โดย 2พื้นที่ชายทะเล ที่มีบริษัทพื้นที่แตกต่างกัน พื้นที่ชุมชนบ้านอำเภอ เทศบาลตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีประชากร 8,161คน ซึ่งเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีกิจกรรมเฉพาะเจาะจงทั้งนักปั่นจักรยานและนักกีฬาทางน้ำ มีขยะจากชุมชนและขยะจากกิจกรรมการประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ ปริมาณขยะพลาสติกจากชุมชน 1,140ตัน/ปี จากทะเล 18.18ตัน/ปี
ส่วนพื้นที่ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มีประชากร 380คน ซึ่งเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีอายุกว่า 300ปี มีการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ มีขยะจากชุมชนและขยะที่มาจากทะเลซึ่งพัดพามาจากแหล่งอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริมาณขยะพลาสติกจากชุมชน 56.6ตัน/ปี ขยะจากทะเล 8ตัน/ปี ให้สามารถผลิตวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกทะเลไทยให้สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนและนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะ
ดร.ประชุม คำพุฒ หัวหน้าหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจเชิงพาณิชย์ สำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันขยะทะเลไทยยังเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนพยายามหาทางแก้ไข มีการคัดแยกขยะ และหาวิธีบริหารจัดการหลากหลาย ทำให้มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของกระบวนการ เกิดขยะตกค้างและเพิ่มขึ้นในปริมาณมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกจากการอุปโภคบริโภคเพื่อความปลอดภัย และขยะจากหน้ากากอนามัย เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งขยะจำนวนมากได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเล ไปสะสมรวมกับขยะที่เกิดจากในทะเลสร้างมลภาวะให้กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ดร.ณรงค์ชัย โอเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม และหัวหน้าโครงการ ทะเลไทยไร้ขยะ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า ปัญหาหลักของขยะพลาสติกจากทะเลนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการคัดแยกประเภทได้ก็ตาม ก็ยังไม่สามารถหมุนเวียนกลับสูระบบการรีไซเคิลได้ เนื่องจากที่ได้จากทะเลโดนทั้งความชื้นและแสงแดด ที่มักเป็นตัวเร่งให้พลาสติกเสื่อมสภาพ ประกอบกับสิ่งมีชีวิตในน้ำเค็มมักจะไปเจริญเติบโตในขยะเหล่านั้น เช่น ตะไคร่น้ำ เพรียง ฯลฯ ได้เคยมีผู้ประกอบการบอกว่า ไม่นำขยะทะเลไปใช้ประโยชน์รีไซเคิลเพราะมีความเค็ม ทำให้เครื่องจักร เครื่องมือเกิดสนิมเร็วกว่าปกติ ไม่คุ้มกับการรีไซเคิล ปัจจุบันขยะพลาสติกทะเลต้องนำไปกำจัดทิ้งเท่านั้น ดังนั้นจึงควรหาวิธีการอัพไซคลิ่งขยะพลาสติกทะเลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้
ผศ.วรุณศิริ จักรบุตร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ เล่าว่า ในปีที่ผ่านมาการนำขยะพลาสติกที่แยกประเภทแล้วสามารถนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ทั้งกระเบื้องยางปูพื้น แผ่นผนังสามมิติ ถังขยะขึ้นรูปแบบหมุน กระถางต้นไม้ เป็นต้น ส่วนขยะพลาสติกที่เหลือจากการแยกประเภทแล้วไม่สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ สามารถนำมาผลิตเป็นกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น คอนกรีตบล็อกก่อผนัง และขอบคันหิน ซึ่งในภาพรวมจะเป็นการใช้ขยะพลาสติกทุกชนิดให้หมดไป (Zero waste)
ผศ.ดร.ณัฐชา เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี และ หัวหน้าหน่วยวิจัยพลังงานจากขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เล่าว่า การนำขยะพลาสติกจากทะเลประเภทพอลิเอทิลีน พอลิโพรพีลีน มาผสมกับน้ำมันเครื่องใช้แล้ว ในอัตราส่วนขยะพลาสติกกับน้ำมันเครื่องใช้แล้วอย่างละ 50% ป้อนวัตถุดิบเข้าสู่เครื่องไพโรไลซิส โดยให้ความร้อนที่ 450 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศก๊าซไนโตรเจน เราจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนในปริมาณ 80% ของวัตถุดิบหรือเทียบได้จากขยะพลาสติกผสมกับน้ำมันเครื่องใช้แล้ว 1 กิโลกรัม ได้น้ำมันเชื้อเพลิงทดแทน 1 ลิตร ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้ สามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันเตาหรือใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับเครื่องยนต์ทางการเกษตรหรือใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬน์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ผอ.แผนงานวิจัย ทะเลไทยไร้ขยะ มทร.ธัญบุรี เพิ่มเติมว่า ควรเสนอให้มีการผลักดันการกำหนดมาตรฐานเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งจากขยะทะเล เนื่องจากปัจจุบันยังมีความมั่นใจในด้านคุณภาพ และผลกระทบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคงทน การปลดปล่อยมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากขยะพลาสติก ดังนั้นการหาแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจากขยะพลาสติก จะเป็นการส่งเสริมการใช้งานจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้อย่างมั่นใจ ซึ่งเป็นการหาทางออกและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้งาน
การผลักดันให้เกิดการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจากขยะทะเลใน ปี 2564 นี้ เป็นงานวิจัยเฟส 2 ของแผนงาน "ทะเลไทยไร้ขยะ" ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ เป็นแม่ข่ายดำเนินการ ได้มุ่งเป้าให้เกิดวิสาหกิจชุมชนที่สามารถเกิดผลกระทบเชิงบวกในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม จำนวน 2 แห่ง โดยได้เข้าไปให้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุน การจัดอบรม การฝึกปฏิบัติการผลิตวัสดุอัพไซคลิ่งจากขยะพลาสติกทะเล การหาตลาดในการจำหน่าย การจับคู่ธุรกิจ เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนได้ในปี 2564 และสามารถดำเนินกิจการให้เข้มแข็ง
สามารถกำจัดขยะพลาสติกทั้งหมดจากพื้นที่ได้ภายใน 5 ปี พร้อมกับขยายผลความสำเร็จไปสูพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป โดยชุมชนอื่น ๆ ที่มีปัญหาด้านการจัดการขยะพลาสติกทะเล ขยะพลาสติกชุมชน หรือภาคเอกชนที่สนใจที่ต้องการจัดการขยะขององค์กร ตลอดจนต้องการทำโครงการ CSRของบริษัท สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โทร. 02 549 3410