โดยสัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหอบหืด คือ มีอาการไอมาก

5. การหายใจเอามลพิษ ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันธูป เข้าไปบ่อย ๆ ทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ อาจทำให้มีน้ำมูกมาก และไหลลงคอจนเป็นเสมหะได้นั่นเอง วิธีแก้ไขคือให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกไปเจอกับมลพิษภายนอก

6. หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นภาวะปอดติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็น 1 ใน 5 สาเหตุที่ทำให้ต้องไปพบแพทย์มากที่สุด สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เหมือนไข้หวัด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากมีอาการไข้หวัด ทำให้มีอาการไอ ไอมีเสมหะ ได้

7. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นโรคที่มักทำให้มีน้ำมูกมาก ซึ่งน้ำมูกอาจไหลลงคอ ทำให้รู้สึกเหมือนมีเสมหะตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อนอนลง น้ำมูกก็จะไหลลงคอมากขึ้น

สีเสมหะ อาจช่วยบอกโรคได้นะ

สีของเสมหะอาจนำมาใช้วินิจฉัยโรคในเบื้องต้น ดังนี้

ไอบ่อย มีเสมหะ

เสมหะสีใส - โรคภูมิแพ้ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ

เสมหะสีขาว - โรคหลอดลมอักเสบ โรคกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะหัวใจล้มเหลว

เสมหะสีเขียว หรือเหลือง - โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ

เสมหะสีแดง - เป็นสัญญาณของภาวะเลือดออกภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งปอด โรคฝีในปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และวัณโรค

* นอกจากนี้ หากมีเสมหะสีน้ำตาล นั่นอาจหมายถึง มีเลือดเก่าที่ค้างอยู่ภายในร่างกาย ได้ปะปนออกมาพร้อมกับเสมหะ อาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ โรคพยาธิในปอด โรคฝีในปอด และโรคฝุ่นจับปอด (Pneumoconiosis) ที่เกิดจากการหายใจนำเอาฝุ่นเข้าไปในปอดเป็นจำนวนมาก

เสมหะสีดำ - โรคฝีในปอด โรคฝุ่นจับปอด โรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา รวมถึงการสูบบุหรี่
นอกจากนี้

ควรพบแพทย์ หากมีไอมีเสมหะที่รุนแรงกว่าปกติ มีเสมหะมากขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การดูแลตนเองจากอาการไอมีเสมหะ

1. พยายามขับน้ำมูก และเสมหะออกมา - การขับเสมหะออกมาเป็นวิธีการกำจัดเสมหะที่ดีที่สุด สิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่ากลืนเสมหะลงคอ

2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น - การดื่มน้ำสะอาด หรือดื่มน้ำอุ่น (ไม่ควรดื่มน้ำเย็นในช่วงที่ไอมีเสมหะ) ทุกชั่วโมง จะช่วยละลายเสมหะ ทำให้ร่างกายขับเสมหะออกมา และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปด้วย

3. ใช้ไอน้ำช่วย - การใช้ไอน้ำจะช่วยทำให้น้ำมูก และเสมหะในช่วงอก จมูก และคอแตกตัวออก ซึ่งจะทำให้เสมหะถูกขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น สำหรับวิธีทำคือ ต้มน้ำ 1 หม้อ ผสมกับน้ำมันยูคาลิปตัส 2-3 หยด จากนั้นก้มหน้าลงไปเหนือชามน้ำร้อน สูดหายใจเข้าเอาไอน้ำเข้าไปหลาย ๆ นาที

4. หายใจเข้าออกลึก ๆ - การหายใจเข้าและออกลึก ๆ ติดต่อกันสัก 5-7 ครั้ง จะช่วยให้ถุงลมขยายใหญ่ขึ้น และฟีบลงสลับกัน วิธีนี้จะทำให้เสมหะหลุดออกจากถุงลม และระบายสู่หลอดลมใหญ่ได้ง่าย

5. ทานยาละลายเสมหะ - ยาละลายเสมหะ เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อโครงสร้างของเสมหะ โดยการลดแรงตึงผิวของเสมหะ จึงช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัด หรือขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างยาคือ คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) เป็นต้น

"Expert ดีดี" โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

ดูข่าวต้นฉบับ