วช. จัดกิจกรรม NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 5” มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา เชิดชูเกียรติแก่ “ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ” แห่ง มธ. ศึกษาหลักธรรม ผ่านงานวิจัย ผลงานโดดเด่นจนคว้ารางวัลสร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ
วันนี้ (19 เม.ย.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564
ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มทำงานวิจัยตั้งแต่พ.ศ. 2546 ซึ่งงานวิจัยจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทั้งในด้านแนวคิด คำสอน หรือหลักธรรม รวมทั้งการประยุกต์ใช้หลักธรรมในสังคมปัจจุบัน เช่น คำสอนเรื่องนิพพาน การใช้พุทธธรรมเพื่อดำเนินการทางเศรษฐกิจในสังคมทุนนิยม และด้านกิจการรวมทั้งปัญหาด้านต่าง ๆ ของพระสงฆ์ หรือ คณะสงฆ์ เช่น ปัญหาเรื่องสมณศักดิ์ ปัญหาการทำผิดพระวินัย และกฎหมายพระสงฆ์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยสามารถสร้างความเข้าใจและช่วยแก้ปัญหาด้านคำสอน และความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย เช่น ปัญหาเรื่องนิพพานและอนัตตา ความเชื่อเรื่องชีวิตระหว่างภพ หรือหลังความตาย การแก้ปัญหาเกี่ยวกับพระสงฆ์หรือคณะสงฆ์ที่เกี่ยวกับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย สามารถช่วยอธิบายปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยต่อยอด ของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ต่อไป
ผลงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มีความโดดเด่นในแง่ของการเสาะแสวงหาความจริงใน 3 มิติ ได้แก่ 1. คำสอนหรือหลักธรรม 2. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน 3. การปฏิรูปพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับคณะสงฆ์ จึงได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564
ศ.ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ กล่าวว่า แนวทางในการนำงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับสังคม ควรขึ้นอยู่กับความเชื่อและการยอมรับของผู้นำไปใช้ด้วย โดยต้องถูกต้อง ตรงตามหลักคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งต้องมีการนำมาอ้างอิงกับศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านครอบครัว และการทำงาน โดยทางพระพุทธศาสนาให้ยึดถือหลักทางสายกลาง ซึ่งตรงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ อันหมายถึงความพอดี พอเพียง ในทุก ๆ ด้าน โดยเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการค้นหาแนวทางแก้ไขและพัฒนา คือ ต้องใช้สติปัญญา และความเมตตากรุณา เพราะในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน ค่อนข้างต้องเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และการใช้ความรุนแรง ทั้งนี้หากสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ได้ จะสามารถช่วยให้ประเทศของเรามีความสมดุลและมีความสงบสุขมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
อีกทั้งยังฝากข้อแนะนำแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ ถึงการทำงานด้านการวิจัยในมุมมองของอาจารย์ว่า งานวิจัยควรจะต้องปราศจากอคติ และค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้แก่สังคม เพื่อให้งานวิจัยถูกหยิบยกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม
ศ.ดร.วัชระกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับงานวิจัยครอบคลุม 3ด้าน 3มิติไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอธิบายคำสอนให้ชัดเจนการเสนอแนวทางการนำมาใช้รวมถึงการพัฒนาหรือแก้ปัญหาของคณะสงฆ์ก็ล้วนมีส่วนสำคัญต่อทุกศาสตร์ภาพรวมซึ่งคิดว่ายังจะต้องวิจัยศึกษากันอีกเยอะเพื่อหาความกระจ่างชัดในอีกหลายเรื่องแล้วก็หาแนวทางที่จะช่วยกันพัฒนาและก็แก้ปัญหาของคณะสงฆ์ซึ่งก็คงไม่ได้แก้กันง่ายๆและในเชิงวิชาการคนเราเห็นต่างกันได้เพราะฉะนั้นสิ่งที่เสนอก็เป็นแค่มุมมองอันหนึ่งซึ่งบางทีบางครั้งก็อาจจะไม่เห็นด้วยแต่คิดว่าการช่วยการมองหลายๆมุมก็จะได้มีทางเลือกมากขึ้น
“ท้ายที่สุดสิ่งที่ออกมาจากงานวิจัยของนักวิชาการต่างๆแล้วก็ผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาก็จะเป็นสิ่งที่ชาวพุทธน่าจะเอาไปศึกษาแล้วก็คัดสรรว่าสิ่งไหนน่าจะดีที่สุดแต่โดยหลักการคิดว่าถ้าเป็นชาวพุทธหลักการพุทธศาสนาสอนเรื่องของปัญญาความเมตตากรุณาเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ควรจะแก้ปัญหาด้วยปัญญาและด้วยความเมตตากรุณาต่อกันไม่ใช้ความรุนแรงเพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธศาสนามีการนำไปใช้ในสังคมปัจจุบันก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องปัจจุบันที่เน้นอาจจะหนักไปในเรื่องของการทุจริตคอรัปชันและก็เรื่องการใช้ความรุนแรงในปัจจุบันนี้”ศ.ดร.วัชระกล่าว
