ไอที ธุรกิจ

เซ็นทรัลเร่งสปีดขยายอาณาจักรค้าปลีก'เวียดนาม'

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 10 ก.ค. 2563 เวลา 11.51 น. • เผยแพร่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 23.00 น.

ศักยภาพของตลาดเวียดนามในระยะยาวดึงดูดบรรดานักลงทุนมุ่งหน้าปักธงยึดหัวหาด! รวมทั้งทุนค้าปลีกไทยยักษ์ใหญ่ เซ็นทรัล”  เข้าไปดำเนินธุรกิจในเวียดนามมากว่า 8 ปี  พลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมค้าปลีกให้มีความทันสมัย ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเวียดนาม สถานะของกลุ่มเซ็นทรัลวันนี้นับเป็นบริษัทค้าปลีกข้ามชาติใหญ่ที่สุดในเวียดนาม บนฐานลูกค้ากว่า 12 ล้านคน พร้อม ต่อยอด-ขยายฐานธุรกิจ" สานยุทธศาสตร์บ้านหลังที่สองของกลุ่มเซ็นทรัล!

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของเซ็นทรัลรีเทล เน้นการขยายธุรกิจหลากหลายรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นสูง (Resilient Portfolio) และการผนึกกำลังสร้างความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน (Partnership) พร้อมนำ “เทคโนโลยี” มาเสริมทัพธุรกิจ เพื่อทำให้เซ็นทรัล รีเทล สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รองรับ โอกาสธุรกิจ” จากศักยภาพการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเวียดนาม จาก "ประชากร" ที่อยู่ในวัยทำงานกว่า 50 ล้านคน จากจำนวนประชากร 95 ล้านคน นับเป็นตลาดขนาดใหญ่!  ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)  ล่าสุด การบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป ทำให้ประเทศเวียดนามมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมากและพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลก

เซ็นทรัล รีเทล เปิดตลาดเวียดนามเมื่อปี 2555 โดยเริ่มจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายแบรนด์สินค้าแฟชั่น กระทั่งก้าวสำคัญในปี 2558  เข้าร่วมทุนกับยักษ์ท้องถิ่น เหงียนคิม และลานชี มาร์ท ทำให้ เซ็นทรัล รีเทล ใน เวียดนาม ขณะนั้นมีเครือข่ายร้านค้า 85 แห่ง ใน 15 จังหวัด มีพื้นที่ขาย 1.7 แสนตร.ม. ติดสปีดการขยายธุรกิจมอย่างต่อเนื่อง

ณ มิ.ย.2563 เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม มีศูนย์การค้า 35 แห่ง ร้านค้ามากกว่า 230 แห่ง ครอบคลุม 39 จังหวัด จาก 63 จังหวัด พื้นที่ขายกว่า 1.08 ล้านตร.ม. โฟกัสหลักอยู่ที่การขยายธุรกิจกลุ่มฟู้ด (Food) 3 รูปแบบในเมืองหลักและเมืองรอง ได้แก่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hyper GO!) 32 แห่ง ครอบคลุมเมืองสำคัญของเวียดนาม ซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองหลัก (Super GO!) 7 แห่ง ใน 2 เมือง คือ  ฮานอยและโฮจิมินห์ ซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่ต่างจังหวัด (ลานชี มาร์ท) 25 แห่ง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งยังมีธุรกิจนอน-ฟู้ด (Non-Food) มากกว่า 170 แห่ง ที่เป็นร้านค้าเฉพาะทางต่างๆ อาทิ เหงียนคิม ร้านจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ ทำหน้าที่บริหารศูนย์การค้าโก!(GO!) อีก 35 แห่ง ซึ่งรีแบรนด์มาจาก “บิ๊กซี”

จากธุรกิจที่สร้างรายได้ราว 300 ล้านบาทในปี 2557  เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม มีรายได้ 37,000 ล้านบาท ในปี 2562 และช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจ และมีรายได้จากกลยุทธ์ “ออมนิแชนแนล” เชื่อมช่องทางร้านค้า และออนไลน์ แบบไร้รอยต่อ  พร้อมด้วยฐานลูกค้าที่แข็งแรงกว่า 12 ล้านราย หรือมีลูกค้ามาใช้บริการ 1.75 แสนคนต่อวัน

ดีเอ็นเอของเซ็นทรัล รีเทล ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง แสวงหาโอกาสในการเติบโตอยู่เสมอ และยังคงมุ่งมั่นลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ด้วยศักยภาพของประเทศที่ยังเติบโตได้อีกมาก"

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฟิลิป ฌ็อง บราเอ็นนิโก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม กล่าวเสริมว่า ปี 2563 นี้  เซ็นทรัล รีเทล ตั้งเป้าเปิดศูนย์การค้า GO! เพิ่มทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ สาขาจ่าวิญ, กว๋างหงาย, บวนมาถวด, เบ๊นแจ, บ่าเหรี่ยะ และ ท้ายเหงียน รวมถึงรีแบรนด์บิ๊กซีเป็น GO! เพิ่ม 4 สาขา 

พร้อมพัฒนาเทคโนโลยี ช่องทางออมนิแชนแนล และมุ่งผสานความร่วมมือ (Synergy) กับพันธมิตร อาทิ แกร็บ บนฟีเจอร์ GrabMart ตอบโจทย์ความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า เพื่อก้าวสู่การเป็นธุรกิจ “Multi-Format” เต็มรูปแบบ เข้าถึงลูกค้าได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ สร้างความสะดวก ส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้ลูกค้าในทุกสถานการณ์ 

เซ็นทรัล รีเทล ตั้งเป้าขยายธุรกิจให้ครอบคลุม 55 จังหวัดทั่วประเทศภายใน 5 ปี เป็นฟันเฟืองสำคัญในสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชาวเวียดนามที่จะกลับมาเป็นกำลังซื้อ! นั่นเอง

เซ็นทรัล รีเทล ยังได้ต่อยอดธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในไทยสู่เวียดนาม ไม่ว่าจะ การเปิดร้าน ซูเปอร์สปอร์ต” การพัฒนาศูนย์การค้า GO! ซึ่งต่อยอดมาจาก โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์  การนำโมเดลธุรกิจร้านค้าเฉพาะทางต่างๆ ไปปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ชาวเวียดนาม จนเกิดเป็นธุรกิจ ฟู้ด ซิตี้, คุโบ, เฮลโหล บิวตี้ รวมถึงนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างเวียดนาม-ไทย เพื่อวางจำหน่ายในเครือข่ายธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศ

นอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการรับซื้อสินค้าท้องถิ่น  โครงการฟาร์เมอร์ มาร์เก็ต สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อย ให้พื้นที่วางจำหน่ายสินค้าในบิ๊กซี ถือเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่ต่อยอดมาจากตลาดจริงใจในเมืองไทย 

 

ดูข่าวต้นฉบับ