ทั่วไป

รพ.จุฬาภรณ์ เปิดลงทะเบียนรับ ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ 6 ส.ค.นี้

อีจัน
อัพเดต 05 ส.ค. 2564 เวลา 05.45 น. • เผยแพร่ 05 ส.ค. 2564 เวลา 05.45 น. • อีจัน

วันนี้ (5 สิงหาคม 2564) เวลา 10.00 - 11.00 น. การชี้แจงข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์การพัฒนาและคิดค้นสูตร“ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวถึงที่มาของการผลิตตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ การแพร่ระบาดของโควิดค่อนข้างมากขึ้นอย่างชัดเจน ปรากฏการณ์ที่ชัดเจน คือ ผู้ติดเชื้อเป็นเด็ก จำนวนค่อนข้างสูง วัคซีนป้องกันการติดเชื้อในเด็กยังไม่ได้รับการรับรอง ซึ่งเมื่อรับเชื้อไปแล้วเด็กก็จะไปแพร่เชื้อให้คนในครอบครัวได้ ถึงแม้วัคซีนจะได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระจายการฉีดไปได้ในระดับที่ดีพอสมควร แต่อาจจะจะช้าไปบ้าง แต่อย่างไนก็ตาม การติดเชื้อ ยังคงมีไปอีกสักระยะ การป้องกันที่สำคัญสำหรับคนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการหนักจนต้องเข้าโรพงยาบาล หรือ มีอาการหนักจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือเสียชีวิต ซึ่งยาฟาวิพิราเวียร์ มีการรับรองให้ใช้และได้ผลในการรักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งในญี่ปุ่นมีการใช้กันมานานแล้ว นอกจากนี้ในช่วงการระบาดของเชื้ออีโบลา ก็ได้มีการนำไปใช้เช่นกันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งในส่วนของโควิด-19 ถ้าได้รับยาเร็วภายใน 4 วันหลังเริ่มมีอาการ ก็จะสามารถลดอาการหนักจนทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล รวมทั้งน่าจะลดการเสียชีวิตได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดังนั้น ทางราชวิทยาลัยฯ จึงได้มีการหารือร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด เพื่อหาทางผลิตตำรับโรงพยาบาล (Hospital preparation) เพื่อช่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ กล่าว ยาสูตรน้ำเชื่อมปราศจากน้ำตาล เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กเล็กและผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการกลืน รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง แต่ในเวชปฏิบัติปัจจุบัน การให้ยากับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ใช้ยาเม็ดบดผสมน้ำเชื่อม น้ำหวานที่เตรียมใหม่ๆ นั่นก็เป็นวิธีที่ดี แต่ก็จะมีข้อจำกัดบางอย่าง นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนา

ความท้าทายของการพัฒนาคือ ตัวยาสำคัญ องค์ประกอบต่างๆ มีความยากลำบากในการพัฒนาเป็นสูตรน้ำเชื่อม เพราะยามีการละลายที่ไม่ค่อยดี การรับประทานยาครั้งหนึ่งต้องใช้ยาปริมาณมาก จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย

ด้าน เภสัชกรหญิง พร้อมพร จำนงธนาโชติ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าการพัฒนายาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ทางบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ได้รับโจทย์มาว่า ต้องการยาน้ำที่สามารถผลิตได้ในรพ. โดยทาง เทคโนโลยีเภสัชกรรม เราได้เริ่มต้นโดยการศึกษาคุณสมบัติในทางกายภาพ ทางเคมีในตัวยาสำคัญ การตั้งสูตรตำรับตามหลักการสากลที่เป็นมาตรฐาน มีการเลือกสารที่อยู่ในตำรับให้ใช้ตามหน้าที่ที่อยู่ในสูตรยาน้ำเชื่อม ก่อนนำมาพัฒนาก็มีการกำหนดคุณภาพ เพื่อให้เป็น Hospital preparation และได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชฯ จุฬาฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ กล่าว ข้อกำหนดมาตรฐาน ในการผลิต เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญมีอยู่จนครบอายุของยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เอากระบวนการทดสอบไปใช้ในเรื่องของการศึกษาความคงตัวด้วย เพื่อศึกษาว่ายานี้ให้งานได้ในระยะเวลาตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งใช้ได้ในระยะ 30 วัน ส่วนวัตถุดิบของยาน้ำเชื่อม ราชวิทยาลัยได้ติดต่อกับพาร์ทเนอร์ที่ต่างประเทศ เพื่อนำวัตถุดิบ ฟาวิพิราเวียร์เข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัววัตถุดิบมีความหลากหลายในเชิงคุณภาพมาก ตอนนี้ยาเม็ดที่นำมาใช้ก็หลายยี่ห้อ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเรื่องคุณภาพตรงนี้ด้วย ถ้าเราได้ยาที่ไม่มีคุณภาพเชื้อดื้อยาจะมาเยือน

แพทย์หญิงศรัยอร ธงอินเนตร ยาฟาวิพิราเวียร์ มีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2014 ในญี่ปุ่น โรคไข้หวัดใหญ่ และมีประกาศจากองค์การอนามัยโรค ในการรักษาโรคอีโบล่า และในปี 2020 ก็มีการใช้ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย

ซึ่งขนาดยาจะใช้เยอะพอสมควร ใช้ 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในวันแรก

ฉะนั้น ถ้าเด็กน้ำหนัก 10 กก. จะต้องทานยา 1 เม็ดกับอีก 3 ส่วน 4 เม็ด แตถ้าหากใช้เป็นยาน้ำ จะสามารถป้อนเด็กได้ง่ายขึ้น โดยในวันแรกจะใช้ 27 ซีซี/ ครั้ง วันละ 2 ครั้ง

