รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคย "หิมะตก"!
หลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กเจน Y ลงไป ได้ยินแบบนี้แล้วคงทำใจเชื่อยาก เพราะตั้งแต่จำความได้ พวกเรามีโมเมนต์หยิบเสื้อกันหนาวออกมาสวมใส่เพื่อความอบอุ่นช่างน้อยนิด ต่อให้มีก็กินเวลาเพียงไม่กี่วัน และต้องจัดเต็มให้ได้มากที่สุด สเวตเตอร์ ขนเฟอร์ โค้ตยาว งัดออกมาใส่ให้หมด!
ร้อน ๆ แบบนี้ เอลซ่าก็เคยมาเยือนทีนึง!
ย้อนไปเมื่อปี 2498 ที่จังหวัดเชียงรายเคยมีปรากฏการณ์ "คล้าย" หิมะตกเป็นเวลาสั้น ๆ หลังจากฝนตกเล็กน้อยในวันที่อากาศเย็นของเดือนมกราคม เกิดเป็นลูกเห็บขนาดเล็ก และเกล็ดน้ำแข็งสีขาว ๆ ปกคลุมพื้นดินขาวโพลน สร้างความประหลาดใจแก่คนเชียงราย ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานฝนก็ตก เกล็ดน้ำแข็งขาว ๆ ที่ดูคล้ายหิมะจึงจางหายไป โชคดีที่มีผู้บันทึกภาพไว้ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ "เกือบ ๆ จะหิมะตก" ครั้งสุดท้ายในไทย
ภาวะโลกร้อน มีจริง!
ไม่ใช่แค่ไทย แต่ฤดูหนาวทั่วโลกก็กำลังหดสั้นลง แต่ฤดูหนาวในอีกซีกโลกหนึ่งอย่างสหรัฐอเมริกาหรือนิวซีแลนด์ก็หดสั้นลงมาตลอด อย่างในปี 2562 กรมอุตุฯ สหรัฐถึงกับประกาศว่าปีนั้นเป็นปีที่อเมริกามีฤดูแสนสั้นที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ตั้งผิดที่ หนาวนี้เลยไม่มีจริง!
ขอปัดฝุ่นความรู้วิชาภูมิศาสตร์สักหน่อย เหตุผลแรกที่ประเทศไทยไม่หนาวสักที เป็นเพราะบ้านเราตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูดต่ำ ซึ่งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรในเขตร้อนชื้น ทำให้มีอากาศอุ่น ร้อนสลับกับฝนตกชุกตลอดทั้งปี ต่อให้หนาวยังไงก็ไม่หนาวพอ จะหวังให้มีหิมะนั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหิมะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาฯ และด้วยภูมิประเทศแบบนี้ ประเทศเรายิ่งหนาวสั้นลงไปอีก
"เกาะความร้อน" ความร้อนในเมืองที่แก้ไม่หาย
ตึกรามบ้านช่องสูง ๆ ในเมืองก็เป็นสาเหตุให้ไทย "หนาวน้อย ร้อนนาน" ด้วยโครงสร้างอาคารต่าง ๆ มีวัสดุดูดซึมความร้อนจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งความร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง ไอเสีย หรือฝุ่นที่ลอยอยู่กลางอากาศก็ยังดูดซับความร้อนไปอีก
ไม่เพียงเท่านั้น ความร้อนที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องปรับอากาศ ก็มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เกาะความร้อน" เช่นกัน
ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองนั้นมีจำนวนน้อยลง ตัวช่วยดูดซับความร้อนและสังเคราะห์แสงก็ยิ่งน้อย ทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาโดนวัตถุที่ต่างสะท้อนความร้อนไปมาดูดซับไว้ และทำให้อากาศร้อนขึ้น เป็นเหตุผลที่คนเมืองไม่ค่อยได้สัมผัสหน้าหนาวเท่าคนต่างจังหวัด หรือคนในภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งเป็นจุดที่ลมหนาวจากภูมิภาคอื่นพัดเข้ามามากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุฯ ได้คาดหมายฤดูหนาวของประเทศไทยในปีนี้ไว้ว่าจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า (2564) ซึ่งหากอยากสัมผัสอุณหภูมิเย็นจัดจริง ๆ ต้องเดินทางไปสัมผัสที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน โดยช่วงเวลาที่หนาวที่สุดจะอยู่ในเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนมกราคม 2564 หมายความว่าเราจะยังได้ลุ้นอากาศหนาวกันอีกหนึ่งระลอกในช่วงปลายปี เย่!
อดทนกับ "หน้าหนาว" แบบไทย ๆ ไปพลาง ๆ เพราะช่วงโควิด19 แบบนี้ จะให้ออกไปท่องโลกชมหิมะอย่างที่ผ่านมาก็คงไม่ได้ ช่วงนี้ก็เริ่มโครงการ "ไทยเที่ยวไทย" ด้วยตัวเองไปก่อน อย่าปล่อยให้อากาศเย็น ๆ ต้องหมดไปอย่างสิ้นเปลืองเลย มาใช้หน้าหนาวที่มีให้คุ้มค่ากันเถอะ!
--
อ้างอิง
HULK กรุงเทพ 50ปีก่อน หนาวครั้งละ3เดือน แบบหนาวสั่น
ต้องใส่เสื้อกันหนาว แบบหนาหนาเลย แล้วก็หายไป40ปีแล้วปีเล่าเพราะชอบหน้าหนาวที่สุด
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.31 น.
老頑童 เพราะธรรมชาติมันถูกทำลายไปเยอะไง !!
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.43 น.
Suvit Patt เราทำลายสิ่งแวดล้อมกันมากสมัยก่อนมีงานฤดูหนาวที่ลพบุรีทุกปีอากาศหนาวเย็นแต่มีการระเบิดภูเขาที่หน้าพระลานและตัดต้นไม้ที่สวนสวรรค์พุแคสระบุรีสมัยก่อนรถไม่มีแอร์ขับผ่านสวนสวรรค์ก็มีลมเย็นจนรู้สึกได้
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.26 น.
ʝʊռɢ_աɨռ ว่าตามภูมิศาสตร์ ละติจูดก็มีส่วน
แต่ทำไมเวียดนามละติจูดเดียวกัน กลับเย็นกว่าไทยมาก
ปัญหาจริงๆคือ เทือกเขาหิมาลัย คือตัวกั้นความกดอากาศสูงจากจีน
ไม่ให้แผ่ลงล่างมาไทย ดูได้จากแผนที่อากาศกรมอุตุ
จะเห็นเส้นความกดอากาศสูง ไหลอ้อมเทือกเขาหิมาลัยลงลาวเวียดนาม
ซึ่งไม่มีเทือกเขาหิมาลัยบัง
18 พ.ย. 2563 เวลา 22.47 น.
J กรุงเทพสามสิบกว่าปีก่อนมีหนาวนานอยู่บ้างแต่ก็ปรกติของเมืองร้อน
18 พ.ย. 2563 เวลา 22.39 น.
ดูทั้งหมด