สุขภาพ

ใครจะเชื่อว่าผู้ที่สุขภาพดีที่สุดในโลกจะบริโภคคาร์บเป็นจำนวนมาก

issue247.com
อัพเดต 16 ก.ค. 2561 เวลา 10.32 น. • เผยแพร่ 15 ก.ค. 2561 เวลา 00.00 น.

ชาวญี่ปุ่นได้ชื่อว่ามีสุขภาพที่แข็งแรงมากและมีอายุคาดเฉลี่ยยืนยาวเป็นอันดับสองของโลก (สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 43) ขณะที่มีอัตราของผู้ที่เป็นโรคอ้วนเพียงร้อยละ 3.5 ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 10 ของอเมริกา (ร้อยละ 35)

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เคล็ดลับสุขภาพดีของชาวญี่ปุ่นคืออาหารไฮคาร์บเน้นหนักไปที่ข้าว

จากการศึกษาครั้งใหม่ของกลุ่มนักวิจัยแห่ง National Center for Global Health and Medicine ในกรุงโตเกียวพบว่าผู้ที่ยึดแนวทางการเลือกรับประทานอาหารตามแบบฉบับของญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าจะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ยึดแนวทางดังกล่าวถึงร้อยละ 15 แนวทางการโภชนาการของญี่ปุ่นสะท้อนถึงการเลือกรับประทานอาหารแบบดั้งเดิมของประเทศซึ่งได้แก่ ข้าว ปลา และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองแต่ต้องไขมันต่ำ ส่วนสหรัฐจะงดข้าวและเน้นอาหารไขมันสูงมากกว่า อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพไม่มีคำว่าถูกหรือผิดแต่จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและความแตกต่างของแต่ละบุคคลต่างหาก

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เหตุใดชาวญี่ปุ่นจึงนิยมรับประทานข้าว (แต่ไม่อ้วน)

ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวจะมีโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคน้อยลง กลุ่มนักวิจัยได้ควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกาย การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ส่วนผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือโรคตับเรื้อรังก็ได้รับการยกเว้นเช่นกัน

James DiNicolantonio นักวิจัยด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่ง St. Luke’s Mid America Heart Institute ยังกระตุ้นผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักให้รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงกับไขมันสูงเพื่อให้รู้สึกอิ่มท้องมากขึ้น แม้เขาจะสังเกตว่าการเลือกรับประทานอาหารไฮคาร์บตามแบบฉบับของญี่ปุ่นจะได้ผล แต่อันที่จริงเป็นเพราะคุณภาพอาหาร ปริมาณไขมันที่ต่ำ และระดับการออกกำลังกายต่างหาก DiNicolantonio ยังสังเกตอีกว่าชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานอาหารทะเลซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และที่สำคัญพวกเขาไม่รับประทานอาหารแปรรูปด้วย นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นจะเดินเฉลี่ยวันละมากกว่า 7,000 ก้าวขณะที่ชาวอเมริกันเดินวันละประมาณ 5,000 ก้าวเท่านั้น อย่างไรก็ตามกระแสการเดินให้ครบวันละ 10,000 ก้าวเพื่อสุขภาพนั้นก็มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

แนวทางการโภชนาการของญี่ปุ่นสามารถปฏิบัติตามได้ง่ายมาก

แม้ว่าชาวอเมริกันจะชื่นชอบรูปแบบพีระมิดก่อนที่จะถูกนำเสนอด้วยรูปแบบจาน แต่แนวทางของญี่ปุ่นนั้นเป็นรูปแบบของลูกข่าง Kayo Kuratani นักวิจัยแห่ง National Center for Global Health and Medicine สังเกตว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่าย

ตัวการ์ตูนที่วิ่งอยู่ข้างบนจะสื่อถึงการออกกำลังกาย ด้ามจับข้างบนคือแก้วน้ำหรือน้ำชา และไม่มีหน่วยบริโภคสำหรับขนมขบเคี้ยว ลูกกวาด และเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ (น้ำหวาน) ส่วนที่ใหญ่สุดของลูกข่างคืออาหารที่ทำจากธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว ขนมปัง บะหมี่ และแป้งข้าวเจ้า ซึ่งปริมาณที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันคือ 5-7 หน่วยบริโภค ตามด้วยผักวันละ 5-6 หน่วยบริโภค และโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่วเหลืองวันละ 3-5 หน่วยบริโภค ส่วนสุดท้ายจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ ผลไม้และนมหรือผลิตภัณฑ์นมวันละ 2 หน่วยบริโภค

 

สิ่งที่ชาวอเมริกันสามารถเรียนรู้ได้จากญี่ปุ่น

ดร. Lydia Bazzano นักวิจัยด้านโภชนาการและโรคเบาหวานแห่งมหาวิทยาลัยทูเลนชี้ว่าแนวทางลูกข่างของญี่ปุ่นอาจเป็นภาพลวงตาสำหรับชาวอเมริกัน เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่รับประทานข้าวขาวเป็นอาหารจานหลักและข้าวขาวก็เชื่อมโยงกับโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรครุนแรงต่างๆด้วย แนวทางการโภชนาการปี 2010 แนะนำว่าอาหารร้อยละ 50-65 ของคนเราควรเป็นคาร์โบไฮเดรตและผู้คนก็ควรหันมาเริ่มรับประทานธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างข้าวกล้องได้แล้ว ดังนั้นคราวหน้าถ้ามีใครสงสัยเรื่องที่คุณกินข้าวในมื้อกลางวันก็จงบอกพวกเขาไปว่าคุณกำลังยึดถือแนวทางการโภชนาการลูกข่างแบบญี่ปุ่นอยู่

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • Rinly リンリー
    จริงๆ อาหารไทยก็มีประโยชน์และมีหลักการคล้ายๆ กับอาหารญี่ปุ่นนั่นแหละ แต่พอวัฒนธรรมการกินอาหารจากชาติตะวันตกเข้ามา ... ทำให้คนไทนเราเป็นโรคกันมากขึ้น
    15 ก.ค. 2561 เวลา 02.46 น.
  • มืหน้าญี่ปุนถึงได้ตัวสูงและแข็งแรงกว่าคนไทย
    15 ก.ค. 2561 เวลา 02.46 น.
  • Mr.bull
    ของกินเยอะไม่ได้ครับ กินเเล้วอ้วนทันที ตั้งเเต่ตัดเเป้งไปผอมลงมากครับ
    18 ก.ค. 2561 เวลา 00.34 น.
  • Smart.Awesome.Expand
    แล้วแต่สุขภาพของแต่ละคน, บางคนกินแป้งเยอะไม่ได้, บางคนกินผักมากไม่ได้, บางคนคนดื่มนมมากไม่ได้ ตรวจสุขภาพก่อนแล้วปรับเมนูตามความต้องการของสุขภาพแต่ละคน
    15 ก.ค. 2561 เวลา 03.01 น.
ดูทั้งหมด