ส่วนในวันต่อมาใช้ 12 ซีซี/ ครั้ง วันละ 2 ครั้ง

แพทย์หญิงครองขวัญ เนียมสอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าว การระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาพบมีการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยจากเด็กที่มีการติดเชื้อลงปอด 50 % มีการติดเชื้อลงปอดเพิ่มขึ้นไปจนถึง 80-90 % แต่ขอให้สบายใจว่าในเคสเด็กๆ มีอาการเบากว่าผู้ใหญ่เด็กที่ปอดติดเชื้อก็จะยังมีสุขภาพที่ดีอยู่ ส่วนใหญ่ยังคงระดับออกซิเจนในเลือดได้ 95-96%

ซึ่งหลังจากมีการพัฒนาสูตร ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ตอนนี้มีการทดลองใช้จริงกับเด็ก ในรพ.จุฬาภรณ์ มีการสังเกตใกล้ชิดและเปรียบเทียบกับการใช้ยาเม็ดบดละลายน้ำแล้ว โดยให้กับเด็กอายุช่วง 8 เดือน - 5 ปี จำนวน 12 ราย ติดตามการรักษาพบว่าการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีและไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง แต่จะมีเด็กเล็กๆ ที่ช่วงแรกจะมีการอาเจียนยาออกมา นอกนั้นสามารถรับยาได้หมด

ซึ่งอาการของเด็กที่ติดโควิดทั่วไป มีไข้ หรือออกผื่น ซึ่งอาจขึ้นใบหน้า หรือลำตัว อาจมีอาการนอกเหนือจากนี้ เช่น ทางเดินอาหาร เบื่ออาหารคล้ายเด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ มีอาการถ่ายเหลวได้

ซึ่งเด็ก 1 คนอาจมีอาการเหล่านี้ได้ภายใน 1-3 วัน จึงอาจต้องมีการตรวจ ส่วนอาการอาจอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ในเด็กไม่มีโรคประจำตัว หากได้รับยานี้ เบื้องต้นแนะนำให้ยาเป็นเวลา 5 วัน โดยวันแรก หรือยา 2 มื้อแรก ต้องรับยาค่อนข้างมากมากตามที่กำหนด คือ 4 เท่าของปริมาณปกติ เพื่อให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้นเพียงพอยับยั้งการแข็งตัวของไวรัส จากนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนด และต้องมีการติดตามของแพทย์ผู้จ่ายยาใน 4 วัน และต่อเนื่อง

พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวในรพ.จุฬาภรณ์เองจะใช้ในผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่สามารถกินอาหารได้เอง ซึ่งมีผลตรวจ Rapid Antigen Test เบื้องต้นก็ได้ หรือคอนเฟิร์มด้วยผล Rt-PCR ภายหลังอีกครั้ง

ส่วนภาพรวมคนไข้ที่ไม่ใช่คนไข้ของ รพ.จุฬาภรณ์ ทางรพ.ได้วางมาตรฐาน ที่จะมีคนคอยดูแลคนไข้ให้ด้วย ซึ่งนอกจากจะให้ยาแล้ว ก็จะให้ช่วยผลิตยาในอนาคตด้วย เพราะเป็นยาทีสามารถจะทำให้โรงพยาบาลอื่นๆ ได้

ส่วนการขอรับยาจะเริ่มในวันที่ 6 ส.ค.64 ผ่านทางเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ผู้ป่วยของรพ.จุฬาภรณ์ ขั้นตอนการขอรับยา ผู้ป่วยก็จะมีนัดหมายพบแพทย์เพื่อขอรับยา โดยกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ส่วนสถานพยาบาลหรือแพทย์องค์กรต่างๆ สามารถขอรับยาให้ผู้ป่วยได้ ซึ่งรายละเอียด แพทย์ต้องคุยกันอีกครั้ง

การจ่ายยาในระยะแรกยังผลิตยาไม่ได้มาก ประมาณ 100 รายต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ย 20 รายต่อวัน ยาจะได้รับภายใน 1 วัน หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อย ซึ่งการจัดยาไม่เกิน 20.00 น. ของทุกวัน ส่งค่าจัดส่งยา อาจจะต้องรับผิดชอบเองหรือทาง รพ.จะหาผู้ร่วมมือจัดส่งให้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวย้ำว่า ยานี้ต้องจ่ายโดยมีคำสั่งของแพทย์ เท่านั้น ไม่ใช่ยาที่จะไปซื้อตามร้ายขายยาได้ เพราะยังเป็นยาที่มีผลข้างเคียงได้ อาจมีอาการแทรกซ้อนได้ ฉะนั้นแพทย์ต้องเป็นคนสั่งและแพทย์ต้องสามารถติดตามผลดีและผลข้างเคียงได้อย่างเป็นระบบ จะมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถจ่ายยาให้ได้ 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นไปตามแผนจะมีกำหนดว่า ช่วงเวลาไหนที่ให้ขอเข้ามาได้ และจะจัดให้เวลานั้น ปัจจุบันตอนนี้ ข้อจำกัดอีกอย่างคือ ยานี้มีอายุ 30 วัน ด้วยการเก็บอย่างดี อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องซาเซียลเซส ไม่โดนแสง ฉะนั้นต้องใช้ให้หมดภายใน 30 วัน ไม่แนะนำให้เก็บในตู้เย็น เพื่อคุณภาพ ไม่เช่นนั้น ปริมาณยาสำคัญจะไม่แน่นอน

"ตอนนี้เราทำกันเองก็ได้เท่านี้ แต่ถ้าใครอยากจะเอาตำรับยาของเราไปผลิตใน รพ. ที่อื่นแล้วเราไปควบคุมดูแลมาตรฐาน อันนั้นก็ยินดี"

ดูข่าวต้นฉบับ