ศ.ดร.วัชระกล่าวอีกว่าสำหรับปัญหาเรื่องฆราวาสซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางโลกส่วนหนึ่งมันก็จะแฝงอยู่ในการวิจัยเชิงประยุกต์เพราะว่าการนำหลักธรรมต่างๆมาใช้จะช่วยแก้ปัญหาอย่างเรื่องเศรษฐกิจเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเราจะเห็นว่าก็มีเรื่องของการทุจริตคดโกงการเอารัดเอาเปรียบแบบที่เห็นว่าเป็นทุนนิยมสามานย์แต่ว่าถ้านำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ก็จะกลายเป็นทุนนิยมที่เป็นการุณยฆาตทำที่มีความเมตตาเอื้อเฟื้อต่อกันเพราะฉะนั้นก็อาจจะช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่ว่ายังไม่ได้ศึกษาที่จะแก้ปัญหาเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับทางโลกโดยตรงเพราะคิดว่าถ้านำหลักธรรมมาใช้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยหลักการอยู่แล้วแต่ว่าถ้าเจาะจงปัญหาเฉพาะเรื่องซึ่งอาจจะต้องศึกษาข้ามสายเพราะว่าปัญหาอื่นๆเรื่องอาชญากรรมเรื่องความรุนแรงบางเรื่องก็จะเป็นทางด้านของนิติศาสตร์สังคมวิทยาซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจถ้าต้องไปศึกษาบูรณาการเพิ่มแต่ที่ศึกษาคณะสงฆ์เพราะว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระพุทธศาสนาแต่สิ่งที่เราเกี่ยวข้องโดยอ้อมก็มีแต่ถ้าในอนาคตถ้าทำได้จะได้บูรณาการศึกษาในสาขาที่หลากหลายมากขึ้นจะได้เกิดประโยชน์มากขึ้น
ศ.ดร.วัชระกล่าวอีกว่าสำหรับทางด้านเศรษฐกิจงานชิ้นนี้จะครอบคลุมทั้งแนวคิดทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐกิจในภาพรวมเพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่ถ้าพูดง่ายๆก็คือเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่๙อยู่แล้วฉะนั้นหลักการของพระพุทธศาสนาใช้ได้ทั้งส่วนตัวการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจในครอบครัวและก็การประกอบธุรกิจถ้าเกิดว่าใช้หลักสันโดษหลักมัญญุตารู้จักพอรู้จักประมาณใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตทางด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพคิดว่าน่าจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขแม้ว่าจะไม่รวยปัจจุบันคนอาจจะคิดถึงแต่ว่าต้องรวยต้องเป็นเศรษฐีแต่จริงๆความรวยไม่ได้ทำให้เราเป็นสุขมันต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในขณะเดียวกันถ้ารู้จักการดำเนินชีวิตรู้จักวิธีคิดที่ถูกต้องแม้จะยากจนแต่ก็หนึ่งมีความสุขและก็สามารถที่จะดำเนินชีวิตอย่างสงบปลอดภัยจากการผิดกฎหมายจากโทษภัยเพราะฉะนั้นแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตทางด้านเศรษฐกิจก็ครอบคลุมทั้งปัจเจกและในทางสังคมทั้งชีวิตส่วนตัวและก็ชีวิตการทำงาน
“ในทางวิชาการคัมภีร์ต้องมาก่อนใช่ไหมครับพระไตรปิฎกถือว่าเป็นหลักฐานขั้นต้นขั้นปฐมภูมิลงมาคือคัมภีร์ยึดขาฎีกาเสร็จแล้วก็คือการตีความหรือความเห็นของนักวิชาการสมัยใหม่อย่างพระพุทธทาสพระพุทธคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ประยุทธ์เพราะฉะนั้นก็จะมีการจัดอันดับอยู่แล้วว่าความเห็นสมัยใหม่ก็ต้องไม่ต้องขัดกับในคัมภีร์การที่ต้องขยายเพราะว่าในคัมภีร์อาจจะไม่ทันสมัยอาจจะไม่ครอบคลุมกับสถานการณ์ปัจจุบันผู้รู้สมัยใหม่ก็เลยต้องมานั่งอธิบายมานั่งประยุกต์เพื่อให้ใช้งานได้มากขึ้นให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนาก็ดีหรือว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆก็ดีการทำงานเชิงวิชาการเสนอได้แค่แนวทางและกลยุทธ์แต่ว่าการปฏิบัติจริงแล้วอาจจะไม่มีอำนาจไม่มีความสามารถเพราะฉะนั้นปัญหาของงานวิจัยคือทำไงให้คนไปใช้จริงงานวิจัยบางเรื่องเสนอแนวทางและเสนอกลยุทธ์กลยุทธ์ที่ว่านี้ก็คือทำยังไงให้มันเอาไปใช้จริงซึ่งแน่นอนว่าต้องหลายหน่วยงานมาช่วยกันเพราะฉะนั้นหน่วยงานหลักถ้าพูดถึงต้องเป็นมหาเถรสมาคมแต่ถ้าเกิดมหาเถรสมาคมท่านยังไม่นำไปใช้องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องก็น่าจะไปเสนอไปกระตุ้นอะไรอย่างนี้เพราะฉะนั้นการนำไปใช้จริงก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องยากเพราะว่าคนที่จะเอาไปใช้จริงๆเลยถ้ายังไม่เห็นประโยชน์ยังไม่คิดจะเอาไปใช้งานวิจัยก็อาจจะอยู่บนหิ้งเป็นเรื่องยากเรื่องหนึ่ง”ศ.ดร.วัชระกล่าวทิ้งท้าย
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO